วัดเวียงต้าทิศตะวันออก

Description

Digital Data

TITLE:
แพร่
AUTHOR:
หอภาพถ่ายล้านนา
KEYWORDS:
DESCRIPTION:

ภาพเขียนช่องที่ 4 บริเวณฝั่งซ้าย เขียนภาพนางจันทะเทวี ครั้งถูกขับไล่ออกจากเมืองพรหมทัต ในชาดกตอนหนึ่งมีว่า ณ เมืองพรหมทัต มีกษัตริย์ผู้ปกครองเมืองชื่อท้าวจิตตราช พระองค์มีพระมเหสี 2 องค์ คือ นางจันทเทวี เป็นมเหสีหลวง (เมียหลวง) และ นางสิงคี เป็นมเหสีน้อย (เมียน้อย) มเหสีทั้งสองยังไม่มีผู้ใดให้ประสูติโอรสสืบสันติวงศ์แก่ท้าวจิตตราช ครั้นนั้นเหล่าเสนาอํามาตย์จึงพากันเข้ากราบทูลท้าวพรหมทัต ให้ทำพิธีบําเพ็ญศีล ภาวนา เพื่อขอโอรส กระนั้นแท่นหินบัณฑกัมพลศิลาอาสน์ของพระอินทร์ก็ร้อนและแข็งกระด้าง ครั้นพระอินทร์ทรงทราบเรื่องก็เสด็จไปอัญเชิญพระโพธิสัตว์ให้ลงไปปฏิสนธิในครรภ์ของนางจันทเทวี ในตอนใกล้รุ่ง ครั้นนางสิงคี ผู้มีจิตใจเฉกเช่นคนใจบาป ทราบความว่านางจันทเทวีจะได้โอรส ก็มีจิตริษยาเกรงว่าสมบัติบ้านเมืองทั้งหลายจะตกแก่โอรสของนางจันทเทวี ต่อไปในภายภาคหน้าตนอาจเป็นอันตรายได้ กระนั้นจึงได้ปรึกษากับกาละกะเสนา สร้างเพทุบาย เอายาพิษใส่ในหม้อน้ำ แล้วใส่ความว่านางจันทะเทวีนำยาพิษมาใส่ เพื่อหมายปลงพระชนม์ท้าวจิตตราช แล้วยุยงท้าวจิตตราชให้ขับนางจันทเทวีออกไปจากพระราชวังทันที พระนางทรงเศร้าโศกาถึงความผิดที่ตนมิได้ก่อ เพียงแต่ถูกใส่ร้ายจากผู้ริษยาคิดร้าย ครั้นมาถึงที่ชายป่าเเห่งหนึ่ง จึงมาพบกับสองตายายคู่หนึ่ง เเละขออาศัยอยู่กับสองตายาย ครั้นครบ 10 เดือน นางก็ให้ประสูติพระโอรส มีผิวกายดําเหมือนหมี จึงให้ชื่อว่า “ก่ำก๋าดำ” เมื่อราชโอรสเติบใหญ่ขึ้นครบ 6 ปี ความก็ทราบถึงท้าวจิตตราชและนางสิงคี ถือเป็นเรื่องอับอายและกาลกิณีบ้าน กาลกิณีเมืองที่ก่ำก๋าดำ มีผิวกายดําเหมือนหมี จึงรับสั่งให้เหล่าเสนาขับไล่นางจันทเทวีกับโอรสออกไปให้พ้นอาณาจักร โดยจับมัดติดกับแพแล้วนำไปลอยน้ําไป เป็นเหตุให้สองตายายที่เลี้ยงดูต่างเสียอกเสียใจจนอกแตกตายในเวลาต่อมา

ในบริเวณนี้ (บริเวณฝั่งซ้าย) มีอักษรล้านนาเขียนกำกับอยู่  อ่านได้ความว่า “พญาพรหมตั๋ดฟังกําส่อเสนา ลวดขับนางจั๋นต๊ะเตวีหนีมาหนี้แล” แปลได้ว่า “พระเจ้าพรหมทัตเชื่อฟังคําโป้ปดมดเท็จของเสนา จึงได้เนรเทศนางจันทะเทวีให้หนีมาที่นี้” 

นางจันทะเทวีแต่งกายแบบหญิงในราชสำนักล้านนา คือ เปลือยอกมีการนำผ้าแถบสีเรียบห่มเฉียงแบบสไบ หรือคล้องทิ้งชายไปด้านหลังเรียกว่า “สะหว้ายแหล้ง” หรือ “เบี่ยงบ้าย” นุ่งซิ่นตีนจก คือซิ่นต๋าที่ต่อด้วยตีนจกคำ ที่นิยมใช้ในหญิงในราชสำนักชาวไทยวนในล้านนา ไว้ผมมุ่นมวยเรียกว่าเกล้าแบบ “วิดว้อง” ไว้กลางศีรษะ ไม่ใส่รองเท้า สะพายถุงย่ามแดง ซึ่งนิยมใช้กันทั่วไปในล้านนา และไม่ใส่รองเท้า

PUBLISHER:
หอภาพถ่ายล้านนา โดย มูลนิธิ รองศาสตราจารย์กันต์ พูนพิพัฒน์
OTHER CONTRIBUTORS:
หอภาพถ่ายล้านนา โดย มูลนิธิ รองศาสตราจารย์กันต์ พูนพิพัฒน์
DATE:
15/02/2021
RESOURCE TYPE:
ภาพจิตรกรรมฝาผนัง
FORMAT:
Image/jpeg
RESOURCE IDENTIFIER:
คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิหอภาพถ่ายล้านนา มูลนิธิ รองศาสตราจารย์ กันต์ พูนพิพัฒน์
SOURCE:
ภาพจิตรกรรมฝาผนัง
LANGUAGE:
ไทย/อังกฤษ
RELATION:
COVERAGE:
วัดเวียงต้า อำเภอลอง จังหวัดแพร่ (มูลนิธิแม่ฟ้าหลวง ในพระบรมราชูปถัมภ์)
RIGHT MANAGEMENT:
หอภาพถ่ายล้านนา โดย มูลนิธิ รองศาสตราจารย์กันต์ พูนพิพัฒน์

Physical Data

COLLECTION NAME:
แพร่
IMAGE CODE:
02_27_20210215_MR27-01_01
SUBJECT AGE:
ประมาณปี พ.ศ. 2380 – 2410
CATEGORY:
ภาพจิตรกรรมฝาผนัง
PROVENANCE:
หอภาพถ่ายล้านนา, มูลนิธิแม่ฟ้าหลวง ในพระบรมราชูปถัมภ์,แปลอักษรล้านนา โดยคุณภูเดช แสนสา
COVERAGE:
วัดเวียงต้า อำเภอลอง จังหวัดแพร่ (มูลนิธิแม่ฟ้าหลวง ในพระบรมราชูปถัมภ์) View map
ORIGINAL SIZE:
9.24 x 2.04 เมตร
DIGITAL SIZE:
20,585 x 5173 Pixels