ภาพเขียนจิตรกรรมบนผืนผ้า (พระบฏ) วัดทุ่งคา – แผ่นที่ 12 กัณฑ์ที่ 5 กัณฑ์ชูชก

Description

Digital Data

TITLE:
ลำปาง
AUTHOR:
หอภาพถ่ายล้านนา โดย มูลนิธิรองศาสตราจารย์ กันต์ พูนพิพัฒน์
KEYWORDS:
DESCRIPTION:
แผ่นที่ 12 กัณฑ์ที่ 5 กัณฑ์ชูชก
ภาพวาดแผ่นนี้เป็นส่วนหนึ่งของเรื่องกัณฑ์ที่ 5 กัณฑ์ชูชก เป็นเรื่องเมื่อชูชกเมื่อมาถึงเมืองสิพีเห็นกลุ่มชนที่ใดเป็นถามถึงที่อยู่ของพระเวสสันดรพร้อมทั้งแนวทางที่จะเดินไปให้ถึงที่หมาย ชาวเมืองสีพีก็พาโลรี่เข้าใส่ชูชกด่าว่าเจ้ามาเบียดเบียนพระเวสสันดรด้วยให้ท้าวเธอพระราชทานจนเกินไป ถึงลูกขับไล่พระชายาและพระโอรสให้ออกไปอยู่วงกแล้วเจ้ายังจะกลับมาเอาอะไรอีกพากันหรือไม้ค้อนก้อนดินขับไล่ชูชกเข้าป่าไป ฝ่ายชูชกหนีชาวเมืองสีพีขับไล่ไปทางเขาวงกตขณะเดินเลาะลัดไป ถูกสุนัขของเจตบุตรไล่ล้อม ได้หนีขึ้นต้นไม้ นั่งบนคาคบร้องไห้รำพันถึงคุณพระเวสสันดรเป็นอย่างมาก ฝ่ายเจตบุตร เจ้าของสุนัขติดตามมา เห็นชูชกอยู่บนต้นไม้ก็แน่ใจว่าชูชกจะมาร้าย คือคงจะไปขอพระนางมัทรีหรือพระโอรสเป็นแน่ ก็พลันคิดว่าจะต้องฆ่ามันเสีย จึงเดินเข้าไปใกล้พลางน้าวหน้าไม้ขึ้น พร้อมกับร้องสันทับว่า แน่พราหมณ์พวกแกเบียดเบียนพระเวสสันดรด้วยพระราชทานเกินไป จนต้องถูกขับไล่จากแคว้นของพระองค์เสด็จไปอยู่เขาวงกต มนุษย์บัดสบอย่างแก ยังจะติดตามมาเบียดเบียนพระโอรสอีก เหมือนนกยางย่องตามหาปลา ฉะนั้น ข้าจะไม่ไว้ชีวิตแก จะยิงแกให้ตายด้วยหน้าไม้นี้
ชูชกตกใจกลัวตาย จึงได้อุบายหลอกเจตบุตรพร้อมด้วยการขู่ว่าช้าก่อนเจตบุตร ข้าเป็นพราหมณ์เป็นราชทูต ซึ่งใครๆ ไม่ควรจะฆ่าจงฟังข้าก่อน บุคคลไม่ควรฆ่าราชทูตนี้เป็นประเพณีมาเก่าแก่ ดูก่อนเจตบุตร บัดนี้ชาวเมืองสีพีหายขัดเคืองแล้ว พระชนกก็ปรารถนาจะพบพระเวสสันดรปิโยรส พระชนนีก็ชรา นัยน์ตาก็มืดมน ท้าวเธอให้ข้าฯ เป็นราชฑูตมาเชิญพระเวสสันดรพระโอรสกลับ ฉะนั้นเจ้าจงบอกแก่ข้าว่า บัดนี้พระเวสสันดรอยู่ที่ไหน เจตบุตรดีใจหลงเชื่อในคำลวงชูชก เชื่อว่าชูชกเป็นราชทูตพระเจ้ากรุงสัญชัยพระบิดาให้มาเชิญพระเวรสันดรกลับจริง จึงผูกสุนัขทั้งหลายแล้วให้ชูชกลงจากต้นไม้
ด้านซ้ายของภาพเป็นเหตุการณ์ที่เหล่าสุนัขของพรานเจตบุตรไล่กัดขึ้นไปอยู่บนต้นไม้ โดยที่สุนัขแต่ละตัวได้กัดของชูชกคือ กล้องยาสูบ กุบหรือหมวก และหม้อแกง ในภาพฝั่งขวาของภาพเป็นเหตุการณ์ตอนที่ชูชกนำกลักพริกขิงของมาหลอกพรายเจตบตรว่าเป็นของที่ต้องมาถวายพระเวสสันดร การแต่งกายของพรานเจตบุตรเป็นแบบแต่งกายที่น่าจะได้รับอิทธิพลจากทางกรุงเทพคือ ใ่ส่เสื้อแขนยาวสวมโจงกระเบน ส่วนการแต่งกายของชูชกคือ ไม่สวมเสื้อไว้ผมสั้น นุ่งผ้ามีลวดลายผืนเดียวที่เรียกว่านุ่งแบบ “นุ่งผ้าต้อย” หรือ “เค็ดม่าม”โดยจะม้วนผ้าเป็นเกลียวสอดระหว่างขาเป็นการนุ่งแบบเดียวกับการถกเขมรหรือโจงกระเบน เผยให้เห็นลายสักยันต์ตั้งแต่ท้องน้อยจนถึงหัวเข่า อันเป็นเอกลักษณ์อย่างหนึ่งของชายชาวไทยวนและไทใหญ่ในแถบนี้
PUBLISHER:
หอภาพถ่ายล้านนา โดย มูลนิธิรองศาสตราจารย์ กันต์ พูนพิพัฒน์
OTHER CONTRIBUTORS:
หอภาพถ่ายล้านนา โดย มูลนิธิรองศาสตราจารย์ กันต์ พูนพิพัฒน์
DATE:
07/02/2558
RESOURCE TYPE:
จิตรกรรมภาพพระบฏ
FORMAT:
Image/jpeg
RESOURCE IDENTIFIER:
คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิหอภาพถ่ายล้านนา ในกำกับของกรรมการอำนวยการหอภาพถ่ายล้านนา
SOURCE:
จิตรกรรมฝาผนัง
LANGUAGE:
ไทย/อังกฤษ
RELATION:
COVERAGE:
วัดทุ่งคา อ.เเจ้ห่ม จ.ลำปาง ภาคเหนือ ประเทศไทย
RIGHT MANAGEMENT:
หอภาพถ่ายล้านนา โดย มูลนิธิรองศาสตราจารย์ กันต์ พูนพิพัฒน์

Physical Data

COLLECTION NAME:
ลำปาง
IMAGE CODE:
02_25_20150207_MR25-01_12
SUBJECT AGE:
ประมาณกลางพุทธศตวรรษที่ 25
CATEGORY:
จิตรกรรมภาพพระบฏ
PROVENANCE:
ศาสตราจารย์ กันต์ พูนพิพัฒน์
COVERAGE:
วัดทุ่งคา อ.เเจ้ห่ม จ.ลำปาง ภาคเหนือ ประเทศไทย
View map
ORIGINAL SIZE:
85.5 x 140 cm
DIGITAL SIZE:
2998 x 4642 Pixels