วัดเวียงต้าทิศเหนือ

Description

Digital Data

TITLE:
แพร่
AUTHOR:
หอภาพถ่ายล้านนา
KEYWORDS:
DESCRIPTION:

ภาพเขียนจิตรกรรมฝาผนังทิศเหนือ (ฝั่งขวามือ) เขียนเรื่องราวในตอนที่พระเจ้าสังสา พระราชบิดาของนางแมนเหลา พานางแมนเหลาหลบลี้ไปชนบทนอกเมือง ในระหว่างที่เจ้าแสงเมืองออกไปรบ บริเวณนี้มีชุดอักษรล้านนาเขียนกำกับอยู่ อ่านได้ความว่า “พญาสังสาปาเอานางแมนเหลามาลี้อยู่บ้านนอกยามเมื่อเจ้าแสงเมืองไปยทธ-ก๋รรม (ยุทธ-ก๋รรม) วันนั้นแม่นหนี้แล” แปลได้ความว่า “พระเจ้าสังสาพานางแมนเหลามาหลบอยู่ที่ชนบท ในคราวที่เจ้าแสงเมืองไปออกรบ” ส่วนชุดอักษรล้านนาบริเวณที่พักมีอักษรล้านนาอีกสองชุด ประกอบด้วย อักษาชุดซ้ายมือ อ่านได้ความว่า “แมนเหลา” และชุดอักษาขวามือ อ่านได้ความว่า “ปิมคำ หรือ พิมพ์คำ” 

นอกจากนี้ยังมีชุดอักษาล้านนาที่เขียนด้วยตัวดินสอ ซึ่งน่าจะเขียนเพิ่มในภายหลัง เพื่อเป็นการบอกไม่ให้คนมาจับ ลูบ หรือขีดเขียนจิตรกรรมบนฝาผนัง อยู่บริเวณเหนือบ้านพัก อ่านได้ความว่า “ใผจะไปลูบเน้อกันห้ามบ่ฟังหื้ออายุสัIนปันต๋ายหื้อเหมือนกําปากนี้” และบริเวณใต้อาคารที่พัก อ่านได้ความว่า “หน่อโปธิสัตว์เจ้าเข้ามาผ่อ” แปลว่า “หน่อพระโพธิสัตว์เข้ามาดู”

ลักษณะของอาคารที่พัก มีลักษณะเป็นบ้านที่เรียกว่า “เรือนกาแล” ยกพื้น ซึ่งเป็นที่นิยมทั่วไปของชาวไทยวนในล้านนา ภายในเรือนด้านหลังน่าจะเป็นภาพเขียนพระเจ้าสังสา ด้านหน้าเรือนฝั่งซ้ายมือคือนางแมนเหลา เเละด้านขวามือคือนางพิมพ์คำ 

พระเจ้าสังสาทรงเครื่องแบบกษัตริย์ สวมกระบังหน้ามีกรรเจียก คือเครื่องประดับหูมีรูปเป็นกระหนก ใช้ประกอบกับพระมหามงกุฎ พระชฎา หรือรัดเกล้า และสวมกรองศอทับบนเสื้อ ส่วนนางแมนเหลาแต่งกายแบบสาวชาวไทยวนในล้านนา คือ นำผ้าแถบสีเรียบมาห่มเฉียงแบบสไบ หรือคล้องทิ้งชายไปด้านหลังเรียกว่า “สะหว้ายแหล้ง” หรือ “เบี่ยงบ้าย” นุ่งซิ่นตีนจกคือซิ่นต๋าที่ต่อด้วยตีนจก ที่นิยมใช้ในหญิงไทยวนของล้านนา ไว้ผมมุ่นมวยเรียกว่าเกล้าแบบ “วิดว้อง”ไว้กลางศีรษะมัดมวยด้วยสร้อยคำ หรือสร้อยทอง เจาะหูใส่ “ลานหู” มีลักษณะเป็นแผ่นใบลาน แผ่นเงิน หรือทองคำ นำมาม้วนแล้วใส่เข้าไป สวมกำไลทองคำ และไม่สวมรองเท้า ส่วนนางพิมพ์คำแต่งกายแบบสาวไทยวนโดยทั่วไปในล้านนา คือ เปลือยอกมีการนำผ้าแถบสีเรียบและมีลวดลาย นำมาห่มคล้องคอห้อยชายไปด้านหลัง และห่มแบบที่เรียกว่า “สะหว้ายแหล้ง” หรือ “เบี่ยงบ้าย” เจาะหูใส่ “ลานหู” มีลักษณะเป็นแผ่นใบลาน แผ่นเงิน หรือทองคำ นำมาม้วนแล้วใส่เข้าไป นุ่งซิ่นต๋าที่เป็นที่นิยมของหญิงชาวไทยวนในล้านนา  ไว้มุ่นมวยเรียกว่าเกล้าแบบ “วิดว้อง”ไว้กลางศีรษะ

PUBLISHER:
หอภาพถ่ายล้านนา โดย มูลนิธิ รองศาสตราจารย์กันต์ พูนพิพัฒน์
OTHER CONTRIBUTORS:
หอภาพถ่ายล้านนา โดย มูลนิธิ รองศาสตราจารย์กันต์ พูนพิพัฒน์
DATE:
15/02/2021
RESOURCE TYPE:
ภาพจิตรกรรมฝาผนัง
FORMAT:
Image/jpeg
RESOURCE IDENTIFIER:
คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิหอภาพถ่ายล้านนา มูลนิธิ รองศาสตราจารย์ กันต์ พูนพิพัฒน์
SOURCE:
ภาพจิตรกรรมฝาผนัง
LANGUAGE:
ไทย/อังกฤษ
RELATION:
COVERAGE:
วัดเวียงต้า อำเภอลอง จังหวัดแพร่ (มูลนิธิแม่ฟ้าหลวง ในพระบรมราชูปถัมภ์)
RIGHT MANAGEMENT:
หอภาพถ่ายล้านนา โดย มูลนิธิ รองศาสตราจารย์กันต์ พูนพิพัฒน์

Physical Data

COLLECTION NAME:
แพร่
IMAGE CODE:
02_27_20210215_MR27-01_01
SUBJECT AGE:
ประมาณปี พ.ศ. 2380 – 2410
CATEGORY:
ภาพจิตรกรรมฝาผนัง
PROVENANCE:
หอภาพถ่ายล้านนา, มูลนิธิแม่ฟ้าหลวง ในพระบรมราชูปถัมภ์,แปลอักษรล้านนา โดยคุณภูเดช แสนสา
COVERAGE:
วัดเวียงต้า อำเภอลอง จังหวัดแพร่ (มูลนิธิแม่ฟ้าหลวง ในพระบรมราชูปถัมภ์) View map
ORIGINAL SIZE:
9.24 x 2.04 เมตร
DIGITAL SIZE:
20,585 x 5173 Pixels