ภาพพระบฏวัดป่าหัด ผืนที่ 5

Category:

Description

Digital Data

TITLE:
น่าน
AUTHOR:
หอภาพถ่ายล้านนา โดย มูลนิธิรองศาสตราจารย์ กันต์ พูนพิพัฒน์
KEYWORDS:
DESCRIPTION:

จิตรกรรมภาพพระบฏบนกระดาษสาของวัดป่าหัดภาพนี้ ด้านหน้าเป็นภาพมหาเวสสันดรชาดก ซึ่งมีด้วยกันทั้งหมด 2 กัณฑ์ คือด้านล่างเป็นกัณฑ์ที่ 8 กัณฑ์กุมาร ด้านบนเป็นกัณฑ์ที่ 9 กัณฑ์มัทรี ด้านล่างกัณฑ์ที่ 8 กัณฑ์กุมาร มีความว่า ฝ่ายชูชกครั้นเห็นว่า เวลานี้พระนางมัทรีเข้าป่าแล้ว จึงได้เดินทางไปเฝ้าพระเวสสันดรที่อาศรม ทูลขอสองกุมาร พระเวสสันดรก็ประทานให้ แต่ตรัสว่าขอให้รอพระนางมัทรีก่อน ให้ชูชกค้างสัก ๑ ราตรีชูชกไม่เห็นด้วย ทูลว่า ถ้ารอพระนางมันทรีก่อน ให้ชูชกเป็นเหตุขัดข้อง พระเวสสันดรรับสั่งว่า เมื่อเอาสองกุมารไปจงเอาไปถวายพระเจ้าสัญชัยราช ณ พระนครสีพี จะได้รับพระราชทานรางวัลมากชูชกค้านว่า ถ้าไปพบพระเจ้าสันชัยราชอาจถูกจับได้ว่า ไปลักพระเจ้าหลานมา กับจะเป็นโทษ องการจะเอาไปใช้เป็นทาสเอง ขณะที่ชูชกทูลขอ สองกุมารอยู่นั้นชาลี กัญหา สองกุมารได้ยินกลัวจะถูกชูชกเอาตัวไป จึงพากันหนีไปซ่อนตัวอยู่ในสระน้ำ เอาใบบัวบังศรีษะเสีย 

ส่วนภาพด้านบนเป็นกัณฑ์ที่ 9 กัณฑ์มัทรี มีความว่า พระนางมัทรีรีบยกหาบใส่บ่ารีบเดินทาง พอถึงช่องแคบระหว่างเขาคีรี เป็นตรอกน้อยรอยวิถีทาง ที่เฉพาะจะต้องเสด็จผ่าน ก็พบกับสองเสือสามสัตว์มานอนสกัดหน้า เทวดาสามองค์แปลงร่างเป็นราชสีห์ เสือเหลือง เสือโคร่งสกัดทางนางไว้เพื่อมิให้พระนางมัทรีติดตามกัณหา ชาลีได้ทัน แต่ถึงกระนั้น เมื่อยามทุกข์เข้าบีบคั้น ความรักลูก ความห่วงพระภัสดา พระนางจึงก้มกราบวิงวอน ขอหนทางต่อพญาสัตว์ทั้งสาม เมื่อได้หนทางแล้ว พระนางก็รีบเสด็จกลับอาศรม 

ในภาพด้านล่างเป็นเหตุการณ์ที่พระเวสสันดร ทรงหลั่งน้ำทักษิโณทกเพื่อพระราชทานพระกุมารทั้งสองแก่ชูชก ที่เป็นการบริจาคทานตามพระประสงค์ ในบริเวณนี้มีอักษรล้านนากำกับอยู่ อ่านได้ความว่า “กุมารบัน พรามมาขอเอาเธ้าชารีกับนางกัญหา[ร] เนอ” หมายความว่า “กัณฑ์กุมาร พราหมณ์เฒ่าชูชกมาขอสองกุมารกัณหาและชาลี” พระเวสสันดรทรงเครื่องทรงแบบกษัตริย์ สวมกระบังหน้ามีกรรเจียกคือเครื่องประดับหูมีรูปเป็นกระหนก ใช้ประกอบกับพระมหามงกุฎ พระชฎา หรือรัดเกล้า และสวมกรองศอทับบนเสื้อแขนยาว มีทับทรวงและสายสังวาลสะพายแล่ง สวมพาหุรัดที่ต้นแขน ด้านล่างเห็นเฉพาะบางส่วน ที่น่าจะนุ่งสนับเพลาคือกางเกงขายาวประมาณครึ่งแข้งมีผ้าห้อยหน้าหรือชายไหวระหว่างชายแครง มีแถบผ้าปลายงอนหุ้มปลายขากางเกงทั้ง 2 ข้าง นุ่งโจงทับ ปัจจุบันยังหมายถึงกางเกงด้วย ราชาศัพท์ใช้ว่า พระสนับเพลา

ส่วนชูชกการแต่งกายของชูชกนุ่งผ้าที่มีลวดลายผืนเดียวที่เรียกว่านุ่งแบบ“นุ่งผ้าต้อย”หรือ“เค็ดม่าม”โดยจะม้วนผ้าเป็นเกลียวสอดระหว่างขาเป็นการนุ่งแบบเดียวกับการถกเขมร สะพายถุงย่าม ที่คนในล้านนาเรียกว่า “ถุงย่ามขาวแซงดำ” ที่เป็นที่นิยมใช้ของชายชาวไทยวนในล้านนา

ส่วนภาพในด้านบนเป็นกัณฑ์ที่ 9 กัณฑ์มัทรี พระนางมัทรีทรงยกพระหัตถ์ขึ้นสูง เพื่อขอทาง จาก เทวดาสามองค์แปลงร่างเป็นราชสีห์ เสือเหลือง และเสือโคร่ง สกัดทางนางไว้  ในบริเวณนี้มีอักษรล้านนากำกับอยู่ อ่านได้ความว่า “มทรีขอหนทางจิมพญาเนื้อแล” แปลได้ว่า “พระนางมัทรีทรงขอให้เดินกลับอาศรมจากราชสีห์ เสือเหลือง และเสือโคร่ง” พระนางมัทรีทรงชุดแบบฤาษี มีเสียมที่ห้อยถุงผ้าไว้ด้านหัวและท้าย

PUBLISHER:
หอภาพถ่ายล้านนา โดย มูลนิธิรองศาสตราจารย์ กันต์ พูนพิพัฒน์
OTHER CONTRIBUTORS:
หอภาพถ่ายล้านนา โดย มูลนิธิรองศาสตราจารย์ กันต์ พูนพิพัฒน์
DATE:
04/07/2565
RESOURCE TYPE:
ภาพเขียนจิตรกรรมบนกระดาษสา (พระบฏ)
FORMAT:
Image/jpeg
RESOURCE IDENTIFIER:
คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิหอภาพถ่ายล้านนา ในกำกับของกรรมการอำนวยการหอภาพถ่ายล้านนา
SOURCE:
ภาพเขียนจิตรกรรมบนกระดาษสา (พระบฏ)
LANGUAGE:
ไทย/อังกฤษ
RELATION:
COVERAGE:
วัดป่าหัด อำเภอปัว จังหวัดน่าน ภาคเหนือ ประเทศไทย
RIGHT MANAGEMENT:
หอภาพถ่ายล้านนา โดย มูลนิธิรองศาสตราจารย์ กันต์ พูนพิพัฒน์

Physical Data

COLLECTION NAME:
น่าน
IMAGE CODE:
000
SUBJECT AGE:
ปีพุทธศักราช 2406
CATEGORY:
ภาพเขียนจิตรกรรมบนกระดาษสา (พระบฏ)
PROVENANCE:
ศาสตราจารย์กันต์ พูนพิพัฒน์
COVERAGE:
วัดป่าหัด อำเภอปัว จังหวัดน่าน ภาคเหนือ ประเทศไทย view map
ORIGINAL SIZE:
พระบฏทั้งผืน ขนาด 32 x 57cm
DIGITAL SIZE:
12,500×15,000 Pixel