วัดหนองบัว ทิศใต้ช่องที่ 7(กัณฑ์ที่ 13)1.3

Description

Digital Data

TITLE:
น่าน
AUTHOR:
หอภาพถ่ายล้านนา โดย มูลนิธิรองศาสตราจารย์ กันต์ พูนพิพัฒน์
KEYWORDS:
DESCRIPTION:

ภาพเขียนบริเวณเหนือหน้าต่างช่องที่ 7 และในช่องผนังสุดท้าย เขียนเหตุการณ์ในตอนที่ขบวนช้างพร้อมไพร่พลของพระนางพรหมจารีผ่านบ้านของเจ้าจันทคาธ 

ในภาพเขียนภาพพระนางพรหมจารีและพระญาธรรมขันตีประทับนั่งอยู่ในกูบช้าง กูขช้างในภาพเป็นกูบช้างแบบมีประทุน ทำจากไม้ไผ่สานเเล้วลงรักลงชาดปิดทอง ส่วนช้างทรงนั้นทรงเครื่องคชาภรณ์แบบของกษัตริย์

เบื้องหน้าขบวนทัพมีภาพนายทหารลักษณะกำลังส่องกล้องส่องทางไกลแบบชาวตะวันตก ซึ่งน่าจะรับอิทธิพลมาจากชาติตะวันตกในสมัยนั้นมาเขียน โดยเรื่องราวในตอนนี้เป็นเหตุการณ์ในตอนที่ขบวนทัพของพระนางพรหมจารีและพระญาธรรมขันตีผ่านบ้านเจ้าจันทคาธ ครั้นเมื่อทัพเข้าเขตหมู่บ้านป่าเเห่งหนึ่ง นายทหารทัพหน้าจึงส่องกล้องส่องทางไกล แลเห็นบ้านของเจ้าจันทคาธ ที่ปลูกไว้อยู่กลางป่าไผ่ และแขวนผ้าห่มสีแดงไว้หน้าบ้านเพื่อหมายให้ทราบว่านี้คือบ้านของเจ้าจันทคาธ 

ในภาพพระนางพรหมจารีแต่งกายแบบหญิงในราชสำนักล้านนา คือ นำผ้าแถบสีเรียบมาห่มเฉียงแบบสไบ หรือ คล้องทิ้งชายไปด้านหลังเรียกว่า “สะหว้ายแหล้ง” หรือ “เบี่ยงบ้าย” นุ่งซิ่นตีนจกแต่เป็นซิ่นตีนจกที่ทอจากฝ้าย สามารถพบเห็นหญิงชาวไทยวนสวมใส่กันทั่วไปทั้งในเมืองน่านและล้านนา ตีนจกของเมืองน่านนี้มีการใส่ลวดลายเฉพาะของตนลงไป ทำให้เกิดเป็นรูปแบบเฉพาะของซิ่นตีนจกของเมืองน่าน ส่วนท้องซิ่นก็เป็นรูปแบบเฉพาะที่พบได้แต่ในเมืองน่านเท่านั้นคือ ท้องซิ่นจะมีแนวขวางลำตัวที่ดูแล้วคล้ายกับซิ่นป้อง เป็นซิ่นที่มีรูปแบบพิเศษมีลายในแนวขวางลำตัว ดูแล้วคล้ายกับ “ซิ่นต๋า” ของหญิงชาวไทยวนในล้านนา ผ้าซิ่นป้องนี้มีการตกแต่งผ้าซิ่นด้วยการทอกรรมวิธีต่างๆในแนวขวางลำตัวที่ค่อนข้างหลากหลาย ทำให้เกิดลวดลายเพิ่มเติม ซึ่งในภาพน่าจะเป็นการตกแต่งเเละการทอด้วยกรรมวิธีหลายอย่าง ทำให้เกิดเป็นรูปแบบเฉพาะที่สามารถพบได้แต่เฉพาะในเมืองน่านเท่านั้น ส่วนบนศรีษะไว้ผมยาวเกล้าผมแบบ “วิดว้อง” เจาะหูใส่ลานหู คือ เครื่องประดับที่มีลักษณะเป็นแผ่นคล้ายใบลาน เป็นแผ่นเงิน หรือ ทองคำ นำมาม้วนแล้วใส่เข้าไป เเละไม่สวมรองพระบาท

ส่วนนางกษัตริย์ที่อยู่บนคอช้างสวมเครื่องเเต่งกาย คือนำผ้าแถบสีเรียบมาห่มแบบมัดอก เพื่อให้ดูทะมัดทะแมงในเวลาออกรบ นุ่งซิ่นตีนจกแต่เป็นซิ่นตีนจกที่ทอจากฝ้าย สามารถพบเห็นหญิงชาวไทยวนสวมใส่กันทั่วไปทั้งในเมืองน่านและล้านนา ตีนจกของเมืองน่านนี้มีการใส่ลวดลายเฉพาะของตนลงไป ทำให้เกิดเป็นรูปแบบเฉพาะของซิ่นตีนจกของเมืองน่าน ที่สามารถพบได้แต่เฉพาะในเมืองน่านเท่านั้น ส่วนท้องซิ่นจะมีแนวขวางลำตัวที่ดูแล้วคล้ายกับซิ่นป้อง เป็นซิ่นที่มีรูปแบบพิเศษ ซึ่งเป็นซิ่นที่มีลายในแนวขวางลำตัว ดูแล้วคล้ายกับ “ซิ่นต๋า” ของหญิงชาวไทยวนในล้านนา ผ้าซิ่นป้องจะมีการตกแต่งผ้าซิ่นด้วยการทอด้วยกรรมวิธีต่างๆในแนวขวางลำตัวที่ค่อนข้างหลากหลาย ทำให้เกิดลวดลายเพิ่มเติมขึ้น ผ้าซิ่นที่ปรากฏในภาพน่าจะเป็นการตกแต่งการทอด้วยกรรมวิธีหลายอย่างเรียกว่า “การจก” ด้วยไหมหลากสี และมีการตกแต่งที่เด่นชัดอีกอย่าง คือ ตกแต่งด้วยกรรมวิธีการทอที่ในเมืองน่านเรียกว่า “มัดก่าน” หรือที่ทั่วไปเรียกว่ามัดหมี่  ด้านล่างต่อด้วยตีนจก “ตีนจก” นี้เป็นตีนซิ่นที่นิยมกันในหญิงชาวไทยวนในล้านนา ส่วน “ตีนจก” ยังมีโครงสร้างเดียวกับตีนจกของหญิงชาวไทยวนในล้านนา แต่ตีนจกของเมืองน่านนี้มีการใส่ลวดลายเฉพาะของตนลงไป ทำให้เกิดเป็นรูปแบบเฉพาะของซิ่นตีนจกของเมืองน่าน สามารถพบได้แต่เฉพาะในเมืองน่านเท่านั้น ส่วนบนศรีษะไว้ผมยาว เกล้าผมแบบที่เรียกว่า “วิดว้อง” กลางศีรษะปักปิ่นทองคำ หรือในล้านนาเรียกว่า “ปิ่นคำ” มัดมวยด้วยสร้อยคำหรือสร้อยทอง เจาะหูใส่ลานหู คือ เครื่องประดับที่มีลักษณะเป็นแผ่นคล้ายใบลาน เป็นแผ่นเงิน หรือ ทองคำ นำมาม้วนแล้วใส่เข้าไป และไม่สวมรองพระบาท

เหล่าทหารในภาพแต่งกายในรูแบบที่ได้รับอิทธิพลจากกรุงเทพ คือ สวมเสื้อแขนยาว นุ่งโจงกระเบน ตัดผมทรงมหาดไทย โดยเฉพาะทหารสองคนหน้า ที่สวมหมวกแบบฝรั่งซึ่งนิยมกันมากตั้งเเต่สมัยรัชกาลที่ 5 ส่วนนายทหารคนที่นั่งบริเวณด้านขวานั้น นุ่งผ้ามีลวดลายผืนเดียวเรียกว่านุ่งแบบ “นุ่งผ้าต้อย” หรือ “เค็ดม่าม” โดยจะม้วนผ้าเป็นเกลียวสอดระหว่างขาเป็นการนุ่งแบบเดียวกับการถกเขมร หรือ โจงกระเบน เผยให้เห็นลายสักยันต์ตั้งแต่ท้องน้อยจนถึงหัวเข่าที่มีลวดลายสัตว์หิมพานต์ อันเป็นเอกลักษณ์อย่างหนึ่งของชายชาวไทลื้อและไทยวนในแถบนี้ 

ส่วนเหล่านางสนมกำนัลบริเวณด้านหลังช้างที่นั่ง ภาพเขียนลบเลือนไป เห็นเพียงแต่ท่อนบนของส่วนศรีษะ โดยไว้ผมยาวทำผมมุ่นมวยเรียกว่าเกล้าแบบ “วิดว้อง” และ “ตั้งเกล้า” เเละประดับมัดมวยด้วยสร้อยเงิน

PUBLISHER:
หอภาพถ่ายล้านนา โดย มูลนิธิรองศาสตราจารย์ กันต์ พูนพิพัฒน์
OTHER CONTRIBUTORS:
หอภาพถ่ายล้านนา โดย มูลนิธิรองศาสตราจารย์ กันต์ พูนพิพัฒน์
DATE:
07/02/2558
RESOURCE TYPE:
จิตรกรรมฝาผนัง
FORMAT:
Image/jpeg
RESOURCE IDENTIFIER:
คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิหอภาพถ่ายล้านนา ในกำกับของกรรมการอำนวยการหอภาพถ่ายล้านนา
SOURCE:
จิตรกรรมฝาผนัง
LANGUAGE:
ไทย/อังกฤษ
RELATION:
COVERAGE:
วัดหนองบัว อ.ท่าวังผา จ.น่าน ภาคเหนือ ประเทศไทย
RIGHT MANAGEMENT:
หอภาพถ่ายล้านนา โดย มูลนิธิรองศาสตราจารย์ กันต์ พูนพิพัฒน์

Physical Data

COLLECTION NAME:
น่าน
IMAGE CODE:
000
SUBJECT AGE:
CATEGORY:
จิตรกรรมฝาผนัง
PROVENANCE:
ศาสตราจารย์กันต์ พูนพิพัฒน์
COVERAGE:
วัดหนองบัว อ.ท่าวังผา จ.น่าน ภาคเหนือ ประเทศไทย view map
ORIGINAL SIZE:
17.29 x 3.4 เมตร(ขนาดรวมทั้งฝาผนัง)
DIGITAL SIZE:
15,200 x 9,400 Pixels