ภาพถ่ายชุดเมืองเชียงตุง

Description

Digital Data

TITLE:
เชียงตุง
AUTHOR:
หอภาพถ่ายล้านนา
KEYWORDS:
DESCRIPTION:
ภาพถ่ายหอคำหลวงเมืองเชียงตุง หอคำเชียงตุงนั้นแต่เดิมเป็นศิลปกรรมแบบไทใหญ่ แต่ทว่าในเวลาต่อมารัชกาลของเจ้าฟ้ารัตนะก้อนแก้วอินแถลง ทรงสร้างหอคำหลังใหม่ขึ้นบังหอคำหลังเดิมไว้ แต่ทั้งสองหลังมีทางเชื่อมเดิมไปมาได้
หอหลวงเชียงตุงถูกสร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2448 หลังจากที่เจ้าอินแถลงกลับจากการประชุมร่วมกับขุนนางอังกฤษที่ประเทศอินเดีย หอหลวงเป็นอาคารคอนกรีตใหญ่โตและสง่างามแบบอินเดียผสมยุโรปและมีหลังคาแบบไทยเขินหอคำหลังใหม่นี้สร้างบนพื้นที่คุ้มเจ้าหลวงเดิมซึ่งมีอาณาบริเวณกว้างกว่า 10 ไร่ เมื่อสร้างแล้วเสร็จ หอคำหลังนี้จึงได้กลายเป็นตึกก่ออิฐถือปูนที่มีขนาดใหญ่มากที่สุดในเชียงตุง มีห้องขนาดใหญ่ถึง 9 ห้อง หอคำเชียงตุงนี้แบ่งออกเป็น 3 ปีก ปีกซ้ายจะเป็นที่ประทับของเจ้าฟ้าหลวง ปีกกลางจะเป็นท้องพระโรง และห้องเบื้องหลังปีกกลางนั้นจะเป็นท้องพระคลัง ส่วนด้านบนสุดนั้นจะเป็นหอพระ
PUBLISHER:
หอภาพถ่ายล้านนา
OTHER CONTRIBUTORS:
หอภาพถ่ายล้านนา โดย มูลนิธิ รองศาสตราจารย์กันต์ พูนพิพัฒน์
DATE:
07/11/2562
RESOURCE TYPE:
ภาพถ่ายโบราณ
FORMAT:
Image/jpeg
RESOURCE IDENTIFIER:
คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิหอภาพถ่ายล้านนา ในกำกับของกรรมการอำนวยการหอภาพถ่ายล้านนา
SOURCE:
ภาพถ่ายโบราณ
LANGUAGE:
ไทย/อังกฤษ
RELATION:
“หอคำ” เป็นคำที่ใช้เรียกที่อยู่อาศัย ซึ่งจะสงวนคำนี้ไว้เฉพาะเจ้าของผู้ทรงบรรดาศักดิ์เป็นกษัตริย์หรือเจ้าผู้ครองรัฐเท่านั้น จะสังเกตุได้ว่าในเอกสารโบราณของล้านนาฉบับต่างๆแล้ว หากเอ่ยชื่อว่า “ขุนหอคำ” หรือ “เจ้าหอคำ” จะมีความหมายถึงกษัตริย์เพียงนัยเดียว โดยหากจะเปรียบเทียบคำว่าหอคำให้ตรงกับภาษาไทยกลางแล้ว จะมีความหมายตรงกับคำว่าพระบรมมหาราชวังนั่นเอง ในอาณาบริเวณล้านนา หอคำนั้นเปรียบเสมือนอนุสาวรีย์ที่แสดงออกถึง ความยิ่งใหญ่ อำนาจ แห่งเจ้าผู้ครองรัฐ เพราะเนื่องจากหอคำมิได้เป็นเพียงแต่ที่ประทับเท่านั้น หากยังเป็นที่ออกว่าราชการ ต้อนรับแขกเมืองแขกบ้านที่สำคัญอีกด้วย
ในอดีตล้านนา ตั้งแต่เชียงใหม่ไปถึงสิบสองปันนา เจ้าผู้ครองรัฐแต่ละรัฐต่างมีหอคำประจำเมือง
COVERAGE:
บ้านเจ้าเเก้วเมือง (น้อย) ณ เชียงตุง อ.เเม่สาย จังหวัดเชียงราย
RIGHT MANAGEMENT:
หอภาพถ่ายล้านนา

Physical Data

COLLECTION NAME:
เชียงตุง
IMAGE CODE:
DC077910102020_532_CT
SUBJECT AGE:
ประมาณปลายคริสต์ศตวรรษที่ 20
CATEGORY:
ภาพถ่าย
PROVENANCE:
ศาสตราจารย์ กันต์ พูนพิพัฒน์
COVERAGE:
ORIGINAL SIZE:
9 x 13 cm
DIGITAL SIZE:
2998 x 4642 Pixels