ภาพเขียนจิตรกรรมบนผืนผ้า (พระบฏ) วัดพระยืน – ภาพพระบฎแผ่นที่ 1 พระมาลัย

SKU: 02_28_20190617_MR28-01_01 Category:

Description

Digital Data

TITLE:
ลำพูน
AUTHOR:
หอภาพถ่ายล้านนา โดย มูลนิธิรองศาสตราจารย์ กันต์ พูนพิพัฒน์
KEYWORDS:
DESCRIPTION:
ภาพพระบฎแผ่นที่ 1 ชุดที่อักษรล้านนาประกอบในภาพดังต่อไปนี้
ใต้ภาพ อ่านว่า “ปถมมาเลยฺย” 
อักษรเหนือรูปพระ อ่านว่า “ปถมาเลยฺย”
ภาพนี้เป็นเหตุการณ์ตอนหนึ่งที่กล่าวถึง ชายเข็ญใจผู้หนึ่งอาศัยอยู่กับแม่  ในเช้าวันหนึ่ง ชายผู้นั้นได้ลงไปอาบน้ำและเห็นดอกบัว 8 ดอก มีความงดงาม จึงเก็บดอกบัวมาด้วยจิตศรัทธา จากนั้น ชายเข็ญใจได้เห็นพระมาลัยเดินบิณฑบาตร จึงนำดอกบัว 8 ดอกถวาย และตั้งจิตอธิษฐานว่า ไม่ว่าจะเกิดมาอีกกี่ชาติ ขออย่าได้เกิดมาเป็นคนเข็ญใจอีก จากนั้น พระมาลัยได้นำดอกบัวขึ้นไปบูชาพระเกศแก้วจุฬามณีบนสวรรค์  
พระมาลัย ถือเป็นพระเถระในตำนานองค์สำคัญองค์หนึ่งที่ใกล้ชิดกับชาวบ้าน และถือเป็น “พระผู้มาโปรด” จนได้รับการกล่าวขานทั่วไป และนำมาสร้างเป็นงานศิลปกรรมต่างๆ มากมายหลายรูปแบบ รวมทั้งยังมีการสร้างสรรค์สมุดภาพและคัมภีร์ขึ้นจำนวนมาก อันเกิดจากพื้นฐานความเชื่อที่ว่าการสืบสานเรื่องราวเหล่านี้ให้เผยแพร่กว้างขวางออกไปถือเป็นอานิสงส์นำให้ผู้สร้างได้ไปเกิดในยุคพระศรีอาริย์ ในดินเเดนล้านนานิยมเขียนภาพพระมาลัยในพระบฏ หรือตุงค่าวธรรม เป็นผืนเเรกเสมอ
การเขียนภาพพระบฎชุดนี้เป็นการรับเอาอิทธิพลรูปแแบจากทางกรุงเทพแต่ยังมีการผสมผสานเรื่องราวในสภาพแวดล้อมช่วงนั้นลงไปด้วย ตั้งแต่งานสถาปัตยกรรมที่เป็นเรือนยกพื้นเสาไม้มีปูนรองรับที่เป็นรูปแบบของทางภาคเหนือ หญิงที่นั่งอยู่ในเรือนแต่งกายแบบหญิงไทยวนคือนำผ้าแถบมาห่มคล้ายสไบเรียกว่าการห่มแบบ “สะหว้ายแล่ง” มีการทำผมมุ่นมวยต่ำไว้ด้านหลัง นุ่งผ้า “ซิ่นต๋า”เป็นผ้าซิ่นที่มีลวดลายเส้นในแนวขวางลำตัว ที่ล้วนเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของหญิงชาวไทยวนในแถบนี้ มีขันหมากที่ทำจากเครื่องเขินเขียนลายวางอยู่ด้านข้าง ส่วนการแต่งกายของชายที่ถวายดอกบัวเป็นการแต่งกายของรูปแบบที่รับวัฒนธรรมของทางกรุงเทพคือใส่เสื้อแขนยาวนุ่งกางเกงครึ่งแข้ง ผมสั้นและมีการไว้หนวดที่น่าจะได้รับอิทธิพลจากทางกรุงเทพที่ได้รับวัฒนธรรมของชาติตะวันตก ในภาพมีการวาดหมาที่นอนอยู่บันไดเรือนและมีหมูดำผูกอยู่หน้าเรือนที่ทำให้เห็นสภาพแวดล้อมในยุคนั้นได้เป็นอย่างดี
PUBLISHER:
หอภาพถ่ายล้านนา โดย มูลนิธิรองศาสตราจารย์ กันต์ พูนพิพัฒน์
OTHER CONTRIBUTORS:
หอภาพถ่ายล้านนา โดย มูลนิธิรองศาสตราจารย์ กันต์ พูนพิพัฒน์
DATE:
08/04/2562
RESOURCE TYPE:
จิตรกรรมฝาผนัง
FORMAT:
Image/jpeg
RESOURCE IDENTIFIER:
คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิหอภาพถ่ายล้านนา ในกำกับของกรรมการอำนวยการหอภาพถ่ายล้านนา
SOURCE:
จิตรกรรมฝาผนัง
LANGUAGE:
ไทย/อังกฤษ
RELATION:
พระบฏ คือ ผืนผ้าที่มีรูปพระพุทธเจ้าเป็นต้นและแขวนไว้เพื่อบูชา คำว่า บฏ มาจากคำในภาษาบาลีว่า ปฏ (อ่านว่า ปะ-ตะ) แปลว่า ผ้าทอ หรือ ผืนผ้า ส่วนมากเป็นผ้าแถบยาว มีวาดภาพพระพุทธเจ้า นิยมแขวนไว้ในสถานที่จัดพิธีกรรมในพุทธศาสนา ใช้แทนที่พระพุทธรูป เพื่อเป็นที่เคารพบูชา ในล้านนาเรียกกันว่า “ตุงค่าว” หรือ ตุงค่าวธรรม ใช้ประกอบพิธีกรรมทางศาสนา เช่น เทศน์มหาชาติ เเละตั้งธรรมหลวง เป็นต้น
COVERAGE:
RIGHT MANAGEMENT:
หอภาพถ่ายล้านนา โดย มูลนิธิรองศาสตราจารย์ กันต์ พูนพิพัฒน์

Physical Data

COLLECTION NAME:
ลำพูน
IMAGE CODE:
02_28_20190617_MR28-01_1
SUBJECT AGE:
ประมาณกลางพุทธศตวรรษที่ 25
CATEGORY:
ภาพจิตรกรรมบนผืนผ้า (พระบฏ)
PROVENANCE:
ศาสตราจารย์ กันต์ พูนพิพัฒน์และ แปลภาษาล้านนา โดย ดร. อภิรดี เตชะศิริวรรณ
COVERAGE:
ORIGINAL SIZE:
147 x 86 cm.
DIGITAL SIZE:
2525 x 4000 Pixels