วัดเวียงต้าทิศเหนือ

Description

Digital Data

TITLE:
แพร่
AUTHOR:
หอภาพถ่ายล้านนา
KEYWORDS:
DESCRIPTION:

ภาพเขียนจิตรกรรมฝาผนังทิศเหนือ เขียนเล่าเรื่องราวที่เกิดบริเวณปราสาทของพระยาพาราณสี เป็นตอนกำเนิดนางพิมพา ในชาดกกล่าวถึงกำเนิดนางพิมพาไว้ว่า “ครั้นหนึ่งเทวดานำเอาต้นงิ้วคำ (ต้นนุ่นทองคำ) จากในป่ามาไว้ใกล้ปราสาทพระยาพาราณสี  ครั้นนั้นก่อกำเนิดนางเทวีผู้หนึ่งจากผลงิ้วคำ สร้างความประหลาดใจเเก่พระยาพาราณสีเป็นอย่างมาก เมื่อเห็นดังนนั้นจึงรับเอานางเทวีนั้นไว้ และตั้งชื่อให้ว่า “พิมพา” ในภาพบริเวณด้านหน้าปราสาทเขียนภาพพระยาพาราณสีและมเหสี กำลังนั่งทอดพระเนตรนางพิมพาที่เกิดออกมาจากผลงิ้วคำ (ผลงิ้วทองคำ) บริเวณนี้ (เหนือปราสาท) มีชุดอักษรล้านนาเขียนกำกับอยู่ อ่านได้ความว่า “อันนี้เป๋นเมืองปาราณสีแล” แปลได้ว่า “อันนี้เป็นเมืองพาราณสีแล” และบริเวณด้านหน้าปราสาทมีชุดอักษรล้านนาอีกชุด แต่ค่อนข้างลบเลือนไปมาก พออ่านได้ความว่า “นางติ๊บเจ้าออกมาแล้ว ผ่อเตวีเหย” แปลได้ว่า “นางผู้วิเศษออกมาแล้ว ดูเทวี” และในปราสาทมีพระธิดาทั้งหกประทับอยู่คือ นางปิมมะลา นางลิกา นางมาลา นางนันตา นางสุวิมาลา และสุจิมา ส่วนนางเทพกัญญา เป็นธิดาคนสุดท้าย ไม่ได้อยู่ในภาพจิตรกรรม บริเวณนี้มีชุดอักษรล้านนาเขียนกำกับอยู่ อ่านได้ความว่า “6 นางนี้เป๋นปี็นางเต๊บป๊ะกั๋ญญาแล” แปลได้ว่า “นาง 6 คนนี้เป็นพี่สาวของนางเทพกัญญา” ส่วนรูปแบบทางสถาปัตยกรรมของปราสาทพระยาพาราณสี เป็นรูปแบบสถาปัตยกรรมแบบล้านนาผสมพม่า มีลักษณะคล้ายกับวัดในยุคนั้น คือ หลังคามีลักษณะปีกนกลดสองชั้น ประดับด้วยช่อฟ้าและปั้นลมเป็นรูปตัวนาคและตัวเหงา ส่วนหอคู่ตรงกลางปราสาททั้งสองหอเป็นสถาปัตยกรรมแบบพม่า มีลักษณะเป็นอาคารยอดสูงเป็นชั้นลด 3 ชั้นขึ้นไปหายอดอาคาร ตามมุมหลังคาในแต่ละขั้นประดับตกแต่งด้วยไม้แกะสลัก 

พระยาพาราณสีทรงเครื่องแบบกษัตริย์ สวมกระบังหน้ามีกรรเจียก คือเครื่องประดับหูมีรูปเป็นกระหนก ใช้ประกอบกับพระมหามงกุฎ พระชฎา หรือรัดเกล้า และสวมกรองศอทับบนเสื้อแขนยาว มีทับทรวงและสายสังวาลสะพายแล่ง สวมพาหุรัดที่ต้นแขน นุ่งสนับเพลา คือกางเกงขายาวประมาณครึ่งแข้งมีผ้าห้อยหน้าหรือชายไหวระหว่างชายแครง มีแถบผ้าปลายงอนหุ้มปลายขากางเกงทั้ง 2 ข้าง นุ่งโจงทับ ปัจจุบันยังหมายถึงกางเกงด้วย ราชาศัพท์ใช้ว่า พระสนับเพลา ส่วนมเหสีแต่งกายแบบสาวชาวไทยวนในล้านนา คือ นำผ้าแถบสีเรียบมาห่มเฉียงแบบสไบ หรือคล้องทิ้งชายไปด้านหลังเรียกว่า “สะหว้ายแหล้ง” หรือ “เบี่ยงบ้าย” นุ่งซิ่นตีนจกคือซิ่นต๋าที่ต่อด้วยตีนจก ซึ่งเป็นที่นิยมอย่างมากในหญิงไทยวนของล้านนา ไว้ผมมุ่นมวยเรียกว่าเกล้าแบบ “วิดว้อง”ไว้กลางศีรษะมัดมวยด้วยสร้อยคำหรือสร้อยทอง เจาะหูใส่ “ลานหู” มีลักษณะเป็นแผ่นใบลาน แผ่นเงิน หรือทองคำ นำมาม้วนแล้วใส่เข้าไป สวมกำไลทองคำและไม่สวมรองเท้า ส่วนพระธิดาทั้งหกแต่งกายแบบสาวชาวไทยวนในล้านนา คือ นำผ้าแถบสีเรียบมาห่มเฉียงแบบสไบ หรือคล้องทิ้งชายไปด้านหลังเรียกว่า “สะหว้ายแหล้ง” หรือ “เบี่ยงบ้าย” ไว้ผมมุ่นมวยเรียกว่าเกล้าแบบ “วิดว้อง”ไว้กลางศีรษะมัดมวยด้วยสร้อยคำ หรือสร้อยทอง เจาะหูใส่ “ลานหู” มีลักษณะเป็นแผ่นใบลาน แผ่นเงิน หรือทองคำ นำมาม้วนแล้วใส่เข้าไป 
นอกจากนี้ยังพบคำเขียนด้วยดินสอเป็นภาษาล้านนา ซึ่งน่าจะเป็นชุดข้อความที่เขียนขึ้นเพิ่มภายหลัง เพื่อเป็นการเตือนมิให้คนมาจับ ลูบ หรือขีดเขียนบนภาพเขียนบนฝาผนัง บริเวณด้านบนเหนือกำแพง อ่านได้ความว่า “ใผมาผ่อจะไปลูบเนอะ กันลูบหื้ออายุสั้นปันต๋าย” แปลได้ว่า “ใครมาดูอย่าลูบนะหากลูบขอให้อายุสั้น ตายก่อนวัยอันควร”

PUBLISHER:
หอภาพถ่ายล้านนา โดย มูลนิธิ รองศาสตราจารย์กันต์ พูนพิพัฒน์
OTHER CONTRIBUTORS:
หอภาพถ่ายล้านนา โดย มูลนิธิ รองศาสตราจารย์กันต์ พูนพิพัฒน์
DATE:
15/02/2021
RESOURCE TYPE:
ภาพจิตรกรรมฝาผนัง
FORMAT:
Image/jpeg
RESOURCE IDENTIFIER:
คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิหอภาพถ่ายล้านนา มูลนิธิ รองศาสตราจารย์ กันต์ พูนพิพัฒน์
SOURCE:
ภาพจิตรกรรมฝาผนัง
LANGUAGE:
ไทย/อังกฤษ
RELATION:
COVERAGE:
วัดเวียงต้า อำเภอลอง จังหวัดแพร่ (มูลนิธิแม่ฟ้าหลวง ในพระบรมราชูปถัมภ์)
RIGHT MANAGEMENT:
หอภาพถ่ายล้านนา โดย มูลนิธิ รองศาสตราจารย์กันต์ พูนพิพัฒน์

Physical Data

COLLECTION NAME:
แพร่
IMAGE CODE:
02_27_20210215_MR27-01_01
SUBJECT AGE:
ประมาณปี พ.ศ. 2380 – 2410
CATEGORY:
ภาพจิตรกรรมฝาผนัง
PROVENANCE:
หอภาพถ่ายล้านนา, มูลนิธิแม่ฟ้าหลวง ในพระบรมราชูปถัมภ์,แปลอักษรล้านนา โดยคุณภูเดช แสนสา
COVERAGE:
วัดเวียงต้า อำเภอลอง จังหวัดแพร่ (มูลนิธิแม่ฟ้าหลวง ในพระบรมราชูปถัมภ์) View map
ORIGINAL SIZE:
9.24 x 2.04 เมตร
DIGITAL SIZE:
20,585 x 5173 Pixels