ภาพเขียนจิตรกรรมบนผืนผ้า (พระบฏ) วัดพระยืน – กัณฑ์ที่ 13 นครกัณฑ์

Description

Digital Data

TITLE:
ลำพูน
AUTHOR:
หอภาพถ่ายล้านนา โดย มูลนิธิรองศาสตราจารย์ กันต์ พูนพิพัฒน์
KEYWORDS:
, , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , ,
DESCRIPTION:

ภาพพระบฏชุดที่ แผ่นที่ อักษรล้านนาประกอบในภาพดังต่อไปนี้

อักษรในปราสาทช่องซ้ายมือ นางมัทรี นางก้อมใช้

อักษรขอบล่างฐานนั่งกลางภาพ ภยาเวสสันตรมาเสวยเมิง

อักษรในปราสาทช่องขวามือ เจ้าชารี นางกันหา

ภาพวาดแผ่นนี้เป็นกัณฑ์ที่ 13 นครกัณฑ์   เป็นกัณฑ์ที่หกกษัตริย์นำพยุหโยธาเสด็จนิวัติพระนครพระเวสสันดรขึ้นครองราชย์แทนพระราชบิดา พระเจ้ากรุงสัญชัยตรัสสารภาพผิด  พระเวสสันดรจึงทรงลาผนวชพร้อมทั้งพระนางมัทรีและเสด็จกลับสู่สิพีนคร เมื่อเสด็จถึงจึงรับสั่งให้ชาวเมืองปล่อยสัตว์ที่กักขัง ครั้นยามราตรีพระเวสสันดรทรงปริวิตกว่า รุ่งเช้าประชาชนจะแตกตื่นมารับบริจาคทาน พระองค์จะประทานสิ่งใดแก่ประชาชนท้าวโกสีห์ได้ทราบจึงบันดาลให้มีฝนแก้ว 7 ประการ ตกลงมาในนครสิพีสูงถึงหน้าแข้ง  พระเวสสันดรจึงทรงประกาศให้ประชาชนขนเอาตามปรารถนา ที่เหลือให้ขนเข้าคลังหลวง  ในการต่อมาพระเวสสันดรเถลิงราชสมบัติปกครองนครสิพีโดยทศพิธราชธรรมบ้านเมืองร่มเย็นเป็นสุขตลอดพระชนมายุ

ในภาพเป็นเหตุการณ์ที่พระเวสสันดรกลับมายังนครสิพีและขึ้นครองราชย์

ภาพนี้เป็นเหตุการณ์ที่พระเวสสันดรขึ้นครองราชย์เมืองสิพี โดยมีพระนางมัทรี กัณหาและชาลีประทับร่วมกันภายในปราสาทที่เป็นรูปแบบของสถาปัตยกรรมแบบผสมผสานระหว่าง ไทยภาคกลาง ล้านนาและพม่า เข้าไว้ด้วยกัน การแต่งกายของทั้งสี่กษัตริย์ ทรงเครื่องทรงที่เป็นการผสมผสานระหว่างไทยภาคกลางและพม่า กล่าวคืิอทรงเครื่องด้านบนคือเสื้อและเครื่องบนพระเศียรเป็นแบบทางกรุงเทพแต่ทรงสวมโสร่งผ้าพม่าที่เรียกว่า “ลุนตยา-อชิค” มีทหารแบบทางกรุงเทพยืนยามอยู่ด้านหน้าของปราสาท

การแต่งกายของเหล่านางสนมกำนัลเป็นรูปแบบของหญิงชาวไทยวนคือ คือมีผ้าแถบมาห่มแบบสไบเรียกว่าการห่มแบ “สะหว้ายแล่ง” นุ่งผ้า “ซิ่นต๋า” เป็นผ้าซิ่นที่มีลวดลายเส้นแนวขวางลำตัว มีการทำผมมุ่นมวยไว้กลางศีรษะ ที่ล้วนเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของหญิงชาวไทยวนในช่วงนั้นของบริเวณนี้

ส่วนข้าราชบริพารชายมีการแต่งกายที่ได้รับอิทธิพลทางกรุงเทพเช่นกัน ที่มีรูปแบบคือ สวมเสื้อราชปะแตนแขนยาวไว้ด้านนอกด้านในมีเสื้อรองอีกชั้นหนึ่งนุ่งโจงกระเบนและไว้ผมสั้น

PUBLISHER:
หอภาพถ่ายล้านนา โดย มูลนิธิรองศาสตราจารย์ กันต์ พูนพิพัฒน์
OTHER CONTRIBUTORS:
หอภาพถ่ายล้านนา โดย มูลนิธิรองศาสตราจารย์ กันต์ พูนพิพัฒน์
DATE:
08/04/2562
RESOURCE TYPE:
จิตรกรรมฝาผนัง
FORMAT:
Image/jpeg
RESOURCE IDENTIFIER:
คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิหอภาพถ่ายล้านนา ในกำกับของกรรมการอำนวยการหอภาพถ่ายล้านนา
SOURCE:
จิตรกรรมฝาผนัง
LANGUAGE:
ไทย/อังกฤษ
RELATION:
พระบฏ คือ ผืนผ้าที่มีรูปพระพุทธเจ้าเป็นต้นและแขวนไว้เพื่อบูชา คำว่า บฏ มาจากคำในภาษาบาลีว่า ปฏ (อ่านว่า ปะ-ตะ) แปลว่า ผ้าทอ หรือ ผืนผ้า ส่วนมากเป็นผ้าแถบยาว มีวาดภาพพระพุทธเจ้า นิยมแขวนไว้ในสถานที่จัดพิธีกรรมในพุทธศาสนา ใช้แทนที่พระพุทธรูป เพื่อเป็นที่เคารพบูชา ในล้านนาเรียกกันว่า “ตุงค่าว” หรือ ตุงค่าวธรรม ใช้ประกอบพิธีกรรมทางศาสนา เช่น เทศน์มหาชาติ เเละตั้งธรรมหลวง เป็นต้น
COVERAGE:
RIGHT MANAGEMENT:
หอภาพถ่ายล้านนา โดย มูลนิธิรองศาสตราจารย์ กันต์ พูนพิพัฒน์

Physical Data

COLLECTION NAME:
ลำพูน
IMAGE CODE:
02_28_20190617_MR28-01_24
SUBJECT AGE:
ประมาณกลางพุทธศตวรรษที่ 25
CATEGORY:
ภาพจิตรกรรมบนผืนผ้า (พระบฏ)
PROVENANCE:
ศาสตราจารย์ กันต์ พูนพิพัฒน์และ แปลภาษาล้านนา โดย ดร. อภิรดี เตชะศิริวรรณ
COVERAGE:
ORIGINAL SIZE:
147 x 86 cm.
DIGITAL SIZE:
2525 x 4000 Pixels