วัดหนองบัว ทิศตะวันออก(กัณฑ์ที่ 14)1.2

Description

Digital Data

TITLE:
น่าน
AUTHOR:
หอภาพถ่ายล้านนา โดย มูลนิธิรองศาสตราจารย์ กันต์ พูนพิพัฒน์
KEYWORDS:
DESCRIPTION:

ภาพเขียนขบวนเสด็จพระนางอุตตมธานีประทับบนราชรถ เเละเหล่านางสนมกำนัล เสด็จเข้าเมืองอณูปมนคร บริเวณกลางภาพใต้ราชรถมีอักษรล้านนาเขียนกำกับอยู่อ่านได้ความว่า “.กุอุกตมเ….” ทั้งนี้เนื่องจากข้อความขาดหายไปมาก จึงมิสามารถแปลความหมายได้ 

พระนางอุตตมธานีแต่งกายแบบหญิงในราชสำนักล้านนา คือ นำผ้าแถบสีเรียบมาห่มคล้องทิ้งชายไปด้านหลัง ใส่สร้อยสังวาลย์ทองคำฝังทับทิมไขว้ที่อกห้อยชายสังวาลย์ไปด้านหลัง สวมกำไลทองคำฝังทับทิมทั้งสองแขน นุ่งซิ่นตีนจกแต่เป็นซิ่นตีนจกที่ทอจากฝ้าย สามารถพบเห็นหญิงชาวไทยวนสวมใส่กันทั่วไปทั้งในเมืองน่านและล้านนา ตีนจกของเมืองน่านนี้มีการใส่ลวดลายเฉพาะของตนลงไป ทำให้เกิดเป็นรูปแบบเฉพาะของซิ่นตีนจกของเมืองน่าน ที่สามารถพบได้แต่เฉพาะในเมืองน่านเท่านั้น ส่วนท้องซิ่นจะมีแนวขวางลำตัวที่ดูแล้วคล้ายกับซิ่นป้อง เป็นซิ่นที่มีรูปแบบพิเศษ ซึ่งเป็นซิ่นที่มีลายในแนวขวางลำตัว ดูแล้วคล้ายกับ “ซิ่นต๋า” ของหญิงชาวไทยวนในล้านนา ผ้าซิ่นป้องจะมีการตกแต่งผ้าซิ่นด้วยการทอด้วยกรรมวิธีต่างๆในแนวขวางลำตัวที่ค่อนข้างหลากหลาย ทำให้เกิดลวดลายเพิ่มเติมขึ้น ผ้าซิ่นที่ปรากฏในภาพน่าจะเป็นการตกแต่งการทอด้วยกรรมวิธีหลายอย่าง เรียกว่า “มัดก่าน” หรือที่ทั่วไปเรียกว่า “มัดหมี่” ส่วนบนศรีษะไว้ผมยาว ทำผมมุ่นมวยเรียกว่าเกล้าแบบ “วิดว้อง” ไว้กลางศีรษะ ปักผมด้วยปิ่นทองคำ หรือ ในล้านนาเรียกว่า “ปิ่นคำ” มัดมวยด้วยสร้อยคำ หรือ สร้อยทอง ที่หูใส่ “ลานหู” ซึ่งมีลักษณะเป็นแผ่นบางๆคล้ายใบลาน ทำจากแผ่นเงิน หรือ ทองคำ นำมาม้วนแล้วใส่เข้าไป 

ส่วนเหล่านางสนมกำนัลแต่งกายแบบหญิงในเมืองน่าน คือ เปลือยอกนำและนำผ้าแถบสีเรียบมาห่มเฉียงแบบสไบ หรือ คล้องทิ้งชายไปด้านหลังเรียกว่า “สะหว้ายแหล้ง” หรือ “เบี่ยงบ้าย” จะเห็นได้ว่านางสนมกำนัลในภาพสวมใส่ผ้าซิ่นแบบต่างๆที่พบในเมืองน่านเท่านั้น เช่น นางสนมมคนแรก (คนขวาสุด) นุ่ง “ซิ่นป้อง” เป็นซิ่นที่มีรูปแบบพิเศษซึ่งเป็นซิ่นที่มีลายในแนวขวางลำตัว ดูแล้วคล้ายกับ “ซิ่นต๋า” ของหญิงชาวไทยวนในล้านนา ซิ่นป้องนี้มีการตกแต่งผ้าซิ่นด้วยการทอกรรมวิธีต่างๆในแนวขวางลำตัวที่ค่อนข้างหลากหลาย ทำให้เกิดลวดลายเพิ่มเติม พบได้เฉพาะที่เมืองน่านเท่านั้น ในภาพน่าจะเป็นการตกแต่งการทอด้วยกรรมวิธีหลายอย่าง แต่การตกแต่งที่เด่นชัด คือ การตกแต่งด้วยกรรมวิธีการทอที่ในเมืองน่านเรียกว่า “มัดก่าน” หรือที่ทั่วไปเรียกว่ามัดหมี่ 

ส่วนนางสนมกำนัลที่เหลือนั้น นุ่งซิ่นตีนจก ที่สามารถพบเห็นได้ในหญิงชาวไทยวนทั่วไปในเมืองน่านและล้านนา ซิ่นตีนจกของเมืองน่านนี้มีการใส่ลวดลายเฉพาะของตนลงไป ทำให้เกิดเป็นรูปแบบเฉพาะของซิ่นตีนจกที่สามารถพบได้ในเมืองน่านเท่านั้น 

วนบนศรีษะไว้ผมยาว ทำผมมุ่นมวยเรียกว่าเกล้าแบบ “ตั้งเกล้า” มัดมวยด้วยสร้อยเงิน เจาะหูใส่ “ลานหู” มีลักษณะเป็นแผ่นบางๆคล้ายใบลานทำจากแผ่นเงิน หรือ ทองคำ นำมาม้วนแล้วใส่เข้าไป

PUBLISHER:
หอภาพถ่ายล้านนา โดย มูลนิธิรองศาสตราจารย์ กันต์ พูนพิพัฒน์
OTHER CONTRIBUTORS:
หอภาพถ่ายล้านนา โดย มูลนิธิรองศาสตราจารย์ กันต์ พูนพิพัฒน์
DATE:
07/02/2558
RESOURCE TYPE:
จิตรกรรมฝาผนัง
FORMAT:
Image/jpeg
RESOURCE IDENTIFIER:
คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิหอภาพถ่ายล้านนา ในกำกับของกรรมการอำนวยการหอภาพถ่ายล้านนา
SOURCE:
จิตรกรรมฝาผนัง
LANGUAGE:
ไทย/อังกฤษ
RELATION:
COVERAGE:
วัดหนองบัว อ.ท่าวังผา จ.น่าน ภาคเหนือ ประเทศไทย
RIGHT MANAGEMENT:
หอภาพถ่ายล้านนา โดย มูลนิธิรองศาสตราจารย์ กันต์ พูนพิพัฒน์

Physical Data

COLLECTION NAME:
น่าน
IMAGE CODE:
000
SUBJECT AGE:
CATEGORY:
จิตรกรรมฝาผนัง
PROVENANCE:
ศาสตราจารย์กันต์ พูนพิพัฒน์
COVERAGE:
วัดหนองบัว อ.ท่าวังผา จ.น่าน ภาคเหนือ ประเทศไทย view map
ORIGINAL SIZE:
17.29 x 3.4 เมตร(ขนาดรวมทั้งฝาผนัง)
DIGITAL SIZE:
15,200 x 9,400 Pixels