ภาพเขียนจิตรกรรมบนผืนผ้า (พระบฏ) วัดทุ่งคา – แผ่นที่ 8 กัณฑ์ที่ 4 วนประเวศน์

Description

Digital Data

TITLE:
ลำปาง
AUTHOR:
หอภาพถ่ายล้านนา โดย มูลนิธิรองศาสตราจารย์ กันต์ พูนพิพัฒน์
KEYWORDS:
DESCRIPTION:
แผ่นที่ 8 กัณฑ์ที่ 4 วนประเวศน์
ภาพวาดแผ่นนี้เป็นกัณฑ์ที่กัณฑ์ที่ 4 วนประเวศน์ตอนแรกคือ  เป็นกัณฑ์สี่กษัตริย์เดินดงบ่ายประพักตร์สู่เขาวงกต เมื่อเดินทางถึงนครเจตราชทั้งสี่กษัตริย์จึงแวะเข้าประทับพักหน้าศาลาหน้าเมือง กษัตริย์ผู้ครองนครเจตราชจึงทูลเสด็จครองเมืองแต่พระเวสสันดรทรงปฏิเสธ  เพราะพระเวสสันดรทรงตั้งพระทัยที่จะทรงออกผนวช พระกษัตริย์ผู้ครองนครเจตราชทรงตั้งเจตบุตรพรานไพร ให้เป็นพนักงานรักษาประตูป่าถวายอารักขาคุ้มภัยให้เป็นพิเศษด้วย
ด้านล่างของภาพเป็นตอนที่สี่กษัตริย์เดินทางถึงนครเจตราช ทั้งสี่กษัตริย์จึงแวะเข้าประทับพักหน้าศาลาหน้าเมือง กษัตริย์ผู้ครองนครเจตราชจึงทูลเสด็จครองเมืองแต่พระเวสสันดรทรงปฏิเสธ  เพราะพระเวสสันดรทรงตั้งพระทัยที่จะทรงออกผนวช ส่วนด้านบนของภาพเป็นตอนที่ พรานเจตบุตรรับพระบัญชาจากพระกษัตริย์ผู้ครองนครเจตราชทรงตั้งเจตบุตรพรานไพร ให้เป็นพนักงานรักษาประตูป่าถวายอารักขาคุ้มภัยให้เป็นพิเศษด้วย
เครื่องทรงของพระเวสสันดรเป็นเครื่องทรงแบบกษัตริย์ ส่วนพระนางมัทรี กัณหาและชาลีแต่งกายในรูปแบบของล้านนาคือ พระนางมัทรีและกัณหาสวมเสิ้อแต่มีการทำผมมุ่นมวยผมสูงต่างจากหญิงไทยวนที่นิยมทำมวยต่ำไว้ด้านหลัง นุ่งผ้า “ซิ่นต๋า”เป็นผ้าซิ่นที่มีลวดลายเส้นในแนวขวางลำตัว ที่ล้วนเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของหญิงชาวไทยวนในช่วงเวลานั้นของแถบนี้ ส่วนข้าราชบริพารเครื่องแต่งกายที่น่าจะได้รับอิทธิพลจากการแต่งกายของชายไทยในกรุงเทพเช่นกันคือ เปลือยอกไว้ผมสั้นนุ่งโจงกระเบน เข้าเฝ้าสี่กษัตริย์เพื่อถวายของที่อยู่ในพานขันดอกรูปแบบของล้านนาที่ทำจากเครื่องเขิน
เรื่องด้านบนของภาพถูกแบ่งด้วยกำแพงของพระราชวังของกษัตริย์ผู้ครองนครเจตราช เป็นตอนที่พระกษัตริย์ผู้ครองนครเจตราชทรงตั้งเจตบุตรพรานไพร ให้เป็นพนักงานรักษาประตูป่าถวายอารักขาคุ้มภัยแก่พระเวสสันดร พระกษัตริย์ผู้ครองนครเจตราชทรงประทับอยู่กลางภายในปราสาทที่เป็นรูปแบบของสถาปัตยกรรมแบบล้านนา พระกษัตริย์ผู้ครองนครเจตราชทรงเครื่องทรงแบบกษัตริย์ ฝั่งขวามือของปราสาทน่าจะเป็นพระมเหษีของพระกษัตริย์ผู้ครองนครเจตราชมีรูปแบบของการแต่งกายของหญิงชาวไทยวนคือ มีผ้ามาคลุมไหล่มีการทำผมมุ่นมวยไว้ด้านหลัง นุ่งผ้า “ซิ่นตีนจก”เป็นผ้าซิ่นที่มีลวดลายเส้นในแนวขวางลำตัวต่อด้วยตีนจก ตีนจกคือผ้าที่นำมาต่อล่างสุดของซิ่นมีลวดลายที่เกิดจากกรรมวิธีการจก ที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะของหญิงชาวไทยวนในแถบนี้ ด้านหน้าปราสาทมีข้าราชบริพารที่แต่งกายที่น่าจะได้รับอิทธิพลจากทางกรุงเทพคือ สวมเสื้อใส่กางเกง ส่วนทหารก็เช่นเดียวกันคือแต่งกายเครื่องแบบทหารคล้ายทหารในกรุงเทพ
PUBLISHER:
หอภาพถ่ายล้านนา โดย มูลนิธิรองศาสตราจารย์ กันต์ พูนพิพัฒน์
OTHER CONTRIBUTORS:
หอภาพถ่ายล้านนา โดย มูลนิธิรองศาสตราจารย์ กันต์ พูนพิพัฒน์
DATE:
07/02/2558
RESOURCE TYPE:
จิตรกรรมภาพพระบฏ
FORMAT:
Image/jpeg
RESOURCE IDENTIFIER:
คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิหอภาพถ่ายล้านนา ในกำกับของกรรมการอำนวยการหอภาพถ่ายล้านนา
SOURCE:
จิตรกรรมฝาผนัง
LANGUAGE:
ไทย/อังกฤษ
RELATION:
COVERAGE:
วัดทุ่งคา อ.เเจ้ห่ม จ.ลำปาง ภาคเหนือ ประเทศไทย
RIGHT MANAGEMENT:
หอภาพถ่ายล้านนา โดย มูลนิธิรองศาสตราจารย์ กันต์ พูนพิพัฒน์

Physical Data

COLLECTION NAME:
ลำปาง
IMAGE CODE:
02_25_20150207_MR25-01_08
SUBJECT AGE:
ประมาณกลางพุทธศตวรรษที่ 25
CATEGORY:
จิตรกรรมภาพพระบฏ
PROVENANCE:
ศาสตราจารย์ กันต์ พูนพิพัฒน์
COVERAGE:
วัดทุ่งคา อ.เเจ้ห่ม จ.ลำปาง ภาคเหนือ ประเทศไทย
View map
ORIGINAL SIZE:
85.5 x 140 cm
DIGITAL SIZE:
2998 x 4642 Pixels