จิตรกรรมมุขทิศเหนือฝั่งตะวันตก 1.32

Category:

Description

Digital Data

TITLE:
น่าน
AUTHOR:
หอภาพถ่ายล้านนา โดย มูลนิธิรองศาสตราจารย์ กันต์ พูนพิพัฒน์
KEYWORDS:
DESCRIPTION:

ภาพเขียนกลุ่มหญิงชายที่เดินตามขบวนแห่มารดาของคัธณะกุมาร กลุ่มหญิงสาวในภาพแต่งกายแบบหญิงในเมืองน่านในยุคนั้น คือ ด้านบนเปลือยอก นำมาแถบมาห่มแบบสไบ ในล้านนาเรียกว่า “ห่มผ้าสะหว้ายแล่ง” นุ่งซิ่นซิ่นป้อง เป็นซิ่นที่มีลายในแนวขวางลำตัวดูแล้วคล้ายกับ “ซิ่นต๋า” ของหญิงชาวไทยวนในล้านนา มีการตกแต่งด้วยกรรมวิธีการทอที่ในเมืองน่านเรียกว่า “มัดก่าน” หรือที่ทั่วไปเรียกว่ามัดหมี่ บนลายเส้นในแนวขวางลำตัว ซิ่นป้องถือเป็นผ้าซิ่นที่มีโครงสร้างชนิดพิเศษและมีเอกลักษณ์ สามารถพบได้แต่เฉพาะในเมืองน่านเท่านั้น บนศรีษะไว้ผมยาวมุ่นมวยไว้ เรียกว่าเกล้าแบบ “วิดว้อง” ไว้กลางศีรษะ หญิงสาวบางคนมัดมวยด้วยสร้อยคำ หรือ สร้อยทอง และหญิงสาวบางคนก็เจาะหูใส่ “ลานหู” มีลักษณะเป็นแผ่นใบลาน แผ่นเงิน หรือทองคำ นำมาม้วนแล้วใส่เข้าไป และไม่สวมรองเท้า

ส่วนกลุ่มชายหนุ่มในภาพ มีทั้งชายชาวเมืองน่านและชายชาวพม่า ชายสองคนหน้าเป็นชาวเมืองน่าน ชายหนุ่มคนหน้าด้านสวมเสื้อคอตั้งแขนยาวดูคล้ายเสื้อราชปะแตน นุ่งโจงกระเบนที่ทำจากผ้าที่มีลวดลาย มัดเอวด้วยผ้าพื้นสีเรียบแบบที่นิยมกันในหมู่ชายชาวกรุงเทพนิยมในยุคนั้น ไว้ผมทรงมหาดไทย ลักษณะคือ ไว้ผมกลางศีรษะและด้านข้างโกนผมบริเวณโดยรอบ คล้ายกับการนำกะลามาครอบหัว แต่ไม่ได้แสกกลางแบบทางภาคกลางของไทย ซึ่งน่าจะได้รับอิทธิพลมาจากทางกรุงเทพ ส่วนชายคนหน้าด้านขวา สวมเสื้อคอตั้งแขนยาว ดูคล้ายเสื้อราชปะแตน แต่นุ่งผ้าผืนเดียวเรียกว่า “นุ่งผ้าต้อย” หรือ “เค็ดม่าม” โดยจะม้วนผ้าเป็นเกลียวสอดระหว่างขาเป็นการนุ่งแบบเดียวกับการถกเขมร หรือ โจงกระเบน เผยให้เห็นลายสักยันต์ตั้งแต่ท้องน้อยจนถึงหัวเข่า อันเป็นเอกลักษณ์อย่างหนึ่งของชายชาวไทยวนและไทลื้อในแถบนี้ เเละไว้ผมทรงมหาดไทย” ส่วนกลุ่มชายชาวพม่าบริเวณด้านหลังสวมเครื่องแต่งกายแบบชายชนชั้นสูงของพม่าในยุคจารีต คือ นำผ้ามาเคี่ยนไว้ที่หัว ซึ่งการเคี่ยนหัวในลักษณะนี้นิยมกันในราชสำนัก เรียกว่าแบบ “เพาะโลง” เเละสวมเสื้อลักษณะเป็นตัวยาวคลุมสะโพกลงมาถึงกลางต้นขา เรียกว่า “โต่หยี่น อิ๊งจี” ส่วนท่อนล่าง (ในภาพนี้เลือนไปเล็กน้อย) นุ่งผ้า “ลุนตยาอเชะ” ผืนยาวที่เรียกว่าผ้า “ตาวง์เฉ่ญ์ ปะโซ”

PUBLISHER:
หอภาพถ่ายล้านนา โดย มูลนิธิรองศาสตราจารย์ กันต์ พูนพิพัฒน์
OTHER CONTRIBUTORS:
หอภาพถ่ายล้านนา โดย มูลนิธิรองศาสตราจารย์ กันต์ พูนพิพัฒน์
DATE:
07/02/2558
RESOURCE TYPE:
จิตรกรรมฝาผนัง
FORMAT:
Image/jpeg
RESOURCE IDENTIFIER:
คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิหอภาพถ่ายล้านนา ในกำกับของกรรมการอำนวยการหอภาพถ่ายล้านนา
SOURCE:
จิตรกรรมฝาผนัง
LANGUAGE:
ไทย/อังกฤษ
RELATION:
COVERAGE:
วัดภูมินทร์ อำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน ภาคเหนือ ประเทศไทย
RIGHT MANAGEMENT:
หอภาพถ่ายล้านนา โดย มูลนิธิรองศาสตราจารย์ กันต์ พูนพิพัฒน์

Physical Data

COLLECTION NAME:
น่าน
IMAGE CODE:
000
SUBJECT AGE:
CATEGORY:
จิตรกรรมฝาผนัง
PROVENANCE:
ศาสตราจารย์กันต์ พูนพิพัฒน์
COVERAGE:
วัดภูมินทร์ อำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน ภาคเหนือ ประเทศไทย view map
ORIGINAL SIZE:
11.43×6.82 เมตร(ขนาดรวมทั้งฝาผนัง)
DIGITAL SIZE:
57,451×19,360 Pixels