ภาพเขียนจิตรกรรมบนผืนผ้า (พระบฏ) วัดพระยืน – กัณฑ์ที่ 10 กัณฑ์สักกบรรพ

Description

Digital Data

TITLE:
ลำพูน
AUTHOR:
หอภาพถ่ายล้านนา โดย มูลนิธิรองศาสตราจารย์ กันต์ พูนพิพัฒน์
KEYWORDS:
, , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , ,
DESCRIPTION:

ภาพพระบฏชุดที่ แผ่นที่ อักษรล้านนาประกอบในภาพดังต่อไปนี้ 

อักษรด้านบนกลางภาพ ข้างเทวดา พระยาอินทา

อักษรตรงหน้าจั่ว สักกบัน

อักษรกลางเส้นสินเทาสีน้ำเงิน พระยาอินส่งนางมัทรี

อักษรเหนือรูปคนด้านล่างซ้าย (จากซ้ายไปขวา) นางมัทรี   อินทาสักกพราม

ภาพวาดแผ่นนี้เป็นกัณฑ์ที่ 10 กัณฑ์สักกบรรพ   เป็นกัณฑ์ที่พระอินทร์เจ้าจำแลงกายเป็นพราหมณ์มาขอพระนางมัทรี  เมื่อได้พบท้าวสักกะเทวราชเสด็จแปลงเป็นพราหมณ์เพื่อทูลขอนางมัทรีพระเวสสันดรจึงพระราชทานให้พระนางมัทรีก็ยินดีอนุโมทนาเพื่อร่วมทานบารมีให้สำเร็จพระสัมโพธิญาณเป็นเหตุให้เกิดแผ่นดินไหวสะท้าน  ท้าวสักกะเทวราชในร่างพราหมณ์จึงฝากนางมัทรีไว้ยังไม่รับไป  ตรัสบอกความจริงและถวายคืนพร้อมถวายพระพร 8 ประการ ในภาพด้านล่างเป็นเหตุการณ์ที่พระเวสสันดรหลั่งน้ำทักษิโณทกยกพระนางมัทรีให้กับพระอินทร์ที่แปลงร่างมาเป็นพราหมณ์ กลางภาพเป็นเหตุการณ์ที่พระอินทร์ทรงกลายร่าง คืนและถวายคืนพระนางมัทรีให้แก่พระเวสสันดร การแต่งกายของพราหมณ์หรือพระอินทร์แปลงร่างนั้น เป็นการแต่งกายรูปแบบของทางกรุงเทพคือใส่เสื้อคล้ายสูทไว้ผมสั้นมีหนวดที่เป็นอิทธิพลจากชาติตะวันตกสวมโจงกระเบน ส่วนเครื่องทรงพระอินทร์เป็นรูปแบบผสมผสานระหว่างไทยและพม่าคือ ช่วงบนใส่เสื้อมีชฎาแบบไทยภาคกลาง สวมโสร่งผ้าพม่าที่เรียกว่า “ลุนตยา-อชิค” ส่วนเรือนของพระเวสสันดรเป็นงานสถาปัตยกรรมของเรือนทางล้านนาคือเป็นเรือนยกพื้นหลังคาเป็นแบบปีกนกสองชั้น

PUBLISHER:
หอภาพถ่ายล้านนา โดย มูลนิธิรองศาสตราจารย์ กันต์ พูนพิพัฒน์
OTHER CONTRIBUTORS:
หอภาพถ่ายล้านนา โดย มูลนิธิรองศาสตราจารย์ กันต์ พูนพิพัฒน์
DATE:
08/04/2562
RESOURCE TYPE:
จิตรกรรมฝาผนัง
FORMAT:
Image/jpeg
RESOURCE IDENTIFIER:
คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิหอภาพถ่ายล้านนา ในกำกับของกรรมการอำนวยการหอภาพถ่ายล้านนา
SOURCE:
จิตรกรรมฝาผนัง
LANGUAGE:
ไทย/อังกฤษ
RELATION:
พระบฏ คือ ผืนผ้าที่มีรูปพระพุทธเจ้าเป็นต้นและแขวนไว้เพื่อบูชา คำว่า บฏ มาจากคำในภาษาบาลีว่า ปฏ (อ่านว่า ปะ-ตะ) แปลว่า ผ้าทอ หรือ ผืนผ้า ส่วนมากเป็นผ้าแถบยาว มีวาดภาพพระพุทธเจ้า นิยมแขวนไว้ในสถานที่จัดพิธีกรรมในพุทธศาสนา ใช้แทนที่พระพุทธรูป เพื่อเป็นที่เคารพบูชา ในล้านนาเรียกกันว่า “ตุงค่าว” หรือ ตุงค่าวธรรม ใช้ประกอบพิธีกรรมทางศาสนา เช่น เทศน์มหาชาติ เเละตั้งธรรมหลวง เป็นต้น
COVERAGE:
RIGHT MANAGEMENT:
หอภาพถ่ายล้านนา โดย มูลนิธิรองศาสตราจารย์ กันต์ พูนพิพัฒน์

Physical Data

COLLECTION NAME:
ลำพูน
IMAGE CODE:
02_28_20190617_MR28-01_18
SUBJECT AGE:
ประมาณกลางพุทธศตวรรษที่ 25
CATEGORY:
ภาพจิตรกรรมบนผืนผ้า (พระบฏ)
PROVENANCE:
ศาสตราจารย์ กันต์ พูนพิพัฒน์และ แปลภาษาล้านนา โดย ดร. อภิรดี เตชะศิริวรรณ
COVERAGE:
ORIGINAL SIZE:
147 x 86 cm.
DIGITAL SIZE:
2525 x 4000 Pixels