วัดหนองบัว ทิศใต้ช่องที่ 6-5-4(กัณฑ์ที่ 11)1.12

Description

Digital Data

TITLE:
น่าน
AUTHOR:
หอภาพถ่ายล้านนา โดย มูลนิธิรองศาสตราจารย์ กันต์ พูนพิพัฒน์
KEYWORDS:
DESCRIPTION:

ภาพเขียนจิตรกรรมบริเวณด้านล่างระหว่างหน้าต่างช่องที่ 4 และ 5 ภาพเขียนในบริเวณนี้เสียหายค่อนข้างมาก จึงไม่สามารถเห็นรายละเอียดของภาพได้ เห็นเพียงภาพเขียนบริเวณฝั่งซ้าย เขียนเป็นภาพหญิงผู้หนึ่ง ลักษณะเหมือนถือผ้ารองน้ำ สัณนิษฐานว่าน่าจะเป็นเหตุการณ์หญิงผู้หนึ่งเอาผ้ารองน้ำ ให้กษัตริย์ล้างเท้า ส่วนบริเวณอื่นไม่สามารถเห็นรายละเอียดได้ 

ภาพเขียนจิตรกรรมบริเวณด้านล่างนี้น่าจะประกอบด้วยกัน 2 กัณฑ์ คือ ภาพเขียนบริเวณด้านขวาน่าจะเป็นเรื่องราวในกัณฑ์ที่ 10 พรหมจาริยาอภิสิญจนกัณฑ์ และภาพเขียนบริเวณฝั่งด้านซ้ายน่าจะเป็นเรื่องราวในกัณฑ์ที่ 11 กาวินทราชยุทธกัณฑ์ 

ภาพเขียนบริเวณด้านขวาเขียนเรื่องราวในกัณฑ์ที่ 10 พรหมจาริยาอภิสิญจนกัณฑ์ ภาพเขียนค่อนข้างลบเลือนไปมาก เเต่ก็ยังสามารถเห็นได้ว่าเป็นภาพของหญิงสาว ลักษณะกำลังหาบตะกร้าใส่น้ำทั้ง 2 ด้าน ด้วยไม้ค้าน ตะกร้าในภาพเรียกว่า “น้ำถุ้ง”เป็นภาชนะสานด้วยไม้ไผ่ก้นแหลม ยาแนวกันรั่วด้วยชันและน้ำมันยาง มีงวงทำจากไม้ขัดกันสำหรับผูกเชือก นิยมใช้หย่อนลงไปตักน้ำขึ้นมาจากบ่อ 

หญิงในภาพกำลังเดินไปยังบ้านของนางสุริยโยธา ในบริเวณด้านบนของหญิงที่แบกน้ำถุ้ง มีชุดอักษรล้านนาเขียนกำกับอยู่ อ่านได้ความว่า “. ฒิบ่[ไสไ . ].” ทั้งนี้เนื่องจากข้อความไม่ครบจึงมิสามารถแปลได้ 

ส่วนภาพเขียนบริเวณฝั่งซ้ายน่าจะเป็นเรื่องราวใน กัณฑ์ที่ 11 กาวินทราชยุทธกัณฑ์ เขียนภาพหญิงผู้หนึ่งลักษณะถือถุงที่มัดจากผ้า ซึ่งจากเนื้อเรื่องน่าจะใช้รองน้ำให้กษัตริย์ล้างเท้า ในภาพภาพเขียนชายผู้หญิง ซึ่งสันนิษฐานว่าเป็นภาพของกษัตริย์บริเวณด้านบนลบเลือนเกือบทั้งหมด เห็นเพียงเท้าที่ยื่นลงไปในถุงผ้า ที่เอวเหน็บดาบไว้ ในบริเวณนี้มีอักษรล้านนากำกับอยู่ ที่อยู่ด้านเหนือหญิงที่ถือถุงที่มัดจากผ้า สำหรับล้างเท้า อ่านได้ความว่า “อีแ . . . . เหิน” เนื่องจากข้อความไม่ครบจึงมิสามารถแปลได้  

หญิงชาวเมืองที่หาบน้ำถุ้งเเต่งกาย คือ เปลือยอก นุ่งซิ่นซึ่งน่าจะเป็น “ซิ่นป้อง” เป็นซิ่นที่มีลายในแนวขวางลำตัว ดูแล้วคล้ายกับ “ซิ่นต๋า” ของหญิงชาวไทยวนในล้านนา มีการตกแต่งด้วยกรรมวิธีการทอแบบต่างๆในเส้นแนวขวางลำตัวมากกว่าซิ่นต๋า ซิ่นป้องถือเป็นผ้าซิ่นที่มีโครงสร้างชนิดพิเศษและมีเอกลักษณ์ ที่สามารถพบได้แต่เฉพาะในเมืองน่านเท่านั้น ส่วนบนศรีษะไว้ผมยาวมุ่นมวยไว้ เรียกว่าแบบ “วิดว้อง” ไว้กลางศีรษะ เจาะหูใส่ “ลานหู” มีลักษณะเป็นแผ่นบางๆคล้ายแผ่นใบลาน ที่ทำจากแผ่นเงินหรือทองคำ นำมาม้วนแล้วใส่เข้าไป สวมกำไลทองคำ และไม่สวมรองเท้า ส่วนการแต่งกายของหญิงในฝั่งด้านซ้ายนั้น ภาพเขียนลบเลือนไปเกือบทั้งหมด เห็นเพียงหญิงที่เปลือยอก นุ่งผ้าซิ่นและปล่อยผมยาว

PUBLISHER:
หอภาพถ่ายล้านนา โดย มูลนิธิรองศาสตราจารย์ กันต์ พูนพิพัฒน์
OTHER CONTRIBUTORS:
หอภาพถ่ายล้านนา โดย มูลนิธิรองศาสตราจารย์ กันต์ พูนพิพัฒน์
DATE:
07/02/2558
RESOURCE TYPE:
จิตรกรรมฝาผนัง
FORMAT:
Image/jpeg
RESOURCE IDENTIFIER:
คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิหอภาพถ่ายล้านนา ในกำกับของกรรมการอำนวยการหอภาพถ่ายล้านนา
SOURCE:
จิตรกรรมฝาผนัง
LANGUAGE:
ไทย/อังกฤษ
RELATION:
COVERAGE:
วัดหนองบัว อ.ท่าวังผา จ.น่าน ภาคเหนือ ประเทศไทย
RIGHT MANAGEMENT:
หอภาพถ่ายล้านนา โดย มูลนิธิรองศาสตราจารย์ กันต์ พูนพิพัฒน์

Physical Data

COLLECTION NAME:
น่าน
IMAGE CODE:
000
SUBJECT AGE:
CATEGORY:
จิตรกรรมฝาผนัง
PROVENANCE:
ศาสตราจารย์กันต์ พูนพิพัฒน์
COVERAGE:
วัดหนองบัว อ.ท่าวังผา จ.น่าน ภาคเหนือ ประเทศไทย view map
ORIGINAL SIZE:
17.29 x 3.4 เมตร(ขนาดรวมทั้งฝาผนัง)
DIGITAL SIZE:
15,200 x 9,400 Pixels