วัดหนองบัว ทิศใต้ช่องที่ 7(กัณฑ์ที่ 13)1.4

Description

Digital Data

TITLE:
น่าน
AUTHOR:
หอภาพถ่ายล้านนา โดย มูลนิธิรองศาสตราจารย์ กันต์ พูนพิพัฒน์
KEYWORDS:
DESCRIPTION:

ภาพเขียนบริเวณเหนือหน้าต่างช่องที่ 7 และในช่องผนังสุดท้าย เขียนเหตุการณ์ในตอนที่ ขบวนช้างพร้อมไพร่พลของพระญาธรรมขันตีเเละพระนางพรหมจารีผ่านบ้านของเจ้าจันทคาธ 

ภาพเขียนทหารหน้าขบวนทัพ ลักษณะกำลังส่องกล้อง ซึ่งเป็นกล้องแบบฝรั่ง ซึ่งช่างเขียนน่าจะรับอิทธิพลมาจากชาติตะวันตกในสมัยนั้น เนื้อเรื่องในตอนนี้เป็นเหตุการณ์ในตอนที่ขบวนทัพผ่านบ้านเจ้าจันทคาธ โดยเล่าเรื่องในตอนที่ทหารผู้หนึ่งส่องกล้องแลเห็นบ้านของเจ้าจันทคาธ ที่ปลูกไว้อยู่กลางป่าไผ่ และแขวนผ้าห่มสีแดงไว้หน้าบ้าน เพื่อหมายให้ทราบว่านี้คือบ้านของเจ้าจันทคาธ ในความตอหนึ่งว่า “จากนั้นเจ้าจันทคาธได้พาบริษัทเหล่านั้นไปอยู่ป่าไผ่ ตัดเอาไม้ไผ่มาทำรั้วบ้าน แล้วจารึกอักษรว่า บ้านนี้ของจันทคาธ” เเละยังเขียนภาพพระนางพรหมจารี ขณะกำลังประทับอยู่ในกูบช้าง ที่น่าจะทำมาจากไม้ไผ่สาน และลงรัก ลงชาดปิดทอง ส่วนช้างทรงเครื่องคชาภรณ์แบบของกษัตริย์  

ในภาพพระนางพรหมจารีแต่งกายแบบหญิงในราชสำนักล้านนา คือ นำผ้าแถบสีเรียบมาห่มเฉียงแบบสไบ หรือ คล้องทิ้งชายไปด้านหลังเรียกว่า “สะหว้ายแหล้ง” หรือ “เบี่ยงบ้าย” นุ่งซิ่นตีนจกแต่เป็นซิ่นตีนจกที่ทอจากฝ้าย สามารถพบเห็นหญิงชาวไทยวนสวมใส่กันทั่วไปทั้งในเมืองน่านและล้านนา ตีนจกของเมืองน่านนี้มีการใส่ลวดลายเฉพาะของตนลงไป ทำให้เกิดเป็นรูปแบบเฉพาะของซิ่นตีนจกของเมืองน่าน ส่วนท้องซิ่นก็เป็นรูปแบบเฉพาะที่พบได้แต่ในเมืองน่านเท่านั้นคือ ท้องซิ่นจะมีแนวขวางลำตัวที่ดูแล้วคล้ายกับซิ่นป้อง เป็นซิ่นที่มีรูปแบบพิเศษมีลายในแนวขวางลำตัว ดูแล้วคล้ายกับ “ซิ่นต๋า” ของหญิงชาวไทยวนในล้านนา ผ้าซิ่นป้องนี้มีการตกแต่งผ้าซิ่นด้วยการทอกรรมวิธีต่างๆในแนวขวางลำตัวที่ค่อนข้างหลากหลาย ทำให้เกิดลวดลายเพิ่มเติม ซึ่งในภาพน่าจะเป็นการตกแต่งเเละการทอด้วยกรรมวิธีหลายอย่าง ในภาพน่าจะเป็นการตกแต่งการทอด้วยกรรมวิธี “การจก” ด้วยไหมหลากสี และมีการตกแต่งที่เด่นชัดอีกอย่างคือตกแต่งด้วย กรรมวิธีการทอที่ในเมืองน่านเรียกว่า “มัดก่าน” หรือที่ทั่วไปเรียกว่ามัดหมี่  ด้านล่างต่อด้วย “ตีนจกคำ” คือตีนซิ่นที่ทอด้วยกรรมวิธีการจกและมีการสอดแทรกไหมทองคำ หรือ ไหมเงินลงไปเพื่อให้ดูมีค่ามากยิ่งขึ้น “ตีนจก” นี้เป็นตีนซิ่นที่นิยมกันในหญิงชาวไทยวนในล้านนา ส่วน “ตีนจก” ยังมีโครงสร้างเดียวกับตีนจกของหญิงชาวไทยวนในล้านนา แต่ตีนจกของเมืองน่านมีการใส่ลวดลายเฉพาะของตนลงไป ทำให้เกิดเป็นรูปแบบเฉพาะของซิ่นตีนจกของเมืองน่าน ที่สามารถพบได้แต่เฉพาะในเมืองน่านเท่านั้น ส่วนบนศรีษะไว้ผมยาว เกล้าผมแบบที่เรียกว่า “วิดว้อง” กลางศีรษะปักปิ่นทองคำ หรือในล้านนาเรียกว่า “ปิ่นคำ” มัดมวยด้วยสร้อยคำหรือสร้อยทอง เจาะหูใส่ลานหู คือ เครื่องประดับที่มีลักษณะเป็นแผ่นคล้ายใบลาน เป็นแผ่นเงิน หรือ ทองคำ นำมาม้วนแล้วใส่เข้าไป และไม่สวมรองพระบาท

ส่วนนางกษัตริย์ที่อยู่บนคอช้างสวมเครื่องเเต่งกาย คือนำผ้าแถบสีเรียบมาห่มแบบมัดอก เพื่อให้ดูทะมัดทะแมงในเวลาออกรบ นุ่งซิ่นตีนจกแต่เป็นซิ่นตีนจกที่ทอจากฝ้าย สามารถพบเห็นหญิงชาวไทยวนสวมใส่กันทั่วไปทั้งในเมืองน่านและล้านนา ตีนจกของเมืองน่านนี้มีการใส่ลวดลายเฉพาะของตนลงไป ทำให้เกิดเป็นรูปแบบเฉพาะของซิ่นตีนจกของเมืองน่าน ที่สามารถพบได้แต่เฉพาะในเมืองน่านเท่านั้น ส่วนท้องซิ่นจะมีแนวขวางลำตัวที่ดูแล้วคล้ายกับซิ่นป้อง เป็นซิ่นที่มีรูปแบบพิเศษ ซึ่งเป็นซิ่นที่มีลายในแนวขวางลำตัว ดูแล้วคล้ายกับ “ซิ่นต๋า” ของหญิงชาวไทยวนในล้านนา ผ้าซิ่นป้องจะมีการตกแต่งผ้าซิ่นด้วยการทอด้วยกรรมวิธีต่างๆในแนวขวางลำตัวที่ค่อนข้างหลากหลาย ทำให้เกิดลวดลายเพิ่มเติมขึ้น ผ้าซิ่นที่ปรากฏในภาพน่าจะเป็นการตกแต่งการทอด้วยกรรมวิธีหลายอย่างเรียกว่า “การจก” ด้วยไหมหลากสี และมีการตกแต่งที่เด่นชัดอีกอย่าง คือ ตกแต่งด้วยกรรมวิธีการทอที่ในเมืองน่านเรียกว่า “มัดก่าน” หรือที่ทั่วไปเรียกว่ามัดหมี่  ด้านล่างต่อด้วยตีนจก “ตีนจก” นี้เป็นตีนซิ่นที่นิยมกันในหญิงชาวไทยวนในล้านนา ส่วน “ตีนจก” ยังมีโครงสร้างเดียวกับตีนจกของหญิงชาวไทยวนในล้านนา แต่ตีนจกของเมืองน่านนี้มีการใส่ลวดลายเฉพาะของตนลงไป ทำให้เกิดเป็นรูปแบบเฉพาะของซิ่นตีนจกของเมืองน่าน สามารถพบได้แต่เฉพาะในเมืองน่านเท่านั้น ส่วนบนศรีษะไว้ผมยาว เกล้าผมแบบที่เรียกว่า “วิดว้อง” กลางศีรษะปักปิ่นทองคำ หรือในล้านนาเรียกว่า “ปิ่นคำ” มัดมวยด้วยสร้อยคำหรือสร้อยทอง เจาะหูใส่ลานหู คือ เครื่องประดับที่มีลักษณะเป็นแผ่นคล้ายใบลาน เป็นแผ่นเงิน หรือ ทองคำ นำมาม้วนแล้วใส่เข้าไป และไม่สวมรองพระบาท

เหล่าทหารในภาพแต่งกายในรูแบบที่ได้รับอิทธิพลจากกรุงเทพ คือ สวมเสื้อแขนยาว นุ่งโจงกระเบน ตัดผมทรงมหาดไทย โดยเฉพาะทหารสองคนหน้า ที่สวมหมวกแบบฝรั่งซึ่งนิยมกันมากตั้งเเต่สมัยรัชกาลที่ 5 ส่วนนายทหารคนที่นั่งบริเวณด้านขวานั้น นุ่งผ้ามีลวดลายผืนเดียวเรียกว่านุ่งแบบ “นุ่งผ้าต้อย” หรือ “เค็ดม่าม” โดยจะม้วนผ้าเป็นเกลียวสอดระหว่างขาเป็นการนุ่งแบบเดียวกับการถกเขมร หรือ โจงกระเบน เผยให้เห็นลายสักยันต์ตั้งแต่ท้องน้อยจนถึงหัวเข่าที่มีลวดลายสัตว์หิมพานต์ อันเป็นเอกลักษณ์อย่างหนึ่งของชายชาวไทลื้อและไทยวนในแถบนี้

PUBLISHER:
หอภาพถ่ายล้านนา โดย มูลนิธิรองศาสตราจารย์ กันต์ พูนพิพัฒน์
OTHER CONTRIBUTORS:
หอภาพถ่ายล้านนา โดย มูลนิธิรองศาสตราจารย์ กันต์ พูนพิพัฒน์
DATE:
07/02/2558
RESOURCE TYPE:
จิตรกรรมฝาผนัง
FORMAT:
Image/jpeg
RESOURCE IDENTIFIER:
คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิหอภาพถ่ายล้านนา ในกำกับของกรรมการอำนวยการหอภาพถ่ายล้านนา
SOURCE:
จิตรกรรมฝาผนัง
LANGUAGE:
ไทย/อังกฤษ
RELATION:
COVERAGE:
วัดหนองบัว อ.ท่าวังผา จ.น่าน ภาคเหนือ ประเทศไทย
RIGHT MANAGEMENT:
หอภาพถ่ายล้านนา โดย มูลนิธิรองศาสตราจารย์ กันต์ พูนพิพัฒน์

Physical Data

COLLECTION NAME:
น่าน
IMAGE CODE:
000
SUBJECT AGE:
CATEGORY:
จิตรกรรมฝาผนัง
PROVENANCE:
ศาสตราจารย์กันต์ พูนพิพัฒน์
COVERAGE:
วัดหนองบัว อ.ท่าวังผา จ.น่าน ภาคเหนือ ประเทศไทย view map
ORIGINAL SIZE:
17.29 x 3.4 เมตร(ขนาดรวมทั้งฝาผนัง)
DIGITAL SIZE:
15,200 x 9,400 Pixels