จิตรกรรมบริเวณข้างประตูของมุขทิศใต้ 1.2

Category:

Description

Digital Data

TITLE:
น่าน
AUTHOR:
หอภาพถ่ายล้านนา โดย มูลนิธิรองศาสตราจารย์ กันต์ พูนพิพัฒน์
KEYWORDS:
DESCRIPTION:
ภาพจิตรกรรมฝั่งซ้ายของประตูทางเข้าของมุขทิศใต้ เป็นภาพของหญิงสาวชาวเมืองน่าน นั่งสูบบุหรี่หรือที่ในล้านนาเรียกว่า “บุหรี่ขี้โย หรือ ปูลีขี้โย หรือ ยาขี้โย” นั่งอยู่บนเก้าอี้ เป็นหญิงที่มีฐานะดี เนื่องจากทั้งการแต่งกายรวมถึงเครื่องประดับ ซึ่งนั่งอยู่บนเก้าอี้ไม่มีพนัก เก้าอี้น่าจะเป็นการได้รับอิทธิพลจากทางกรุงเทพ เนื่องจากในยุคนั้นในดินแดนแถบนี้ ยังไม่นิยมทำเก้าอี้นั่ง การแต่งกายของหญิงในภาพ มีการแต่งกายรูปแบบคล้ายหญิงในเมืองน่านและในล้านนาในสมัยนั้นคือ เปลือยอก มีผ้าสีเข้มคล้องคอไปด้านหลัง นุ่งซิ่นที่ในเมืองน่านเรียกว่านุ่ง “ชิ่นตีนจก” คือตีนซิ่นที่ทอด้วยกรรมวิธีการจก “ตีนจก” นี้เป็นตีนซิ่นที่นิยมกันในหญิงชาวไทยวนในล้านนา ส่วนท้องซิ่นจะมีแนวขวางลำตัวที่ดูแล้วคล้ายกับซิ่นป้อง และจะมีการตกแต่งด้วยกรรมวิธีการทอแบบต่างๆ ให้เกิดลวดลายเพิ่มในแนวเส้นขวางลำตัว โดยท้องซิ่นมีการตกแต่งด้วยกรรมวิธีการทอที่ในเมืองน่านเรียกว่า “มัดก่าน” หรือที่ทั่วไปเรียกว่ามัดหมี่ ด้านล่างต่อด้วย “ตีนจก” ยังมีโครงสร้างเดียวกับตีนจกของหญิงชาวไทยวนในล้านนา แต่ตีนจกของเมืองน่านมีการใส่ลวดลายเฉพาะของตนลงไป ทำให้เกิดเป็นรูปแบบเฉพาะของซิ่นตีนจกของเมืองน่าน ที่สามารถพบได้แต่เฉพาะในเมืองน่านเท่านั้น ทำผมมุ่นมวยเรียกว่าเกล้าแบบ “วิดว้อง”ไว้กลางศีรษะ มัดมวยด้วยสร้อยคำหรือสร้อยทอง เจาะหูใส่ “ลานหู” มีลักษณะเป็นแผ่นใบลาน แผ่นเงิน หรือทองคำ นำมาม้วนแล้วใส่เข้าไป สวมกำไลทองคำ และไม่สวมรองเท้า
PUBLISHER:
หอภาพถ่ายล้านนา โดย มูลนิธิรองศาสตราจารย์ กันต์ พูนพิพัฒน์
OTHER CONTRIBUTORS:
หอภาพถ่ายล้านนา โดย มูลนิธิรองศาสตราจารย์ กันต์ พูนพิพัฒน์
DATE:
07/02/2558
RESOURCE TYPE:
จิตรกรรมฝาผนัง
FORMAT:
Image/jpeg
RESOURCE IDENTIFIER:
คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิหอภาพถ่ายล้านนา ในกำกับของกรรมการอำนวยการหอภาพถ่ายล้านนา
SOURCE:
จิตรกรรมฝาผนัง
LANGUAGE:
ไทย/อังกฤษ
RELATION:

ตำนานบุหรี่ขี้โย หรือ ปูลีขี้โย หรือ ยาขี้โย

การสูบบุหรี่ดูเป็นเรื่องปกติของคนล้านนายุคก่อน เพราะในสมัยก่อนไม่มีบุหรี่สำเร็จรูป เป็นซองขายแบบสมัยนี้  คนล้านนาทั้งหญิงและชายจะสูบบุหรี่ที่มวนด้วยใบตองกล้วย มวนหนึ่งขนาดเท่านิ้วมือ และยาวเกือบคืบ ชาวบ้านเรียกบุหรี่ชนิดนี้ว่า “ขี้โย” หรือ “บุหรี่ขี้โย” ที่นิยมสูบกันมากอาจเนื่องมาจากอากาศหนาวเย็น การสูบบุหรี่คงทำให้ร่างกายอบอุ่นขึ้น

ใบที่ใช้มวนคนสมัยก่อนจะใช้ใบตองแห้งรีดให้เรียบห่อกับยาสูบโรยด้วยขี้โยม้วนเป็นแท่งๆ แบบบุหรี่สมัยนี้แต่ขนาดใหญ่และยาวกว่า ทาใบตองให้ติดเป็นแท่งด้วยยางบะปิน (ยางมะตูม) ขนาดต้องเอายางมะตูมใส่กระปุกไว้ทาอย่างเป็นเรื่องเป็นราวทีเดียว บางครั้งก็เรียกว่าบุหรี่ขี้โย  ใบตองคนเหนือออกเสียงว่า ใบต๋อง บุหรี่ออกเสียงว่าบูรี

ส่วนขี้โยทำมาจากเปลือกมะขามบดหยาบ เพื่อความสะดวกมักจะใส่ถุงเก็บไว้ ปัจจุบันมีขายตามร้านขายของชำทั่วไปถุงละบาท (ร้านแม่ข้าพเจ้ามีขาย) ก็เลยถ่ายรูปมาให้ดูกันจะได้รู้ว่าหน้าตาเป็นอย่างไร ถ้าพ้นรุ่นเก่าไปแล้วคาดว่าเจ้าสิ่งนี้คงหายไปตามกาลเวลา เพราะคนรุ่นใหม่สูบบุหรี่สำเร็จรูปกันหมด แต่บุหรี่ปัจจุบันแพงจะหันมาสูบบุหรี่ขี้โยก็ได้ ในสมัยก่อนใช้เตารีดโบราณใส่ถ่านไฟแดงๆ เข้าไปข้างในรีดบนใบตองสดให้เรียบและแห้ง แล้วม้วนเพื่อเก็บไว้ใช้ได้นานๆ ปัจจุบันไม่ทราบทำกันอย่างไร แต่ว่าก็ยังมีขายอยู่ตามร้านขายของชำตามชนบทเชียงใหม่

ยาสูบนั้น บางคนที่ปลูกยาขายเตาบ่มก็จะเก็บใบยามาซอยเป็นฝอยๆด้วยเขียงซอยยา ซึ่งถ้าจะหาดูได้ในสมัยนี้คงจะพอมีอยู่แถวบ้านสบคำ หลังซอยเสร็จก็จะเอามาผึ่งแดดบนแตะยาให้แห้ง ม้วนเก็บใช้ตอกมัด เอาไว้สูบเองหรื่อไม่ก็ขาย แบ่งเป็นยาขื่น (ฉุน) ได้จากใบยาที่เก็บจากใบที่เก็บจากโคนต้น ยากลาง คือยาที่เก็บจากใบยากลางๆต้น และยาจาง คือยาที่เก็บจากใบยาส่วนปลายต้น แรกๆใช้ใบตองอ่อน ขยันหน่อยก็เก็บใบตองอ่อนมาใช้ความรัอนจากเตารีดโบราณ(ใช้ถ่าน) รีดให้แห้งมีกลิ่นหอม ฉีกเป็นแผ่นๆกะพอประมาณให้ใช้พันยาเส้นให้เป็นมวนๆได้ บ้างคนก็ใส่ขี้โยด้วย สมัยนั้นทั้งยาเส้นและขี้โยจะมีขายในตลาด เวลามีงานหรือแขกไปใครมาหาที่บ้าน อันดับแรกที่จะนำมาต้อนรับ คือ จานใส่เหมี้ยง บุหรี่ ขี้โยและหมาก

จากเพจ แป้หม่าเก่า Ancient Phrae # อนุรักษ์ สืบสาน ตำนาน ประวัติศาสตร์ ศิลปะ วัฒนธรรม วิถีชีวิต เมืองแพร่

https://web.facebook.com/Ancient.Phrae

COVERAGE:
วัดภูมินทร์ อำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน ภาคเหนือ ประเทศไทย
RIGHT MANAGEMENT:
หอภาพถ่ายล้านนา โดย มูลนิธิรองศาสตราจารย์ กันต์ พูนพิพัฒน์

Physical Data

COLLECTION NAME:
น่าน
IMAGE CODE:
000
SUBJECT AGE:
CATEGORY:
จิตรกรรมฝาผนัง
PROVENANCE:
ศาสตราจารย์กันต์ พูนพิพัฒน์
COVERAGE:
วัดภูมินทร์ อำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน ภาคเหนือ ประเทศไทย view map
ORIGINAL SIZE:
11.43×6.82 เมตร(ขนาดรวมทั้งฝาผนัง)
DIGITAL SIZE:
62,342×20,703 Pixels