วัดหนองบัว ทิศเหนือช่องที่ 7(กัณฑ์ที่ 4 ตอนต้น(1.3))

Description

Digital Data

TITLE:
น่าน
AUTHOR:
หอภาพถ่ายล้านนา โดย มูลนิธิรองศาสตราจารย์ กันต์ พูนพิพัฒน์
KEYWORDS:
DESCRIPTION:

ภาพเขียนส่วนขยายขบวนเสด็จของพระญาธรรมสุชาต เเละพระกุมารี ขณะเสด็จประพาสอุทยาน

บริเวณด้านหลังซ้ายบน มีภาษาล้านนาเขียนกำกับอยู่ อ่านได้ความว่า “พระญาเมิงกาสี…พารุ(ลูก)….ไปเหล้รสวน อุรยานแล…” แปลได้ว่า “พระญาเมืองกาสีพาพระธิดา..ไปเที่ยวที่อุทยาน” 

ส่วนด้านหน้าขบวนมีเหล่าเสนา ทหาร และพนักงานเดินนำหน้าขบวน ในบริเวณนี้มีภาษาล้านนาเขียนกำกับอยู่ อ่านได้ความว่า “เสนา” และ “จำหนวด” แปลว่า “ตำรวจ” 

พระญาธรรมสุชาตทรงเครื่องแบบกษัตริย์สวมกระบังหน้ามีกรรเจียก คือเครื่องประดับหูมีรูปเป็นกระหนก ใช้ประกอบกับพระมหามงกุฎ พระชฎา หรือรัดเกล้า และสวมกรองศอทับบนเสื้อแขนยาว มีทับทรวงและสายสังวาลสะพายแล่ง สวมพาหุรัดที่ต้นแขน นุ่งสนับเพลาคือกางเกงขายาวประมาณครึ่งแข้งมีผ้าห้อยหน้าหรือชายไหวระหว่างชายแครง มีแถบผ้าปลายงอนหุ้มปลายขากางเกงทั้ง 2 ข้าง นุ่งโจงทับ ปัจจุบันยังหมายถึงกางเกงด้วย ราชาศัพท์ใช้ว่า พระสนับเพลา ไม่สวมฉลองพระบาท 

บริเวณด้านหน้าขบวนเขียนภาพเหล่าเสนา ทหาร และพนักงานหลากหลายชนชาติ

ถัดมาเป็นกลุ่มชายสามคน บริเวณนี้มีภาษาล้านนาเขียนกำกับอยู่ว่า “จำหนวด” แปลว่า “ตำรวจ” สวมเครื่องแต่งกายที่รับอิทธิพลแบบชาวบางกอกในยุคนั้น คือ สวมเสื้อผ้าสีเรียบแขนยาวนุ่งโจงกระเบน สวมหมวกแบบชาวตะวันตก ในมือถือธงไชยและตำราใบลาน 

ถัดมาเป็นเหล่าทหารหลากหลายเชื้อชาติ เช่น ทหารแขก ทหารชาวจีน สวมเครื่องเเบบทหารแบบชาวตะวันตกที่นิยมช่วงนั้น คือสวมเครื่องแบบเสื้อสีแดงกางเกงขาวสวมหมวกสีขาว ในมือแบกปืนคาบศิลา ไว้หนวดและเคราซึ่งไม่ค่อยนิยมในหมู่ชายชาวไทลื้อและไทยวนในยุคนั้น สวมรองเท้าหนังสีดำ 

ส่วนพนักงานหามเสลี่ยงและทหารด้านท้ายขบวนสวมเครื่องแต่งกายแบบชายชาวไทยวน หรือ ชายชาวไทลื้อในล้านนาในยุคนั้น คือ สวมเสื้อคอตั้งแขนยาวทำจากผ้าพื้นสีเรียบ นุ่งผ้ามีลวดลาย หรือ ผ้าพื้นสีเรียบผืนเดียวที่เรียกว่านุ่งแบบ“นุ่งผ้าต้อย”หรือ“เค็ดม่าม”โดยจะม้วนผ้าเป็นเกลียวสอดระหว่างขาเป็นการนุ่งแบบเดียวกับการถกเขมร หรือ โจงกระเบน เผยให้เห็นลายสักยันต์ตั้งแต่ท้องน้อยจนถึงหัวเข่าที่มีลวดลายสัตว์หิมพานต์ อันเป็นเอกลักษณ์อย่างหนึ่งของชายชาวไทลื้อและไทยวนในแถบนี้ ไว้ทรงผม “ทรงมหาดไทย” ลักษณะคือ ไว้ผมกลางศีรษะและด้านข้างโกนผมบริเวณโดยรอบ คล้ายกับการนำกะลามาครอบหัว แต่ไม่ได้แสกกลางแบบทางภาคกลางของไทย ซึ่งน่าจะได้รับอิทธิพลมาจากกรุงเทพ และไม่สวมรองเท้า 

ส่วนทหารด้านท้ายขบวนในมือถือไม้พลอง บ้างก็แบกปืนคาบศิลาปลายติดมีดสั้น 

ในภาพช่างเขียนยังสอดเเทรกเรื่องราวในชีวิตประจำวัน เขียนลงไปในภาพเขียน เช่น เขียนภาพต้นสัปะรด หรือในภาษาล้านนาเรียกว่า “ต้นบะขะหนัด” ซึ่งถือเป็นของแปลกใหม่ในสมัยนั้น

PUBLISHER:
หอภาพถ่ายล้านนา โดย มูลนิธิรองศาสตราจารย์ กันต์ พูนพิพัฒน์
OTHER CONTRIBUTORS:
หอภาพถ่ายล้านนา โดย มูลนิธิรองศาสตราจารย์ กันต์ พูนพิพัฒน์
DATE:
07/02/2558
RESOURCE TYPE:
จิตรกรรมฝาผนัง
FORMAT:
Image/jpeg
RESOURCE IDENTIFIER:
คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิหอภาพถ่ายล้านนา ในกำกับของกรรมการอำนวยการหอภาพถ่ายล้านนา
SOURCE:
จิตรกรรมฝาผนัง
LANGUAGE:
ไทย/อังกฤษ
RELATION:
COVERAGE:
วัดหนองบัว อ.ท่าวังผา จ.น่าน ภาคเหนือ ประเทศไทย
RIGHT MANAGEMENT:
หอภาพถ่ายล้านนา โดย มูลนิธิรองศาสตราจารย์ กันต์ พูนพิพัฒน์

Physical Data

COLLECTION NAME:
น่าน
IMAGE CODE:
000
SUBJECT AGE:
CATEGORY:
จิตรกรรมฝาผนัง
PROVENANCE:
ศาสตราจารย์กันต์ พูนพิพัฒน์
COVERAGE:
วัดหนองบัว อ.ท่าวังผา จ.น่าน ภาคเหนือ ประเทศไทย view map
ORIGINAL SIZE:
17.29 x 3.4 เมตร (ขนาดรวมทั้งฝาผนัง)
DIGITAL SIZE:
15,200 x 9,400 Pixels