ภาพถ่ายชุดนายห้างป่าไม้ในลำปาง (Frank R Frere)

SKU: DC_PT_02_25_20191008_PH01_129 Category:

Description

Digital Data

TITLE:
ลำปาง
AUTHOR:
หอภาพถ่ายล้านนา โดย มูลนิธิ รองศาสตราจารย์กันต์ พูนพิพัฒน์
KEYWORDS:
DESCRIPTION:
ภาพถ่าย Mr.Frank R Frere ขณะเดินตรวจไม้กับคนงานทำไม้ (ไม่ทราบสถานที่)
PUBLISHER:
หอภาพถ่ายล้านนา โดย มูลนิธิ รองศาสตราจารย์กันต์ พูนพิพัฒน์
OTHER CONTRIBUTORS:
หอภาพถ่ายล้านนา โดย มูลนิธิ รองศาสตราจารย์กันต์ พูนพิพัฒน์
DATE:
08/03/2556
RESOURCE TYPE:
ภาพถ่าย
FORMAT:
Image/jpeg
RESOURCE IDENTIFIER:
คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิหอภาพถ่ายล้านนา ในกำกับของกรรมการอำนวยการหอภาพถ่ายล้านนา
SOURCE:
ภาพถ่ายโบราณ
LANGUAGE:
ไทย/อังกฤษ
RELATION:

รัฐบาลไทยเริ่มอนุญาตให้ชาวยุโรปเข้ารับสัมปทานทำไม้สักในประเทศไทยได้ พ.ศ. 2426 และในช่วงเวลาเดียวกันคือหลังจาก พ.ศ. 2428 เป็นต้นมา พม่าก็ได้ปิดป่าสักไม่ให้มีการทำไม้เนื่องจากสภาพป่าสักเสื่อมโทรมลงมากจากการทำไม้ของบริษัทต่างชาติ และความต้องการไม้สักในหมู่ประเทศยุโรปจึงมีมากขึ้น เมื่อมีความชำนาญในการทำไม้ในพม่า บริษัทของอังกฤษทราบถึงวิธีการที่จะได้ผลมากที่สุดทั้งเทคนิคการตัดไม้และลากจูง การลงทุนที่คุ้มค่าและมีกำไรสูงสุด และการบริหารงาน ความเชี่ยวชาญ และเหตุผลข้างต้นทำให้บริษัททำไม้ของยุโรปเข้ามาตั้งบริษัททำธุรกิจในประเทศไทย 

เริ่มจากบริษัทบริดิช เบอร์เนียว จำกัด มาตั้งที่เชียงใหม่เมื่อ พ.ศ. 2399 แต่เริ่มอย่างจริงจังเมื่อ พ.ศ. 2432 บริษัทบอมเบย์ เบอร์มา เทรดดิ้ง จำกัด [Bombay Burma Trading Corporation,Ltd.]ของอังกฤษ ซึ่งเป็นใหญ่และมีอิทธิพลมากในประเทศพม่าเข้ามาใน พ.ศ. 2432 ตั้งสาขาที่เชียงใหม่เมื่อ พ.ศ. 2435 บริษัทสยามฟอเรสต์ จำกัด [Siam Forest Company,Ltd.] ซึ่งต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นแองโกลสยามและแองโกลไทย จำกัด เข้ามาทำป่าไม้เมื่อ พ.ศ. 2435 บริษัทหลุยส์ ที. เลียวโนเวนส์ [Louis t.Leonowens Ltd.] ซึ่งแยกมาจากบริษัทบริดิช บอร์เนียว ใน พ.ศ. 2439 และบริษัทของชาวเดนมาร์กอีกแห่งหนึ่งคือ บริษัทอิสต์ เอเชียติค จำกัด ตั้งขึ้นราว พ.ศ. 2448 เป็นบริษัทที่นำสินค้าจากต่างประเทศเข้ามาค้าขายด้วย สำนักงานเดิมตั้งอยู่ข้างโรงแรมโอเรียลเต็ล และบริษัทนี้ยังคงทำธุรกิจอยู่จนทุกวันนี้ และยังมีบริษัทของฝรั่งเศสอีกหนึ่งบริษัทคือ บริษัทเอชิอาติก เออาฟริเกน ตั้งเมื่อ พ.ศ. 2425 ส่วนผู้ทำไม้รายย่อยซึ่งเริ่มเป็นกลุ่มชนชั้นนำที่เป็นนายทุนของสยามได้แก่ บริษัทล่ำซำ จำกัด ของนายอึ้ง ล่ำซำ ซึ่งเป็นคนในบังคับฝรั่งเศส บริษัทกิมเซ่งหลี จำกัด ก่อตั้งโดย นายอากรเต็งหรือหลวงอุดรภัณฑ์พานิช ซึ่งมีทุนน้อยกว่าชาวยุโรป นอกจากนี้ยังมีเจ้านายจากเมืองต่างๆ โดยเฉพาะเมืองแพร่และเมืองน่าน คนอเมริกันและฮอลันดา และคนท้องถิ่น 

การทำป่าไม้ในมณฑลพายัพดำเนินการโดยพ่อค้าอังกฤษและชาวพม่าในบังคับอังกฤษ ซึ่งอยู่ในความควบคุมของ 2 บริษัทป่าไม้อังกฤษใหญ่ๆ คือ บริษัทบอมเบย์ เบอร์มา และบริษัท บริดิช บอร์เนียว ซึ่งการดำเนินงานของทั้งสองบริษัทจะกระทำอย่างมีแบบเเผนและใช้วิชาการเข้ามาเกี่ยวข้อง คนที่ทำป่าไม้ก็มีความชำนาญในการทำป่าไม้มาจากพม่า เมื่อบริษัทได้มาตั้งสาขาขึ้นในมณฑลพายัพก็ดำเนินการทำป่าไม้ทุกอย่าง นับตั้งแต่การรับเช่าทำป่าไม้ การตัด แม้แต่การออกทุนในการรับซื้อไม้จากพ่อค้าไม้ชาวพื้นเมือง

COVERAGE:
คุณสุวภรณ์ ชูโต เเละคุณลาวัลย์ อินต๊ะรัตน์ 
RIGHT MANAGEMENT:
หอภาพถ่ายล้านนา โดย มูลนิธิ รองศาสตราจารย์กันต์ พูนพิพัฒน์

Physical Data

COLLECTION NAME:
ลำปาง
IMAGE CODE:
DC_PT_02_25_20191008_PH01_129
SUBJECT AGE:
ประมานปีพ.ศ.2470 – 2480
CATEGORY:
ภาพถ่าย
PROVENANCE:
ศาสตราจารย์ กันต์ พูนพิพัฒน์
COVERAGE:
คุณสุวภรณ์ ชูโต เเละคุณลาวัลย์ อินต๊ะรัตน์ ต.เวียงเหนือ อ.เมืองลำปาง จ.ลำปาง ภาคเหนือประเทศไทย
View map
ORIGINAL SIZE:
4” x 6”
DIGITAL SIZE:
2621*1765 Pixels