จิตรกรรมมุขทิศเหนือฝั่งตะวันตก 1.13

Category:

Description

Digital Data

TITLE:
น่าน
AUTHOR:
หอภาพถ่ายล้านนา โดย มูลนิธิรองศาสตราจารย์ กันต์ พูนพิพัฒน์
KEYWORDS:
DESCRIPTION:

ภาพเขียนหญิงหม้ายมารดาของคัทธณะกุมาร ที่กำลังชี้ให้คัทธณะกุมารดูรอยเท้าช้าง ที่ตนได้ดื่มกินน้ำในรอยเท้านั้นแล้วเกิดตั้งครรภ์ ในบริเวณนี้มีอักษรล้านนาเขียนกำกับอยู่ 2 ชุด ประกอบด้วย ชุดอักษรล้านนาบริเวณเหนือหญิงหม้ายมารดาของคัทธณะกุมารอ่านได้ความว่า “แม่เจ้าคัทธณะชี้รอยช้างหื้อเจ้าหันว่า คอยดูเจ้าแม่” แปลได้ความว่า “แม่เจ้าคัทธณะชี้รอยเท้าช้างให้เจ้าคัทธณะเห็นแล้ว กล่าวว่า มองดูเจ้าแม่” ถัดมาเป็นชุดอักษรล้านนาบริเวณเหนือคัทธณะกุมารอ่านได้ความว่า “หลวงแท้น้อ” แปลว่า “ใหญ่เหลือเกิน” 

ในภาพมารดาของคัทธณะกุมารหาบกระปุง หรือ “คอนบุง” ในภาษาล้านนา ซึ่งเป็นเครื่องใช้ชนิดหนึ่งทำจากไม้ไผ่สาน ใช้สำหรับใส่ของ ส่วนปากมีเชือกไว้สำหรับพูกกับไม้คานเพื่อหาบของ 

หญิงหม้ายมารดาของคัทธณะกุมารในภาพสวมเสื้อผ่าหน้าไม่ติดกระดุม มีลักษณะเป็นเสื้อตัวยาวแขนยาวทำจากผ้าพื้นสีเรียบ บริเวณสาปเสื้อด้านหน้ามีการตกแต่งด้วยการปักด้วยดิ้นเงิน หรือ ดิ้นทอง ดูคล้ายเสื้อปั้ดของหญิงชาวหลวงพระบาง นุ่งซิ่นป้อง คือผ้าซิ่นที่มีลายในแนวขวางลำตัว ดูแล้วคล้ายกับซิ่นต๋าของหญิงชาวไทยวนในล้านนา มีรูปแบบการทอที่ในเมืองน่านเรียกว่า “มัดก่าน” หรือที่เรียกว่าทั่วไปว่า “มัดหมี่” บนลายเส้นในแนวขวางลำตัว ซิ่นป้องถือเป็นผ้าซิ่นที่มีโครงสร้างชนิดพิเศษและมีเอกลักษณ์เฉพาะ สามารถพบได้เฉพาะในเมืองน่านเท่านั้น บนศรีษะไว้ผมยาวมุ่นมวยไว้ เรียกว่าเกล้าแบบ “วิดว้อง”

ส่วนคัทธณะกุมารสวมเครื่องเเต่งกายที่น่าจะได้รับอิทธิพลจากกรุงเทพ เเล้วนำมาผสมผสานกับการแต่งกายที่นิยมกันในหมู่ชายหนุ่มในเมืองน่าน คือ ใส่เสื้อทำจากผ้าพื้นคอกลมแขนยาว นุ่งผ้าลายดอกผืนเดียวที่เรียกว่านุ่งแบบ “นุ่งผ้าต้อย” หรือ “เค็ดม่าม” โดยจะม้วนผ้าเป็นเกลียวสอดระหว่างขาเป็นการนุ่งแบบเดียวกับการถกเขมร หรือ โจงกระเบน แต่มีผ้าแถบสีแดงมารัดคล้ายรัดด้วยเชือก หรือ เข็มขัด เผยให้เห็นลายสักยันต์ที่มีเพียงเล็กน้อยเพราะยังไม่เป็นหนุ่มเต็มวัย ไว้ทรงผมทรงมหาดไทย ลักษณะคือ ไว้ผมกลางศีรษะและด้านข้างโกนผมบริเวณโดยรอบ คล้ายกับการนำกะลามาครอบหัว แต่ไม่ได้แสกกลางแบบทางภาคกลางของไทย ซึ่งน่าจะได้รับอิทธิพลมาจากทางกรุงเทพ และไม่สวมรองเท้า

PUBLISHER:
หอภาพถ่ายล้านนา โดย มูลนิธิรองศาสตราจารย์ กันต์ พูนพิพัฒน์
OTHER CONTRIBUTORS:
หอภาพถ่ายล้านนา โดย มูลนิธิรองศาสตราจารย์ กันต์ พูนพิพัฒน์
DATE:
07/02/2558
RESOURCE TYPE:
จิตรกรรมฝาผนัง
FORMAT:
Image/jpeg
RESOURCE IDENTIFIER:
คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิหอภาพถ่ายล้านนา ในกำกับของกรรมการอำนวยการหอภาพถ่ายล้านนา
SOURCE:
จิตรกรรมฝาผนัง
LANGUAGE:
ไทย/อังกฤษ
RELATION:
COVERAGE:
วัดภูมินทร์ อำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน ภาคเหนือ ประเทศไทย
RIGHT MANAGEMENT:
หอภาพถ่ายล้านนา โดย มูลนิธิรองศาสตราจารย์ กันต์ พูนพิพัฒน์

Physical Data

COLLECTION NAME:
น่าน
IMAGE CODE:
000
SUBJECT AGE:
CATEGORY:
จิตรกรรมฝาผนัง
PROVENANCE:
ศาสตราจารย์กันต์ พูนพิพัฒน์
COVERAGE:
วัดภูมินทร์ อำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน ภาคเหนือ ประเทศไทย view map
ORIGINAL SIZE:
11.43×6.82 เมตร(ขนาดรวมทั้งฝาผนัง)
DIGITAL SIZE:
57,451×19,360 Pixels