ภาพเขียนจิตรกรรมบนผืนผ้า (พระบฏ) วัดเจดีย์สูง อำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่

Description

Digital Data

TITLE:
เชียงใหม่
AUTHOR:
หอภาพถ่ายล้านนา โดย มูลนิธิ รองศาสตราจารย์กันต์ พูนพิพัฒน์
KEYWORDS:
DESCRIPTION:
ภาพเขียนดอกโบตั๋น เป็นดอกไม้มงคลของจีนปรากฏตั้งแต่สมัยราชวงศ์ถัง ซึ่งถือว่าเป็นดอกไม้ ที่มีความสง่าที่สุด ทั้งยังเป็นสัญลักษณ์ของความสง่างาม ความเด่น ความเป็นเลิศทั้งความงาม และความร่ำรวย ดอกโบตั๋นที่ปรากฏบนภาพพระบฏนี้ มีลักษณะคล้ายกับปูนปั้นที่วัดเจ็ดยอดมาก รับอิทธิพลมาจากลักษณะของศิลปกรรมจีน จากข้อสันนิษฐานพบว่า ช่างเขียนอาจจะรับอิทธิพลมาจากพ่อค้าชาวจีนที่เข้ามาค้าขายในดินแดนล้านนา กล่าวคือ ในอดีตเมืองฮอด เป็นเมืองทางผ่าน หรือเส้นทางการเดินเรือตามลำน้ำปิง จากสยามสู่ดินแดนแถบเหนือ ดังนั้นจึงส่งอิทธิพลต่องานศิลปกรรมในดินแดนล้านนา เช่น เครื่องโถลายคราม สมัยราชวงค์หยวนตอนปลาย รอบโถเขียนลายดอกโบตั๋นสลับกับดอกพุดตาน จากแหล่งโบราณสถานเวียงท่ากาน จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งพบการเขียนสีลงบนเครื่องถ้วยจีน ตั้งแต่ราชวงศ์หยวน (พ.ศ.1822 – 1911) และราชวงศ์เหม็ง (พ.ศ.1911 – 2187) เป็นต้น
PUBLISHER:
หอภาพถ่ายล้านนา โดย มูลนิธิ รองศาสตราจารย์กันต์ พูนพิพัฒน์
OTHER CONTRIBUTORS:
หอภาพถ่ายล้านนา โดย มูลนิธิ รองศาสตราจารย์กันต์ พูนพิพัฒน์
DATE:
18/06/2562
RESOURCE TYPE:
ภาพถ่าย
FORMAT:
Image/jpeg
RESOURCE IDENTIFIER:
คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิหอภาพถ่ายล้านนา ในกำกับของกรรมการอำนวยการหอภาพถ่ายล้านนา
SOURCE:
พระบฏ จิตรกรรมบนผืนผ้า
LANGUAGE:
ไทย/อังกฤษ
RELATION:
พระบฏ คือ ผืนผ้าที่มีรูปพระพุทธเจ้าเป็นต้น และแขวนไว้เพื่อบูชา คำว่า บฏ มาจากคำในภาษาบาลีว่า ปฏ (อ่านว่า ปะ-ตะ) แปลว่า ผ้าทอ หรือ ผืนผ้า ส่วนมากเป็นผ้าแถบยาว มีวาดภาพพระพุทธเจ้า นิยมแขวนไว้ในสถานที่จัดพิธีกรรมในพุทธศาสนา ใช้แทนที่พระพุทธรูป เพื่อเป็นที่เคารพบูชา ในล้านนาเรียกกันว่า “ตุงค่าว” หรือ ตุงค่าวธรรม ในประกอบพิธีกรรมทางศาสนา เช่น เทศน์มหาชาติ เเละตั้งธรรมหลวง เป็นต้น
COVERAGE:
RIGHT MANAGEMENT:
หอภาพถ่ายล้านนา โดย มูลนิธิ รองศาสตราจารย์กันต์ พูนพิพัฒน์

Physical Data

COLLECTION NAME:
เชียงใหม่
IMAGE CODE:
02_26_20190805_MR26-01_25
SUBJECT AGE:
ประมาณพุทธศตวรรษที่ 20 – 21 (พ.ศ.1900 – 2100)
CATEGORY:
พระบฏ จิตรกรรมบนผืนผ้า
PROVENANCE:
ศาสตราจารย์ กันต์ พูนพิพัฒน์
COVERAGE:
ORIGINAL SIZE:
32 x 7.1 in.
DIGITAL SIZE:
5222 x 2500 Pixels.