วัดหนองบัว ทิศใต้ช่องที่ 1-2-3(กัณฑ์ที่ 9)1.6

Description

Digital Data

TITLE:
น่าน
AUTHOR:
หอภาพถ่ายล้านนา โดย มูลนิธิรองศาสตราจารย์ กันต์ พูนพิพัฒน์
KEYWORDS:
DESCRIPTION:

ภาพเขียนบริเวณทิศเหนือ (เหนือหน้าต่างช่องที่ 1) เขียนเรื่องราวในกัณฑ์ที่ 9 ตโยเสฏฐีธิตาเปสนกัณฑ์ ในส่วนต่อจากตอนแรก 

ครั้นเมื่อเจ้าจันทคาธเดินทางเพื่อพาธิดาทั้ง 3 ของเศรษฐีกลับมาส่งที่เมืองสังกาสะ ระหว่างทางทอดพระเนตรเห็นเรือนๆหนึ่ง เข้าพระทัยว่าเป็นเรือนมนุษย์จึงเสด็จแวะเพื่อหยุดพัก ทรงเหลือบเห็นหญิงชาวเมือง 7 คนที่กำลังทำงานอยู่ ก็ทรงทราบอาการทันทีว่าเป็นยักษ์ ครั้นเมื่อนางยักษ์เห็นมนุษย์เดินผ่านมา จึงคิดว่าควรจะลวงคนทั้ง 4 นี้ไว้จนกว่าสามีเรากลับมา ฝ่ายธิดาทั้ง 3 ของเศรษฐีซึ่งไม่รู้ว่าหญิงชาวเมืองที่เห็นคือนางยักษ์ จึงได้พากันอ้อนวอนให้เจ้าจันทคาธพักเสียที่นี้ก่อน แต่เจ้าจันทคาธทรงรู้ว่าที่เเห่งนี้คือเรือนของยักษ์ จึงไม่อยากเเวะพัก ณ เรือนนี้ เป็นเวลาเดียวกันกับที่ยักษ์เพศชายตนหนึ่งกลับมาพร้อมกับซากมนุษย์ ครั้นเมื่อนางทั้ง 3 เห็นก็พากันตกใจกลัว เมื่อพวกยักษ์เห็นเจ้าจันทธคาธเเละนางทั้ง 3 จึงจ้องเข้ามาจับ เมื่อเห็นเช่นนั้นเจ้าจันทคาธจึงลุกขึ้นเเล้วมุ่งตรงไปที่สระหนึ่ง เห็นเป็นเช่นนั้นนางทั้ง 3 จึงขึ้นเเล้วเดินตามไป ครั้นเมื่อถึง​สระ เจ้าจันทคาธจึงรับสั่งให้นางทั้ง 3 ยืนอยู่ริมสระ ส่วนตนนั้นลงไปในสระ เมื่อยักษ์ตามถึงเเล้วมิเห็นเจ้าจันทคาธจึงแสดงอาการเเละหันไปจับนางทั้ง 3 เเทน เมื่อเห็นกระนั้นพวกนางจึงร้องหวีดหวาดขึ้นว่า “จงรีบขึ้นเถิด ยักษ์มาจะจับพวกดิฉันแล้ว” นางทั้ง 3 ต่างก็ร้องไห้อ้อนวอนต่อยักษ์ว่า  “พี่จงให้ชีวิตแก่พวกดิฉันเถิด” ครั้นเมื่อยักษ์มาใกล้เจ้าจันทคาธจึงขึ้นจากสระ เเล้วให้นางทั้งสามเกาะที่ตัวเพื่อจะเหาะหนีขึ้นสู่อากาศ ยักษ์ผู้เป็นสามีนิรมิตกายให้สูง 7 ชั่วลำตาล และให้แขนยาว เหยียดมือออกไปจับคนทั้ง 4 กระนั้นเจ้าจันทคาธจึงชักพระขรรค์วิเศษฟันมือยักษ์ตนนั้นขาด เเต่ก็มือที่ขาดนั้นก็ยังมิหมดฤทธิ์ กลายเป็นมือใหญ่เข้าจับเจ้าจันทคาธ เห็นเป็นเช่นนั้นจึงเเกว่งพระขรรค์ตัดศีรษะ เเละล้มนิ่งอยู่พื้นดิน ฝ่ายนางยักษินีก็แปลงกายใหญ่โต มีนัยน์ตาเท่าผลมะพร้าว วิ่งมาปรารภจะจับชนทั้ง 4 กิน เเต่มิสามารถทำอันตรายต่อเจ้าจันทคาธเเละนางทั้ง 3 ได้ จึงถูกเจ้าจันทคาธปลิดชีวิตในเวลาต่อมา จากนั้นจึงพากันเหาะไปในอากาศเเละเเวะลงที่ยอดเขาแห่งหนึ่ง ในบริเวณนี้มีภาษาล้านนาเขียนกำกับอยู่ด้วยกัน 2 ชุด คือ ชุดแรกบริเวณด้านขวา (ข้างหญิงที่ยืนอยู่หน้าเรือน) อ่านได้ความว่า

“….กับ….

..เอานาง…..

..…..ยังเริน……”

ทั้งนี้เนื่องจากข้อความไม่ครบจึงมิสามารถแปลความได้

ส่วนชุดอักษรล้านนาบริเวณฝั่งซ้าย (เหนือเจ้าจันทคาธเเละนางทั้ง 3) อ่านได้ความว่า 

“จันทฅาท……..

…….ตวยเจ้า…….

เจ้าจั………..นางทัง…หนีไป….

…แถมลา…..ตา……….นา………

….ตายร…….ห…..จัน……….”

ทั้งนี้เนื่องจากข้อความไม่ครบจึงมิสามารถแปลความได้

ส่วนภาพเขียนบริเวณฝั่งขวา เขียนเรื่องราวในตอนที่ธิดาเศรษฐีทั้ง 3 คน กำลังหนีออกจากบ้านของนางยักษ์ ถัดมาเป็นภาพเขียนบริเวณฝั่งซ้าย เป็นเรื่องราวในตอนที่เจ้าจันทคาธได้ฆ่ายักษ์ทั้งสอง เเละพานางทั้ง 3 เหาะหลบหนีไป

ทั้งนี้เนื่องจากภาพเขียนบริเวณนี้ลบเลือนไปค่อนข้างมาก เเต่ก็พออนุมานได้ว่าเจ้าจันทคาธ เเต่งกายแบบชาวบางกอกในยุคนั้น คือ สวมเสื้อคอตั้งแขนยาวนุ่งโจงกระเบนพร้อมผ้าคาดเอว ไว้ผมทรงมหาดไทย ลักษณะคือ ไว้ผมกลางศีรษะและด้านข้างโกนผมบริเวณโดยรอบ คล้ายกับการนำกะลามาครอบหัว แต่ไม่ได้แสกกลางแบบทางภาคกลางของไทย ซึ่งน่าจะได้รับอิทธิพลมาจากทางกรุงเทพ และไม่สวมรองเท้า 

ส่วนนางทั้ง 3 แต่งกายแบบหญิงในล้านนา คือ เปลือยอกนำและนำผ้าแถบสีเรียบมาห่มเฉียงแบบสไบ หรือ คล้องทิ้งชายไปด้านหลังเรียกว่า “สะหว้ายแหล้ง” หรือ “เบี่ยงบ้าย” จะเห็นได้ว่านางสนมกำนัลในภาพสวมใส่ผ้าซิ่นแบบต่างๆที่พบในเมืองน่านเท่านั้น เช่น นางสนมมคนแรก (คนขวาสุด) นุ่ง “ซิ่นป้อง” เป็นซิ่นที่มีรูปแบบพิเศษซึ่งเป็นซิ่นที่มีลายในแนวขวางลำตัว ดูแล้วคล้ายกับ “ซิ่นต๋า” ของหญิงชาวไทยวนในล้านนา ซิ่นป้องนี้มีการตกแต่งผ้าซิ่นด้วยการทอกรรมวิธีต่างๆในแนวขวางลำตัวที่ค่อนข้างหลากหลาย ทำให้เกิดลวดลายเพิ่มเติม พบได้เฉพาะที่เมืองน่านเท่านั้น ส่วนบนศรีษะไว้ผมยาว ทำผมมุ่นมวยเรียกว่าเกล้าแบบ “วิดว้อง” ไว้กลางศีรษะ ที่หูใส่ “ลานหู” ซึ่งมีลักษณะเป็นแผ่นบางๆคล้ายใบลาน ทำจากแผ่นเงิน หรือ ทองคำ นำมาม้วนแล้วใส่เข้าไป และไม่สวมรองเท้า

PUBLISHER:
หอภาพถ่ายล้านนา โดย มูลนิธิรองศาสตราจารย์ กันต์ พูนพิพัฒน์
OTHER CONTRIBUTORS:
หอภาพถ่ายล้านนา โดย มูลนิธิรองศาสตราจารย์ กันต์ พูนพิพัฒน์
DATE:
07/02/2558
RESOURCE TYPE:
จิตรกรรมฝาผนัง
FORMAT:
Image/jpeg
RESOURCE IDENTIFIER:
คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิหอภาพถ่ายล้านนา ในกำกับของกรรมการอำนวยการหอภาพถ่ายล้านนา
SOURCE:
จิตรกรรมฝาผนัง
LANGUAGE:
ไทย/อังกฤษ
RELATION:
COVERAGE:
วัดหนองบัว อ.ท่าวังผา จ.น่าน ภาคเหนือ ประเทศไทย
RIGHT MANAGEMENT:
หอภาพถ่ายล้านนา โดย มูลนิธิรองศาสตราจารย์ กันต์ พูนพิพัฒน์

Physical Data

COLLECTION NAME:
น่าน
IMAGE CODE:
000
SUBJECT AGE:
CATEGORY:
จิตรกรรมฝาผนัง
PROVENANCE:
ศาสตราจารย์กันต์ พูนพิพัฒน์
COVERAGE:
วัดหนองบัว อ.ท่าวังผา จ.น่าน ภาคเหนือ ประเทศไทย view map
ORIGINAL SIZE:
17.29 x 3.4 เมตร(ขนาดรวมทั้งฝาผนัง)
DIGITAL SIZE:
15,200 x 9,400 Pixels