ภาพเขียนจิตรกรรมบนผืนผ้า (พระบฏ) วัดเจดีย์สูง อำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่

Description

Digital Data

TITLE:
เชียงใหม่
AUTHOR:
หอภาพถ่ายล้านนา โดย มูลนิธิ รองศาสตราจารย์กันต์ พูนพิพัฒน์
KEYWORDS:
DESCRIPTION:
ภาพเขียนกระต่าย เป็นภาพสัตว์เพียงภาพเดียวของพระบฏผืนนี้ ปรากฏเป็นภาพกระต่ายซึ่งอยู่ในดวงจันทร์ กล่าวถึงตำนานของอินเดีย เชื่อว่ากระต่ายเปรียบเสมือนเทพเจ้าแห่งดวงจันทร์เรียกว่า “จันทรา” หรือในภาษาสันสกฤตเรียกว่า “ศศิน” (Supak Mahavarakorn, 2552) ส่วนพระบฏผืนนี้เขียนภาพกระต่ายในดวงจันทร์ อยู่ระหว่างเหนือพระเกศาพระพุทธเจ้า มีลักษณะหันด้านข้าง ตัดเส้นด้วยสีแดง สีขาวและสีดํา ขาหน้าทั้งสองอยู่ในลักษณะคู้เข่าลง ส่วนขาหลังนั้น ข้างหนึ่งกางเหยียดออกไป คอชูขึ้นหันหน้าไปทางด้านที่มีพระพุทธเจ้า หูกางชี้ขึ้น ส่วนหางเป็นกระจุกพู่ ช่างเขียนได้ถ่ายทอดออกมา โดยเน้นลักษณะพิเศษเฉพาะด้วยท่าทาง อุปนิสัย เช่น การเขียนหู ให้ยาว ดวงตากลมมน และขาหลังที่ดีดออกไปหนึ่งข้าง ซึ่งสะท้อนความน่ารักของกระต่าย ทั้งนี้กระต่ายเป็นสัตว์ป่าที่พบได้โดยทั่วไปในภาคเหนือของประเทศไทย นอกจากนี้ยังสันนิษฐานว่า ช่างเขียนภาพพระอาทิตย์ไว้เบื้องขวาของพระบฏผืนนี้ ซึ่งอาจจะเป็นรูปนกยูง ซึ่งนกยูงและพระอาทิตย์มีความสัมพันธ์กัน กล่าวคือเปรียบดังกลางวันและกลางคืน อีกทั้งแววหางของนกยูง  มีลักษณะคล้ายกับรัศมีของพระอาทิตย์ นอกจากนี้ราชวงศ์อินเดียบางราชวงศ์ถือเอานกยูงเป็นตราสัญลักษณ์ และชื่อประจำราชวงศ์ เช่น ราชวงศ์โมริยะ เป็นต้น ส่วนในทางพระพุทธศาสนาปรากฏเรื่องราวที่แสดงให้ความสำคัญของนกยูงหลายเรื่องด้วยกัน ดังปรากฏในนิบาตชาดกเกี่ยวกับนกยูง 2 เรื่อง คือ โมรชาดก และมหาโมรชาดก จะเห็นได้ว่านอกจากช่างจะนิยมเขียนภาพกระต่ายในดวงจันทร์แล้ว ยังพบรูปปูนปั้นประดับ รูกระต่ายและนกยูงในงานศิลปกรรมต่างๆของล้านนา เช่น ภาพเขียนจิตรกรรมวัดป่าแดด อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ และศิลปะปูนปั้นประดับกระจก สัญลักษณ์ของและพระจันทร์ (กระต่าย) และพระอาทิตย์ (นกยูง) บนเพดานวิหารวัดประตูต้นผึ้ง จังหวัดลำปาง นอกจากนี้ชาวจีนยังเชื่อว่า กระต่ายเป็นสัญลักษณ์ของความมีอายุยืนนาน เป็นเครื่องหมายของปีที่ 4 แห่งปีนักษัตร เป็นต้น
PUBLISHER:
หอภาพถ่ายล้านนา โดย มูลนิธิ รองศาสตราจารย์กันต์ พูนพิพัฒน์
OTHER CONTRIBUTORS:
หอภาพถ่ายล้านนา โดย มูลนิธิ รองศาสตราจารย์กันต์ พูนพิพัฒน์
DATE:
18/06/2562
RESOURCE TYPE:
ภาพถ่าย
FORMAT:
Image/jpeg
RESOURCE IDENTIFIER:
คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิหอภาพถ่ายล้านนา ในกำกับของกรรมการอำนวยการหอภาพถ่ายล้านนา
SOURCE:
พระบฏ จิตรกรรมบนผืนผ้า
LANGUAGE:
ไทย/อังกฤษ
RELATION:
พระบฏ คือ ผืนผ้าที่มีรูปพระพุทธเจ้าเป็นต้น และแขวนไว้เพื่อบูชา คำว่า บฏ มาจากคำในภาษาบาลีว่า ปฏ (อ่านว่า ปะ-ตะ) แปลว่า ผ้าทอ หรือ ผืนผ้า ส่วนมากเป็นผ้าแถบยาว มีวาดภาพพระพุทธเจ้า นิยมแขวนไว้ในสถานที่จัดพิธีกรรมในพุทธศาสนา ใช้แทนที่พระพุทธรูป เพื่อเป็นที่เคารพบูชา ในล้านนาเรียกกันว่า “ตุงค่าว” หรือ ตุงค่าวธรรม ในประกอบพิธีกรรมทางศาสนา เช่น เทศน์มหาชาติ เเละตั้งธรรมหลวง เป็นต้น
COVERAGE:
RIGHT MANAGEMENT:
หอภาพถ่ายล้านนา โดย มูลนิธิ รองศาสตราจารย์กันต์ พูนพิพัฒน์

Physical Data

COLLECTION NAME:
เชียงใหม่
IMAGE CODE:
02_26_20190805_MR26-01_22
SUBJECT AGE:
ประมาณพุทธศตวรรษที่ 20 – 21 (พ.ศ.1900 – 2100)
CATEGORY:
พระบฏ จิตรกรรมบนผืนผ้า
PROVENANCE:
ศาสตราจารย์ กันต์ พูนพิพัฒน์
COVERAGE:
ORIGINAL SIZE:
9.5 x 6.83 in.
DIGITAL SIZE:
5222 x 2500 Pixels.