วัดเวียงต้า ทิศตะวันตก (แถวบนช่องที่ 1) 1.1.2

Description

Digital Data

TITLE:
แพร่
AUTHOR:
หอภาพถ่ายล้านนา
KEYWORDS:
DESCRIPTION:

ภาพเขียนนางสาวดี แต่งกายแบบของหญิงไทยวน คือ นำผ้าแถบสีเรียบมาห่มเฉียงแบบสไบหรือคล้องทิ้งชายไปด้านหลังเรียกว่า “สะหว้ายแหล้ง” หรือ “เบี่ยงบ้าย” นุ่งซิ่นตีนจก คือ ซิ่นต๋าที่ต่อด้วยตีนจก ที่นิยมใช้ในหญิงไทยวนของล้านนา ส่วนท้องซิ่นน่าจะเป็น “ซิ่นต๋ามะนาว” คือท้องซิ่นรูปแบบเฉพาะที่พบได้แต่ในเมืองแพร่เท่านั้น  นับเป็นเอกลักษณ์อย่างหนึ่งของผ้าซิ่นตีนจกในเมืองแพร่ ไว้ผมมุ่นมวยเรียกว่าเกล้าแบบ “วิดว้อง” ไว้กลางศีรษะมัดมวยด้วยสร้อยคำ หรือสร้อยทอง เจาะหูใส่ “ลานหู”  มีลักษณะเป็นแผ่นใบลาน แผ่นเงิน หรือทองคำ นำมาม้วนแล้วใส่เข้าไป สวมกำไลทองคำ และสวมรองเท้าที่ดูคล้ายรองเท้าแตะ 

ส่วนนางสนมลักษณะเชิญ ขันหมากคำ คือขันหมากเครื่องเขินที่มีลวดลายปิดทอง

ส่วนการแต่งกายของนางสนมเป็นแบบสาวไทยวนในล้านนา คือ เปลือยอกมีการนำผ้าแถบสีเรียบและมีลวดลาย นำมาห่มคล้องคอห้อยชายไปด้านหลัง มุ่นมวยเรียกว่าเกล้าแบบ “วิดว้อง” ไว้กลางศีรษะ

PUBLISHER:
หอภาพถ่ายล้านนา โดย มูลนิธิ รองศาสตราจารย์กันต์ พูนพิพัฒน์
OTHER CONTRIBUTORS:
หอภาพถ่ายล้านนา โดย มูลนิธิ รองศาสตราจารย์กันต์ พูนพิพัฒน์
DATE:
15/02/2021
RESOURCE TYPE:
ภาพจิตรกรรมฝาผนัง
FORMAT:
Image/jpeg
RESOURCE IDENTIFIER:
คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิหอภาพถ่ายล้านนา มูลนิธิ รองศาสตราจารย์ กันต์ พูนพิพัฒน์
SOURCE:
ภาพจิตรกรรมฝาผนัง
LANGUAGE:
ไทย/อังกฤษ
RELATION:
COVERAGE:
วัดเวียงต้า อำเภอลอง จังหวัดแพร่ (มูลนิธิแม่ฟ้าหลวง ในพระบรมราชูปถัมภ์)
RIGHT MANAGEMENT:
หอภาพถ่ายล้านนา โดย มูลนิธิ รองศาสตราจารย์กันต์ พูนพิพัฒน์

Physical Data

COLLECTION NAME:
แพร่
IMAGE CODE:
02_27_20210215_MR27-01_01
SUBJECT AGE:
ประมาณปี พ.ศ. 2380 – 2410
CATEGORY:
ภาพจิตรกรรมฝาผนัง
PROVENANCE:
หอภาพถ่ายล้านนา, มูลนิธิแม่ฟ้าหลวง ในพระบรมราชูปถัมภ์,แปลอักษรล้านนา โดยคุณภูเดช แสนสา
COVERAGE:
วัดเวียงต้า อำเภอลอง จังหวัดแพร่ (มูลนิธิแม่ฟ้าหลวง ในพระบรมราชูปถัมภ์) View map
ORIGINAL SIZE:
9.24 x 2.04 เมตร
DIGITAL SIZE:
20,585 x 5173 Pixels