Description
Digital Data
ภาพจิตรกรรมฝาผนังฝั่งทิศเหนือของวัดป่าแดด มึภาพจิตรกรรมฝาผนังระหว่างเสาทั้งหมด 4 ห้องภาพและภาพเล็กที่หัวและท้าย 2 ห้อง ภาพเขียนจิตรกรรมฝาผนังโดยช่างไทใหญ่ในช่วงราวพุทธศตวรรษที่ 25 ที่นิยมเขียนไตรภูมิ พุทธประวัติ และชาดกพื้นบ้านภาพจิตรกรรมฝั่งทิศเหนือมีทั้งหมด 4 ห้องภาพ โดยเริ่มที่ฝาที่ 1 นับจากเดินเข้าเป็นห้องภาพที่ 1.เป็นเรื่องราวของพระเวสสันดรมีทั้งหมด 3 กัณฑ์ คือ กัณฑ์ที่ 2 กัณฑ์หิมพานต์ กัณฑ์ที่ 3 ทานกัณฑ์ และกัณฑ์ที่ 4 กัณฑ์วนประเวศน์ โดยที่ไม่ได้เขียนภาพของกัณฑ์ที่ 1 คือกัณฑ์ทศพร ห้องภาพที่ 2. ฝั่งทิศเหนือยังคงเป็นจิตรกรรมเรื่องพระเวสสันดรเป็นการเขียนภาพจิตรกรรมต่อจากห้องที่ 1 เป็นกัณฑ์ต่างๆคือ กัณฑ์ที่ 5 กัณฑ์ชูชก กัณฑ์ที่ 8 กัณฑ์กุมาร กัณฑ์ที่ 9 กัณฑ์มัทรี กัณฑ์ที่ 11 กัณฑ์มหาราช กัณฑ์ที่ 12 กัณฑ์ฉกษัตริย์ และกัณฑ์ที่ 13 นครกัณฑ์ ที่ไม่สามารถหาพบได้ในจิตรกรรมห้องนี้ได้คือกัณฑ์ที่ 6 กัณฑ์จุลพน กัณฑ์ที่ 7 กัณฑ์มหาพล และกัณฑ์ที่ 10 กัณฑ์สักรบรรพ อาจจะไม่ได้เขียนหรือจิตรกรรมอาจะลบเลือนไปก็อาจจะเป็นไปได้ ห้องภาพที่ 3 เป็นเรื่องของ ภาพพุทธประวัติเรื่องราวเริ่มจากขวาไปซ้าย มุมขวาล่างเป็นตอนพระพุทธเจ้าประสูติ ด้านกลางภาพเป็นตอนที่พระเจ้าสุโทธนะทรงแรกนาขวัญ ด้านล่างซ้ายสุดเจ้าชายสิธัตถะประทับปราสาทสามฤดู ทรงประลองศร เพื่อหาเนื้อคู่ตามพุทธประวัติ และห้องภาพที่ 4. เป็นเรื่องชาดกคือ วิธูรบัณฑิตชาดก ส่วนภาพจิตรกรรมขนาดเล็กอีก 2 ห้องภาพเขียนเป็นภาพพระอุปคุตทั้งสองห้องภาพ
ในภาพจิตรกรรมฝาผนังฝั่งนี้นอกจากที่จะวาดเรื่องราวเกี่ยวกับพุทธศาสนาและชาดกต่างๆแล้ว ยังได้วาดเรื่องราวเกี่ยวกับสังคม ศิลปวัฒนธรรมและประเพณี ทั้งนี้รวมถึงงานด้านงานสถาปัตยกรรมทั้งที่เป็นของวัดและอาคารที่อยู่อาศัย รวมทั้งเครื่องใช้ต่างๆในชีวิตประจำวันเขียนลงไปด้วยเช่นเครื่องมือเครื่องใช้ในเกษตรกรรมและเครื่องใช้อื่นๆเช่นเครื่องเขิน รวมถึงเครื่องนุ่งห่ม การแต่งกายของชายหญิง ทำให้เราได้เห็นและสามารถศึกษาประวัติศาสตร์ในบริเวณนั้นๆในอดีตได้เป็นอย่างดี
Physical Data