วัดหนองบัว ทิศเหนือช่องที่ 1 (กัณฑ์ที่ 1(1.1))

Description

Digital Data

TITLE:
น่าน
AUTHOR:
หอภาพถ่ายล้านนา โดย มูลนิธิรองศาสตราจารย์ กันต์ พูนพิพัฒน์
KEYWORDS:
DESCRIPTION:

ภาพเขียนจิตรกรรมฝาผนังทิศเหนือ (ช่องที่ 1) ภาพเขียนจิตรกรรมในช่องนี้เขียนเล่าในตอนเริ่มเรื่องในชาดกนอกนิบาต เรื่องจันทคาธชาดก เขียนเรื่อราวในกัณฑ์ที่ 1 ทุพภิกกัณฑ์ เป็นเรื่องราวที่เกิดขึ้น ณ เมืองจัมปากนคร ซึ่งเป็นเมืองที่สุริยคาธและจันทคาธเกิด 

ณ เมืองแห่งนี้มีพระเจ้าพันธุมวดี เสวยราชสมบัติครองเมือง ทรงดำรงอยู่ในธรรม ทรงบำเพ็ญทานรักษาศีลเจริญภาวนาอยู่เป็นนิตย์ ทรงอุทิศส่วนพระราชกุศลแก่ปวงชนเสมอมิได้ขาด อยู่มากาลหนึ่งเกิดเหตุเพศภัยเนื่องจากหญิงในเมือง ครั้นนั้นมีนางผู้หนึ่งนามว่า นางเหมรังษี ได้เข้าป่าพร้อมมารดา ระหว่างนั้นเกิดกระหายน้ำ ไปพบปัสสาวะเสือโคร่งอยู่ในรอยช้าง ด้วยเข้าใจว่าเป็นน้ำ นางเลยดื่มน้ำนั้น ต่อมาไม่นานก็เกิดตั้งครรภ์ ครั้นเมื่อคลอดบุตรที่มาจากปัสสาวะของเสือโคร่ง จึงให้ชื่อว่า “เทวกุญชร” เมื่อเทวกุญชรเติบใหญ่ขึ้น มีพละกำลังเข็มแข็งเป็นที่น่าเกรงขาม เหตุการณ์นี้เป็นที่ทราบไปทั่วเมือง จึงทำให้หญิงสาวในเมืองเอาแบบอย่างเช่นเดียวกับนางเหมรังษี ซึ่งเป็นหญิงที่ท้องไม่มีพ่อ เนื่องด้วยต้องการมีบุตรที่เข้มแข็ง ครั้นเทวดา อารักษ์ทั้งหลายต่างน้อยใจ ขัดใจ พากันไม่รักษาบ้านเมือง และหนีไปที่อื่นเสียหมด จึงเกิดเหตุเพศภัย อานาประชาราษฏรต่างๆอดอยาก เกิดภัยแล้งกันดารไปทุกท้องที่ สร้างความเดือดร้อนเป็นอันมาก

ภาพเขียนจิตรกรรมในช่องนี้เขียนเริ่มเรื่องที่บริเวณมุมขวาล่าง (ข้างหน้าต่าง) เขียนภาพเหตุการณ์ในตอนที่นางเหมรังษีและมารดา เดินทางจากบ้านเข้าป่า  ถัดมาภาพเขียนบริเวณซ้ายมือ (ข้างหน้าต่างช่องที่ 1) เขียนภาพในตอนที่นางเหมรังษีใช้น้ำถุ้ง (ตะกร้าไม้ไผ่สาน ปิด หรือ ยา ด้วยชันเพื่อกันรั่ว) ใช้ตักปัสสาวะเสือโคร่งที่อยู่ในรอยเท้าช้าง ด้วยเข้าใจว่าเป็นน้ำเปล่า จึงเป็นเหตุทำให้นางเหมรังษีตั้งครรภ์ 

ถัดไปเป็นภาพเขียนบริเวณด้านบนเหนือหน้าต่าง เขียนภาพพระเจ้าพันธุมวดี ขณะนอนประทับอยู่ในปราสาทแบบล้านนาผสมกับของไทลื้อ มีเหล่าอมาตย์ และเหล่าหญิงที่มีบุตรแต่ไร้สามีเข้าเฝ้า เพื่อให้พระเจ้าพันธุมวดีไต่สวน และหารือกันถึงเพศภัย อานาประชาราษฏรพากันอดอยาก เกิดภัยแห้งแล้งกันดารไปทั่ว อันมีต้นเหตุมาจากเหล่าหญิงสาวในเมืองทำผิดศีล โดยการตั้งครรภ์ไร้ซึ่งสามี ทำให้เทวดาอารักษ์พากันละทิ้งบ้านเมืองไป เมื่อความเเจ้งแก่พระเจ้าพันธุมวดี จึงรับสั่งให้ลงโทษหญิงเหล่านั้น 

ส่วนภาพเขียนบริเวณด้านซ้ายมือของปราสาท สันนิษฐานว่าน่าจะเป็นภาพเขียนนางเหมรังษี ขณะกำลังยื่นกระดาษ หรือ ทองพันลิ่ม แก่พระมเหษีของพระเจ้าพันธุมวดี เพื่อขอไถ่โทษเหล่าหญิงที่ตั้งครรภ์โดยไร้สามี 

ส่วนภาพเขียนบริเวณซ้ายมือ เขียนภาพของหญิงชาวเมืองน่าน ขนาดใหญ่เกือบเท่าคนจริง แต่งกายแบบหญิงในเมืองน่านสมัยนั้น

PUBLISHER:
หอภาพถ่ายล้านนา โดย มูลนิธิรองศาสตราจารย์ กันต์ พูนพิพัฒน์
OTHER CONTRIBUTORS:
หอภาพถ่ายล้านนา โดย มูลนิธิรองศาสตราจารย์ กันต์ พูนพิพัฒน์
DATE:
07/02/2558
RESOURCE TYPE:
จิตรกรรมฝาผนัง
FORMAT:
Image/jpeg
RESOURCE IDENTIFIER:
คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิหอภาพถ่ายล้านนา ในกำกับของกรรมการอำนวยการหอภาพถ่ายล้านนา
SOURCE:
จิตรกรรมฝาผนัง
LANGUAGE:
ไทย/อังกฤษ
RELATION:
COVERAGE:
วัดหนองบัว อ.ท่าวังผา จ.น่าน ภาคเหนือ ประเทศไทย
RIGHT MANAGEMENT:
หอภาพถ่ายล้านนา โดย มูลนิธิรองศาสตราจารย์ กันต์ พูนพิพัฒน์

Physical Data

COLLECTION NAME:
น่าน
IMAGE CODE:
000
SUBJECT AGE:
CATEGORY:
จิตรกรรมฝาผนัง
PROVENANCE:
ศาสตราจารย์กันต์ พูนพิพัฒน์
COVERAGE:
วัดหนองบัว อ.ท่าวังผา จ.น่าน ภาคเหนือ ประเทศไทย view map
ORIGINAL SIZE:
17.29 x 3.4 เมตร (ขนาดรวมทั้งฝาผนัง)
DIGITAL SIZE:
15,200 x 9,400 Pixels