จิตรกรรมทิศใต้ฝั่งตะวันออก และฝาผนังฝั่งตะวันออกของมุขทิศใต้ 1.13

Category:

Description

Digital Data

TITLE:
น่าน
AUTHOR:
หอภาพถ่ายล้านนา โดย มูลนิธิรองศาสตราจารย์ กันต์ พูนพิพัฒน์
KEYWORDS:
DESCRIPTION:

ภาพจิตรกรรมด้านล่างฝั่งขวาข้างหน้าต่าง ของฝาผนังฝั่งตะวันออกของมุขทิศใต้ ในบริเวณนี้มีอักษรล้านนากำกับอยู่ด้วยกันหลายชุด ชุดอักษณตรงกลางด้านบนใต้ปืนคาบศิลา อ่านได้ความว่า “หะ ยะ รู จำ สํ มิ หะ” ข้อความนี้น่าจะเป็นคาถา ที่ร่ายใส่ศัตรู ที่กำลังรบกันอยู่เพื่อให้พ่ายแพ้ ถัดลงมาอีกบรรทัด อ่านได้ความว่า “ล้างเมิงขว้าง(คว่าง)พ่ายเหยนี้แล” น่าจะแปลได้ว่า “รบให้ชนะแล้วจะทำลายเมืองเสียให้สิ้น” ฝั่งซ้ายมือเหนือทหารที่อยู่ในท่าทางท้ารบ อ่านได้ความว่า “บ่านั้นเอามึง” แปลได้ว่า “เข้าไปสู้กับเขาเลย” และล่างสุดใต้ปืนใหญ่อ่านได้ความว่า “ เกียนร้อยเหล้ม…ใส่เวียงจำปานคร…มาหนี้แลอี่สาวเหย” น่าจะแปลได้ประมาณว่า “พญาเกวียนร้อยเล่มยิงปืนใหญ่ใส่เวียงจำปานคร” 

        ในภาพเป็นเหล่าทหารและทหารปืนใหญ่ที่กำลังบุกและระดมยิงใส่กำแพงเมืองจำปานครทลายลงมา ทหารคนด้านบนน่าจะเป็นชาวไทยวนและไทลื้อที่สามารถพบได้ในล้านนา เะราะการแต่งกายที่สามารถบ่งชี้ได้เป็นอย่างดีคือ เปลือยอก สะพายปืนคาบศิลา นุ่งผ้าที่มีลวดลายผืนเดียวที่เรียกว่านุ่งแบบ“นุ่งผ้าต้อย”หรือ“เค็ดม่าม”โดยจะม้วนผ้าเป็นเกลียวสอดระหว่างขาเป็นการนุ่งแบบเดียวกับการถกเขมรหรือโจงกระเบน มัดเอวด้วยผ้าพื้นสีแดง เผยให้เห็นลายสักยันต์ตั้งแต่ท้องน้อยจนถึงหัวเข่า อันเป็นเอกลักษณ์อย่างหนึ่งของชายชาวไทยวนและไทลื้อในแถบนี้ ไว้ทรงผมที่เรียกทรงผมนี้ว่า “ทรงมหาดไทย” ลักษณะคือ ไว้ผมกลางศีรษะและด้านข้างโกนผมบริเวณโดยรอบ คล้ายกับการนำกะลามาครอบหัว แต่ไม่ได้แสกกลางแบบทางภาคกลางของไทย ที่น่าจะได้รับอิทธิพลมาจากทางกรุงเทพ

    ส่วนพลทหารปืนใหญ่มีการแต่งกายคล้ายชาวไทยวนและไทลื้อในล้านนาในยุคนั้น ที่ได้รับอิทธิพลการแต่งกายรูปแบบจากทางกรุงเทพคือ ใส่เสื้อแขนยาวคอกลมทำจากผ้าที่เป็นผ้าพื้นเรียบ นุ่งผ้าที่มีลวดลายผืนเดียวที่เรียกว่านุ่งแบบ“นุ่งผ้าต้อย”หรือ“เค็ดม่าม”โดยจะม้วนผ้าเป็นเกลียวสอดระหว่างขาเป็นการนุ่งแบบเดียวกับการถกเขมรหรือโจงกระเบน มัดเอวด้วยผ้าพื้นสีแดง เผยให้เห็นลายสักยันต์ตั้งแต่ท้องน้อยจนถึงหัวเข่า อันเป็นเอกลักษณ์อย่างหนึ่งของชายชาวไทยวนและไทลื้อในแถบนี้ ไว้ทรงผมที่เรียกทรงผมนี้ว่า “ทรงมหาดไทย” ลักษณะคือ ไว้ผมกลางศีรษะและด้านข้างโกนผมบริเวณโดยรอบ คล้ายกับการนำกะลามาครอบหัว แต่ไม่ได้แสกกลางแบบทางภาคกลางของไทย ที่น่าจะได้รับอิทธิพลมาจากทางกรุงเทพ

PUBLISHER:
หอภาพถ่ายล้านนา โดย มูลนิธิรองศาสตราจารย์ กันต์ พูนพิพัฒน์
OTHER CONTRIBUTORS:
หอภาพถ่ายล้านนา โดย มูลนิธิรองศาสตราจารย์ กันต์ พูนพิพัฒน์
DATE:
07/02/2558
RESOURCE TYPE:
จิตรกรรมฝาผนัง
FORMAT:
Image/jpeg
RESOURCE IDENTIFIER:
คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิหอภาพถ่ายล้านนา ในกำกับของกรรมการอำนวยการหอภาพถ่ายล้านนา
SOURCE:
จิตรกรรมฝาผนัง
LANGUAGE:
ไทย/อังกฤษ
RELATION:
COVERAGE:
วัดภูมินทร์ อำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน ภาคเหนือ ประเทศไทย
RIGHT MANAGEMENT:
หอภาพถ่ายล้านนา โดย มูลนิธิรองศาสตราจารย์ กันต์ พูนพิพัฒน์

Physical Data

COLLECTION NAME:
น่าน
IMAGE CODE:
000
SUBJECT AGE:
CATEGORY:
จิตรกรรมฝาผนัง
PROVENANCE:
ศาสตราจารย์กันต์ พูนพิพัฒน์
COVERAGE:
วัดภูมินทร์ อำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน ภาคเหนือ ประเทศไทย view map
ORIGINAL SIZE:
11.43×6.82 เมตร(ขนาดรวมทั้งฝาผนัง)
DIGITAL SIZE:
62,342×20,703 Pixels