ภาพเขียนจิตรกรรมบนผืนผ้า (พระบฏ) วัดทุ่งคา – แผ่นที่ 28 กัณฑ์ที่ 13 นครกัณฑ์

Description

Digital Data

TITLE:
ลำปาง
AUTHOR:
หอภาพถ่ายล้านนา โดย มูลนิธิรองศาสตราจารย์ กันต์ พูนพิพัฒน์
KEYWORDS:
DESCRIPTION:
แผ่นที่ 28 กัณฑ์ที่ 13 นครกัณฑ์
ภาพวาดแผ่นนี้เป็นกัณฑ์ที่ 13 นครกัณฑ์ เป็นกัณฑ์ที่หกกษัตริย์นำพยุหโยธาเสด็จนิวัติพระนครพระเวสสันดรขึ้นครองราชย์แทนพระราชบิดา พระเจ้ากรุงสัญชัยตรัสสารภาพผิด  พระเวสสันดรจึงทรงลาผนวชพร้อมทั้งพระนางมัทรีและเสด็จกลับสู่สิพีนคร เมื่อเสด็จถึงจึงรับสั่งให้ชาวเมืองปล่อยสัตว์ที่กักขัง ครั้นยามราตรีพระเวสสันดรทรงปริวิตกว่า  รุ่งเช้าประชาชนจะแตกตื่นมารับบริจาคทาน  พระองค์จะประทานสิ่งใดแก่ประชาชนท้าวโกสีห์ได้ทราบจึงบันดาลให้มีฝนแก้ว 7 ประการ  ตกลงมาในนครสิพีสูงถึงหน้าแข้ง พระเวสสันดรจึงทรงประกาศให้ประชาชนขนเอาตามปรารถนา ที่เหลือให้ขนเข้าคลังหลวง ในการต่อมาพระเวสสันดรเถลิงราชสมบัติปกครองนครสิพีโดยทศพิธราชธรรมบ้านเมืองร่มเย็นเป็นสุขตลอดพระชนมายุ
ภาพพระบฎแผ่นสุดท้ายน่าจะเป็นตอนที่ชาวเมืองสิพีได้เฉลิมฉลอง ในการมาสู่พระนครสิพีพระเวสสันดรพร้อมพระนางมัทรีและกัณหาชาลี ด้านล่างขวามือเป็นภาพช่างฟ้อนเทียนพร้อมนักดนตรีเป่าปี่แน ขณะฟ้อนอยู่ในศาลาที่เป็นรูปแบบของสถาปัตยกรรมของล้านนา การแต่งกายของหญิงช่างฟ้อนเป็นการแต่งกายของหญิงชาวไทยวนคือ มีผ้ามาคลุมไหล่แต่มีการทำผมมุ่นมวยสูงไว้บนศีรษะ  นุ่งผ้า”ซิ่นต๋า”เป็นผ้าซิ่นที่มีลวดลายเส้นในแนวขวางลำตัวที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะของหญิงชาวไทยวนในแถบนี้ ล่างซ้ายเป็นการละเล่นต่อยมวยหรือมวยปล้ำโดยมีผู้ชมยืนชมอยู่ด้านหลัง การแต่งกายของนักมวยและผู้ชมยังคงแต่งกายแบบล้านนาดั้งเดิมคือบางคนสวมเสื้อบางคนไม่สวมเสื้อใว้ผมสั้น นุ่งผ้ามีลวดลายหรือผ้าพื้นสีเรียบผืนเดียวที่เรียกว่านุ่งแบบ “นุ่งผ้าต้อย”หรือ“เค็ดม่าม”โดยจะม้วนผ้าเป็นเกลียวสอดระหว่างขาเป็นการนุ่งแบบเดียวกับการถกเขมรหรือโจงกระเบน เผยให้เห็นลายสักยันต์ตั้งแต่ท้องน้อยจนถึงหัวเข่าที่มีลวดลายสัตว์หิมพานต์ อันเป็นเอกลักษณ์อย่างหนึ่งของชายชาวไทยวนในแถบนี้ ถัดขึ้นไปเป็นวงสุรามีไหขนาดใหญ่ตั้งอยู่ กลางภาพเป็นภาพวงคนตรีและช่างฟ้อนที่กำลังฟ้อนเทวดา วงดนตรีประกอบด้วยฆ้องวง ระนาด กลองสะบัดชัย ตะโล้ดโป๊ด (กลองสองหน้า) ฉาบ ปี่แนและปี่จุม การแต่งกายของนักดนตรีบางคนสวมเสื้อบางคนไม่สวมเสื้อใว้ผมสั้นนุ่งโจงกระเบน ด้านบนเป็นการละเล่นกายกรรมแบบต่างๆมีตั้งแต่ด้านขวาเป็นการไต่ลวด กลางภาพเป็นหกสูง ซ้ายมือเป็นการแสดงความแข็งแกร่งด้วยการทนต่อแรงกระแทกจากครกตำข้าว แถบบนสุดไม่ทราบว่าเป็นการละเล่นชนิดใด
PUBLISHER:
หอภาพถ่ายล้านนา โดย มูลนิธิรองศาสตราจารย์ กันต์ พูนพิพัฒน์
OTHER CONTRIBUTORS:
หอภาพถ่ายล้านนา โดย มูลนิธิรองศาสตราจารย์ กันต์ พูนพิพัฒน์
DATE:
07/02/2558
RESOURCE TYPE:
จิตรกรรมภาพพระบฏ
FORMAT:
Image/jpeg
RESOURCE IDENTIFIER:
คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิหอภาพถ่ายล้านนา ในกำกับของกรรมการอำนวยการหอภาพถ่ายล้านนา
SOURCE:
จิตรกรรมฝาผนัง
LANGUAGE:
ไทย/อังกฤษ
RELATION:
COVERAGE:
วัดทุ่งคา อ.เเจ้ห่ม จ.ลำปาง ภาคเหนือ ประเทศไทย
RIGHT MANAGEMENT:
หอภาพถ่ายล้านนา โดย มูลนิธิรองศาสตราจารย์ กันต์ พูนพิพัฒน์

Physical Data

COLLECTION NAME:
ลำปาง
IMAGE CODE:
02_25_20150207_MR25-01_28
SUBJECT AGE:
ประมาณกลางพุทธศตวรรษที่ 25
CATEGORY:
จิตรกรรมภาพพระบฏ
PROVENANCE:
ศาสตราจารย์ กันต์ พูนพิพัฒน์
COVERAGE:
วัดทุ่งคา อ.เเจ้ห่ม จ.ลำปาง ภาคเหนือ ประเทศไทย
View map
ORIGINAL SIZE:
85.5 x 140 cm
DIGITAL SIZE:
2998 x 4642 Pixels

Loading