จิตรกรรมบริเวณข้างประตูของมุขทิศตะวันตก

Category:

Description

Digital Data

TITLE:
น่าน
AUTHOR:
หอภาพถ่ายล้านนา โดย มูลนิธิรองศาสตราจารย์ กันต์ พูนพิพัฒน์
KEYWORDS:
DESCRIPTION:

ภาพจิตรกรรมบริเวณขนาดใหญ่ข้างประตู ในวัดภูมินทร์มีด้วยกัน 3 มุขคือ มุขทิศตะวันออก มุขทิศใต้ และมุขทิศตะวันตก โดยที่มุขทิศตะวันออกและมุขทิศตะวันตก มีเพียงมุขละ 1 ภาพ จิตรกรรมบริเวณข้างประตูของมุขทิศตะวันตกบริเวณนี้เป็นภาพจิตรกรรมขนาดใหญ่ ที่มีขนาดใหญเท่าคนจริง ซึ่งการวาดภาพบุคคลขนาดใหญ่ไว้ที่ข้างประตู ของวัดภูมินทร์นี้น่าจะเป็นลักษณะเฉพาะและถือเป็นเอกลักษณ์ ที่เราไม่สามารถพบรูปแบบของจิตรกรรมเช่นนี้ในวัดอื่นๆในล้านนา

ในบริเวณนี้เป็นภาพของชายหญิงที่แต่งกายแบบชาวพม่า ในบริเวณนี้มีชุดอักษรล้านนากำกับอยู่ด้านบน อ่านได้ความว่า “ปู่ม่านย่าม่าน” แปลได้ประมาณว่า “ชายหญิงชาวพม่า” การแต่งกายของหญิงชาวพม่าในภาพ สวมเสื้อคลุมตัวนอกเรียกว่า “ถ่ายง์มะเตง” มีลักษณะเป็นเสื้อแขนยาวผ่าหน้า ไม่มีกระดุม ติดแถบผ้าสีที่สาปเสื้อ เวลาสวมเหมือนเป็นเสื้อคลุม มีการปักที่ตัวเสื้อและที่ต้นแขน ด้านในที่เห็นเป็นผ้าสีแดงคือหัวของผ้าซิ่นที่มีชื่อเรียกว่าผ้าซิ่น “ลุนตยา-อเชะ ที่ต่อด้วยแถบผ้าสีแดงมีความกว้างคือ “หัวผ้าทะเมง” ที่เป็นผ้าต่อขึ้นมาสูงมากที่สามารถนุ่งแบบกระโจมอก เวลาสวมใส่จะนุ่งป้ายผ่าหน้า ใส่ตุ้มหูทองคำทรงกระบอกขนาดใหญ่ สวมแหวนและสร้อยข้อมือที่ทำจากทองคำ ไว้เล็บยาวปลายแหลม ทำผมมวยขนาดใหญ่ และไม่สวมรองเท้า

ส่วนการแต่งกายของชายหนุ่มชาวพม่าในภาพ ที่ยืนอยู่ในอาการป้องปากคุยกับหญิงสาว คือเปลือยอก ที่สามารถเห็นรอยสักสีแดงรูปคนหรือลิงในกรอบ ตามร่างกายด้านบน นุ่งผ้าผืนเดียวที่เรียกว่านุ่งแบบ“นุ่งผ้าต้อย”หรือ“เค็ดม่าม”โดยจะม้วนผ้าเป็นเกลียวสอดระหว่างขาเป็นการนุ่งแบบเดียวกับการถกเขมรหรือโจงกระเบน แต่ที่แตกต่างจากทั่วไปคือ นำผ้าพม่าที่เรียกว่า “ผ้าลุนตยา อเชะ” มาใช้นุ่งแทน ซึ่งการนุ่งผ้าแบบ “เค็ดม้าม” แบบนี้ในพม่าก็มีเช่นกันเรียกการนุ่งผ้าแบบนี้ว่า “คะดาวง์ไจ๊ก์” เผยให้เห็นลายสักยันต์ตั้งแต่ท้องน้อยจนถึงหัวเข่า อันเป็นเอกลักษณ์อย่างหนึ่งของชายชาวไทยวนและไทลื้อรวมถึงชาวพม่าในแถบนี้ด้วยเช่นกัน ว้มวยผมขนาดใหญ่กลางศีรษะ มีการเคี่ยนหัวในลักษณะนี้เป็นแบบราชสำนักของพม่า เรียกว่าแบบ “เพาะโลง” ไว้หนวดแบบชาวพม่าในยุคนั้น ไม่สวมตุ้มหู แต่มีรูหูขนาดใหญ่ ที่แสดงให้เห็นว่าเคยสวมใส่ตุ้มหูขนาดใหญ่มาก่อน

PUBLISHER:
หอภาพถ่ายล้านนา โดย มูลนิธิรองศาสตราจารย์ กันต์ พูนพิพัฒน์
OTHER CONTRIBUTORS:
หอภาพถ่ายล้านนา โดย มูลนิธิรองศาสตราจารย์ กันต์ พูนพิพัฒน์
DATE:
07/02/2558
RESOURCE TYPE:
จิตรกรรมฝาผนัง
FORMAT:
Image/jpeg
RESOURCE IDENTIFIER:
คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิหอภาพถ่ายล้านนา ในกำกับของกรรมการอำนวยการหอภาพถ่ายล้านนา
SOURCE:
จิตรกรรมฝาผนัง
LANGUAGE:
ไทย/อังกฤษ
RELATION:

คาร์ล บ็อคเดินทางมาล้านนาได้ 3 ปี ในปี พ.ศ. 2427 โฮลต์ ฮาลเลตต์ (Holt Samuel Hallett) ก็เดินทางขึ้นมาสำรวจดินแดนล้านนาด้วยเช่นกัน ได้พบเห็นการสักยันต์ของชายชาวล้านนา และทำการบันทึกไว้เช่นเดียวกันกับชาวตะวันตกคนอื่น ๆ ที่ขึ้นมาดินแดนล้านนาในก่อนหน้านี้ ว่ามีความนิยมสักและฝังเป๊กไว้ใต้ผิวหนังเพื่อความอยู่ยงคงกระพัน

“…ร่างกายพวกเขาสักหมึกตั้งแต่เอวลงไป บางครั้งก็ถึงข้อเท้า ธรรมเนียมนี้ไม่นิยมในหมู่ชาวสยาม ชาวลาวเมืองหลวงพระบาง และเมืองริมฝั่งแม่น้ำโขงเรื่อยไปจนถึงทางใต้…ชาวพม่านิยมสักหมึกเช่นเดียวกับชาวล้านนาและชาวไทใหญ่ ลายสักประกอบด้วยรูปนก สัตว์ใหญ่ สัตว์หิมพานต์ พญานาค และยักษ์ ผู้ชายซึ่งมีชื่อเสียงเรื่องความกล้าหาญนิยมสักลงคาถาเป็นตัวเลขหรืออักขระ และสักหมึกสีแดงรูปสี่เหลี่ยมที่อก หลัง และแขน…บางคนนิยมฝัง เครื่องรางหรือหินมีค่าใต้ผิวหนัง…เพื่อความอยู่ยงคงกระพัน ฟันแทง ยิงไม่เข้า…”

ภาพการสักของชายชาวพม่าในล้านนาเมื่อปี พ.ศ.2424 ส่วนท่อนบนสักยันต์เป็นลวดลายกระจายทั่วทั้งลำตัว ส่วนท่อนล่างสักหมึกเช่นเดียวกับชาวล้านนาและชาวไทใหญ่ ลายสักประกอบด้วยรูปนก สัตว์ใหญ่ สัตว์หิมพานต์ พญานาค และยักษ์

(ที่มา: สายเครือไท และท้องถิ่นสยามยุคพระพุทธเจ้าหลวง)

COVERAGE:
วัดภูมินทร์ อำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน ภาคเหนือ ประเทศไทย
RIGHT MANAGEMENT:
หอภาพถ่ายล้านนา โดย มูลนิธิรองศาสตราจารย์ กันต์ พูนพิพัฒน์

Physical Data

COLLECTION NAME:
น่าน
IMAGE CODE:
000
SUBJECT AGE:
CATEGORY:
จิตรกรรมฝาผนัง
PROVENANCE:
ศาสตราจารย์กันต์ พูนพิพัฒน์
COVERAGE:
วัดภูมินทร์ อำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน ภาคเหนือ ประเทศไทย view map
ORIGINAL SIZE:
11.43×6.82 เมตร(ขนาดรวมทั้งฝาผนัง)
DIGITAL SIZE:
76,603×25,593 Pixels