วัดหนองบัว ทิศใต้ช่องที่ 6-5-4(กัณฑ์ที่ 11)1.4

Description

Digital Data

TITLE:
น่าน
AUTHOR:
หอภาพถ่ายล้านนา โดย มูลนิธิรองศาสตราจารย์ กันต์ พูนพิพัฒน์
KEYWORDS:
DESCRIPTION:

ภาพเขียนจิตรกรรมเหตุการณ์ในตอนที่นางพรหมจารีออกกระทำยุทธหัตถีบนหลังช้างกับพระกาวินทะ 

ในภาพพระเจ้ากาวินทะทรงถือดาบที่พระหัตถ์ขวา ส่วนพระหัตถ์เบื้องซ้ายถือสามง่าม หรือ ตรีศูล ส่วนนางพรหมจารีถือดาบทั้งข้าง มีนายท้ายกางพระกรด เเละมีนายท้ายบังคับช้างอยู่ด้านหลัง เบื้องหลังมีขบวนเหล่านางกษัตริย์ทรงบนหลังช้าง มีจตุลังคบาท ถือธงชัยหน้าขวนทัพช้าง ส่วนเหล่านางทหารหญิงเบื้องหลังอยู่ในท่าคล้ายการฟ้อนรำ ส่วนเบื้องหลังช้างของพระเจ้ากาวินทะ ก็มีเหล่ากษัตริย์ แบกปืนคาบศิลาอยู่

ในบริเวณนี้มีภาษาล้านนาเขียนกำกับอยู่หลายชุดด้วยกัน ประกอบด้วย 

(1) บริเวณด้านบน (หลังพระเจ้าวินทะ) อ่านได้ความว่า “นางพรหมจาลีแล…พระญากาวีรทะชนช้างตีกันแล…” แปลได้ความประมาณว่า “พระนางพรหมจารีและพระญากาวินทะกระทำยุทธหัตถีกัน” 

(2) บริเวณเหนือนายท้ายกางพระกรด อ่านได้ความว่า “แหเอาป้อเอา” แปลได้ประมาณว่า “เข้าตีเลยท่าน”  

(3) บริเวณเหนือนายท้ายบังคับช้าง อ่านได้ความว่า “เตกเขา…กุ…” แปลได้ประมาณว่า “เข้าไปสู้เลย” 

พระเจ้ากาวินทะทรงเครื่องแบบกษัตริย์ สวมกระบังหน้ามีกรรเจียก คือ เครื่องประดับหูมีรูปเป็นกระหนก ใช้ประกอบกับพระมหามงกุฎ พระชฎา หรือ รัดเกล้า และสวมกรองศอทับบนเสื้อแขนยาว มีทับทรวงและสายสังวาลสะพายแล่ง สวมพาหุรัดที่ต้นแขน นุ่งสนับเพลา คือ กางเกงขายาวประมาณครึ่งแข้งมีผ้าห้อยหน้าหรือชายไหวนุ่งโจงทับ ปัจจุบันยังหมายถึงกางเกงด้วย ราชาศัพท์ใช้ว่า พระสนับเพลาและไม่สวมรองเท้า ในมือกำตรีศูลหรือสามง่าม ส่วนเหล่ากษัตริย์มีรูปแบบชาวบางกอกในยุคนั้น คือ สวมเสื้อคอตั้งแขนยาวนุ่งโจงกระเบนพร้อมผ้าคาดเอว ไว้ผมทรงมหาดไทย ไม่สวมรองเท้า 

ส่วนเหล่ากษัตริย์ชาย บริเวณด้านหลังช้างแต่งกายในรูปแบบที่น่าจะรับอิทธิพลมาจากกรุงเทพ คือ สวมเสื้อแขนยาวนุ่งผ้ามีลวดลาย หรือ ผ้าพื้นสีเรียบผืนเดียวที่เรียกว่านุ่งแบบ “นุ่งผ้าต้อย” หรือ “เค็ดม่าม” โดยจะม้วนผ้าเป็นเกลียวสอดระหว่างขาเป็นการนุ่งแบบเดียวกับการถกเขมรหรือโจงกระเบน เผยให้เห็นลายสักยันต์ตั้งแต่ท้องน้อยจนถึงหัวเข่า ในล้านนาเรียกว่า “สักเตี่ยวก้อม” สักขาลาย นิยมสักเป็นลวดลายสัตว์หิมพานต์ อันเป็นเอกลักษณ์อย่างหนึ่งของชายชาวไทลื้อและไทยวนในแถบนี้ และไว้ผมสั้นทรงมหาดไทยและไม่สวมรองเท้า นอกจากนี้ในภาพยังพบวัฒนธรรมการเเต่งกายเเบบชาวตะวันในภาพเขียนนายท้ายผู้บังคับช้าง ที่สวมหมวกแบบชาวตะวันตก ซึ่งน่าจะได้รับอิทธิพลมาในสมัยรัชกาลที่ 5 อีกด้วย

ฝ่ายพระนางพรหมจารีและเหล่านางกษัตริย์สวมเครื่องแต่งกาย คือ นำผ้าแถบสีเรียบมาห่มแบบมัดอก เพื่อให้ดูทะมัดทะแมงในเวลาออกรบ นุ่งซิ่นป้อง เป็นซิ่นที่มีลายในแนวขวางลำตัว ดูแล้วคล้ายกับ “ซิ่นต๋า” ของหญิงชาวไทยวนในล้านนา และมีการตกแต่งด้วยกรรมวิธีการทอแบบต่างๆในเส้นแนวขวางลำตัวมากกว่าซิ่นต๋า เช่นที่ปรากฎในภาพจิตรกรรมเป็นกรรมวิธีการทอที่ในเมืองน่านเรียกว่า “มัดก่าน” หรือที่ทั่วไปเรียกว่ามัดหมี่ บนลายเส้นในแนวขวางลำตัวเพิ่มเติมอีกด้วย ซิ่นป้องถือเป็นผ้าซิ่นที่มีโครงสร้างชนิดพิเศษและมีเอกลักษณ์ที่สามารถพบได้แต่เฉพาะในเมืองน่านเท่านั้น ส่วนบนศรีษะไว้ผมยาวมุ่นมวยเรียกว่าเกล้าแบบ “วิดว้อง” และ “ตั้งเกล้า” มัดมวยด้วยสร้อยคำ หรือ สร้อยทอง เจาะหูใส่ลานหู คือ เครื่องประดับที่มีลักษณะเป็นแผ่นคล้ายใบลาน เป็นแผ่นเงิน หรือ ทองคำ นำมาม้วนแล้วใส่เข้าไป เเละไม่สวมรองพระบาท

ช้างในภาพนี้ เป็นช้างทรงทั้งสองเชือก มีการสวมเครื่องทรงคชาภรณ์แบบของกษัตริย์

PUBLISHER:
หอภาพถ่ายล้านนา โดย มูลนิธิรองศาสตราจารย์ กันต์ พูนพิพัฒน์
OTHER CONTRIBUTORS:
หอภาพถ่ายล้านนา โดย มูลนิธิรองศาสตราจารย์ กันต์ พูนพิพัฒน์
DATE:
07/02/2558
RESOURCE TYPE:
จิตรกรรมฝาผนัง
FORMAT:
Image/jpeg
RESOURCE IDENTIFIER:
คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิหอภาพถ่ายล้านนา ในกำกับของกรรมการอำนวยการหอภาพถ่ายล้านนา
SOURCE:
จิตรกรรมฝาผนัง
LANGUAGE:
ไทย/อังกฤษ
RELATION:
COVERAGE:
วัดหนองบัว อ.ท่าวังผา จ.น่าน ภาคเหนือ ประเทศไทย
RIGHT MANAGEMENT:
หอภาพถ่ายล้านนา โดย มูลนิธิรองศาสตราจารย์ กันต์ พูนพิพัฒน์

Physical Data

COLLECTION NAME:
น่าน
IMAGE CODE:
000
SUBJECT AGE:
CATEGORY:
จิตรกรรมฝาผนัง
PROVENANCE:
ศาสตราจารย์กันต์ พูนพิพัฒน์
COVERAGE:
วัดหนองบัว อ.ท่าวังผา จ.น่าน ภาคเหนือ ประเทศไทย view map
ORIGINAL SIZE:
17.29 x 3.4 เมตร(ขนาดรวมทั้งฝาผนัง)
DIGITAL SIZE:
15,200 x 9,400 Pixels