วัดเวียงต้าทิศตะวันออก

Description

Digital Data

TITLE:
แพร่
AUTHOR:
หอภาพถ่ายล้านนา
KEYWORDS:
DESCRIPTION:

ภาพเขียนบริเวณฝั่งขวา เขียนเรื่องราวในตอนที่ท้าวพรหมทัตเชิญก่ำก๋าดำและนางจันทเทวีเข้ามาในเมือง ดังเนื้อเรื่องในชาดกตอนหนึ่ง ความว่า “ ครั้นเมื่อสิ้นคนใจบาป ท้าวพรหมทัตก็เข้าใจเหตุการณ์ และได้เชิญก่ำก๋าดำและนางจันทเทวีเข้ามาในเมือง กาลต่อมาจึงได้ยกราชสมบัติให้ก่ำก๋าดำครองสืบต่อไป” ในบริเวณนี้มีชุดอักษรล้านนาเขียนกำกับไว้หลายชุด  ประกอบด้วย ชุดอักษรบริเวณด้านล่าง อ่านได้ความว่า “พญาพรหมตั๋ดมานิมนต์เอาเจ้าราชปั๋ณฑิตกับนางจั๋นต๊ะ เข้าไปเวียงแล”แปลได้ว่า “พระเจ้าพรหมทัตมาอัญเชิญเจ้าราชบัณฑิต หรือก่ำก๋าดำ กับนางจันทะเข้าไปในเมือง” ถัดมาบริเวณใต้ร่มอ่านได้ความว่า “พญาพรหมตั๊ด” แปลได้ว่า “พระเจ้าพรหมทัต” ถัดไป อ่านได้ความว่า “นางจั๋นต๊ะ” แปลว่า “นางจันทะเทวี” ขวาสุดอ่านได้ความว่า “เจ้าราชปั๋ณฑิต” แปลว่า “เจ้าราชบัณฑิต หรือก่ำก๋าดำ” 

ในภาพจะเห็นว่าพระเจ้าพรหมทัต ประทับอยู่บนปราสาท ลักษณะเหมือนกำลังยื่นพานคำ (ทองคำ) บรรจุหมากพลูไว้ ยื่นให้แก่นางจันทะเทวี เพื่อให้นางจันทะเทวีให้อภัยแก่ตน ส่วนเบื้องหลังมีเจ้าราชบัณฑิต  หรือก่ำก๋าดำนั่งอยู่

พระเจ้าพรหมทัตและเจ้าราชบัณฑิต หรือ ก่ำก๋าดำทรงเครื่องแบบกษัตริย์สวมกระบังหน้ามีกรรเจียกคือเครื่องประดับหูมีรูปเป็นกระหนก ใช้ประกอบกับพระมหามงกุฎ พระชฎา หรือรัดเกล้า และสวมกรองศอทับบนเสื้อแขนยาว มีทับทรวงและสายสังวาลสะพายแล่ง สวมพาหุรัดที่ต้นแขน นุ่งสนับเพลาคือกางเกงขายาวประมาณครึ่งแข้งมีผ้าห้อยหน้าหรือชายไหวระหว่างชายแครง มีแถบผ้าปลายงอนหุ้มปลายขากางเกงทั้ง 2 ข้าง นุ่งโจงทับ ปัจจุบันยังหมายถึงกางเกงด้วย ราชาศัพท์ใช้ว่า พระสนับเพลา ส่วนนางจันทะเทวีแต่งกายแบบหญิงชาวไทยวนในราชสำนักล้านนา คือ เปลือยอกมีการนำผ้าแถบสีเรียบห่มเฉียงแบบสไบ หรือคล้องทิ้งชายไปด้านหลังเรียกว่า “สะหว้ายแหล้ง” หรือ “เบี่ยงบ้าย” นุ่งซิ่นตีนจกคือซิ่นต๋าที่ต่อด้วยตีนจกคำ ที่นิยมใช้ในหญิงในราชสำนักชาวไทยวนในล้านนา ผมมุ่นมวยเรียกว่าเกล้าแบบ “วิดว้อง”ไว้กลางศีรษะมัดมวยด้วยสร้อยคำหรือสร้อยทอง เจาะหูใส่ “ลานหู” มีลักษณะเป็นแผ่นใบลาน แผ่นเงิน หรือทองคำ นำมาม้วนแล้วใส่เข้าไป สวมสร้อยคอและกำไลทองคำ ส่วนเหล่าเสนาอมาตย์บริเวณด้านล่าง สวมเสื้อคอตั้งแขนยาวไว้ผมทรงมหาดไทย ส่วนเหล่านางสนมกำนัลแต่งกายแบบหญิงชาวไทยวนในล้านนา คือ นำผ้าแถบสีเรียบมาห่มเฉียงแบบสไบหรือคล้องทิ้งชายไปด้านหลังเรียกว่า “สะหว้ายแหล้ง” หรือ “เบี่ยงบ้าย” มุ่นมวยเรียกว่าเกล้าแบบ “วิดว้อง” และ “ตั้งเกล้า” ไว้กลางศีรษะ

PUBLISHER:
หอภาพถ่ายล้านนา โดย มูลนิธิ รองศาสตราจารย์กันต์ พูนพิพัฒน์
OTHER CONTRIBUTORS:
หอภาพถ่ายล้านนา โดย มูลนิธิ รองศาสตราจารย์กันต์ พูนพิพัฒน์
DATE:
15/02/2021
RESOURCE TYPE:
ภาพจิตรกรรมฝาผนัง
FORMAT:
Image/jpeg
RESOURCE IDENTIFIER:
คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิหอภาพถ่ายล้านนา มูลนิธิ รองศาสตราจารย์ กันต์ พูนพิพัฒน์
SOURCE:
ภาพจิตรกรรมฝาผนัง
LANGUAGE:
ไทย/อังกฤษ
RELATION:
COVERAGE:
วัดเวียงต้า อำเภอลอง จังหวัดแพร่ (มูลนิธิแม่ฟ้าหลวง ในพระบรมราชูปถัมภ์)
RIGHT MANAGEMENT:
หอภาพถ่ายล้านนา โดย มูลนิธิ รองศาสตราจารย์กันต์ พูนพิพัฒน์

Physical Data

COLLECTION NAME:
แพร่
IMAGE CODE:
02_27_20210215_MR27-01_01
SUBJECT AGE:
ประมาณปี พ.ศ. 2380 – 2410
CATEGORY:
ภาพจิตรกรรมฝาผนัง
PROVENANCE:
หอภาพถ่ายล้านนา, มูลนิธิแม่ฟ้าหลวง ในพระบรมราชูปถัมภ์,แปลอักษรล้านนา โดยคุณภูเดช แสนสา
COVERAGE:
วัดเวียงต้า อำเภอลอง จังหวัดแพร่ (มูลนิธิแม่ฟ้าหลวง ในพระบรมราชูปถัมภ์) View map
ORIGINAL SIZE:
9.24 x 2.04 เมตร
DIGITAL SIZE:
20,585 x 5173 Pixels