ภาพเขียนจิตรกรรมบนผืนผ้า (พระบฏ) วัดหลวงฮอด อำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่

Description

Digital Data

TITLE:
เชียงใหม่
AUTHOR:
หอภาพถ่ายล้านนา โดย มูลนิธิรองศาสตราจารย์ กันต์ พูนพิพัฒน์
KEYWORDS:
DESCRIPTION:

ภาพพระบฏวัดหลวงฮอดคาดว่าวาดขึ้นราวพุทธตวรรษที่ 21-22 ซึ่งเป็นช่วงยุครุ่งเรืองของราชวงศ์มังราย วาดลงบนผ้าผืนสี่เหลี่ยมผืนผ้ามีขนาดกว้าง 97 เซ็นติเมตร ยาว 158  เซ็นติเมตร เป็นภาพวาดของพระพุทธเจ้าตั้งแต่ปางประสูติ ตรัสรู้ ปริพนิพาน รวมถึงปางอื่นๆด้วย เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนาที่ตั้งอยู่บนฐานของความเชื่อเรื่องบุญบาปและผลกรรมที่กระทำ ฉะนั้นในภาพพระบฎนี้จึงเขียนตามความเชื่อ เมื่อจะเขียนภาพจึงดูเหนือจริงให้เห็นแต่เชิงสัญญลักษณ์เท่านั้น อย่างเช่นการเขียนภาพพระพุทธเจ้าก็จะเขียนภาพตามคัมภีร์มหาบุรุษลักษณะที่ระบุถึงรูปแบบลักษณะของพระพุทธเจ้าเอาไว้ หรือการเขียนภาพต้นไม้หรือภูเขาก็เป็นเชิงสัญญะให้เข้าใจได้ง่าย ภาพพระบฏวัดหลวงฮอดผืนนี้มีการวาดแบ่งออกเป็นสี่ช่องตามแนวขวางของผืนผ้า โดยเริ่มเรื่องที่ช่องล่างสุดขวามือและไปฝั่งซ้ายมือ  ต่อไปยังช่องที่สองจากล่างโดยเริ่มที่ฝั่งซ้ายมือไปยังฝั่งขวามือ ขึ้นไปช่องที่สามฝั่งขวามือเรื่องขึ้นต่อไปยังช่องที่สี่บนสุด และกลับมาจบที่ช่องที่สามฝั่งซ้ายมือ ภาพเขียนอยู่ภายในกรอบทั้งสี่ด้านใช้สีเขียวดำมีสีเหลืองทองเขียนเป็นลวดลายตลอดทั้งสี่ด้าน ภาพพื้นหลังเป็นสีแดงชาดพร้อมทั้งมีภาพดอกไม้ร่วงเขียนอยู่ในช่องว่างที่วางอยู่เป็นระเบียบในระหว่างภาพเต็มทั้งผืน 

ภาพเขียนแถวล่างสุดเริ่มที่ฝั่งขวามือเป็นพุทธประวัติปางประสูติถัดไปซ้ายมือสุดเป็นตรัสรู้ ในแถวที่สองจากล่างสุดฝั่งซ้ายมือเป็นปางตรัสรู้ ถัดขึ้นไปแถวสองจากล่างสุดมีภาพพระพุทธประวัติทั้งหมด 3 ตอนประกอบด้วย ซ้ายมือสุดเป็นภาพพุทธประวัติปางปฐมเทศนา ตรงกลางช่องเป็นภาพตอนป่าเลไลย์ ขวาสุดภาพขาดหายไปค่อนข้างมากแต่น่าจะพอสันนิษฐานจากรูปร่างของภาพที่เหลือได้ว่าเป็นทรมานช้างนาฬาคีรี ภาพวาดในช่องที่สามจากล่างสุดประกอบด้วภาพพุทธประวัติทั้งหมด 3 ตอนเช่นเดียวกับช่องที่สองประกอบด้วย ภาพวาดในบริเวณขวามือและซ้ายมือภาพบริเวณนี้ชำรุดเสียหายค่อนข้างมากและถูกซ่อมแซมมาแล้ว จากภาพในช่องขวามือเป็นรูปร่างคล้ายพระสัมมาพระพุทธเจ้าประทับยืนอยู่บนต้นไม้น่าจะพอสันนิษฐานได้ว่าน่าจะเป็นตอนยมกปาฎิหาริย์ ถัดมากลางช่องเป็นภาพพระสัมมาพระพุทธเจ้าประทับนั่งปางมารวิชัยใต้ต้นไม้ น่าจะเป็นตอนมารวิชัยปริวัตต์ ซ้ายมือสุดภาพบริเวณนี้ชำรุดเสียหายค่อนข้างมากและได้ผ่านการซ่อมแซมมาแล้วเช่นกัน จากรูปร่างของภาพในตอนนี้น่าจะพอสันนิษฐานได้ว่าเป็นภาพปางปรินิพพาน ส่วนภาพวาดแถวบนสุดเป็นภาพเกี่ยวกับภพภูมิเทวโลกบนสวรรค์ กล่าวคือด้านซ้ายขวาเป็นภาพพระเจดีย์ที่น่าจะเป็นพระเกศแก้วจุฬามณี ตรงกลางเป็นภาพตอนเสด็จลงจากดาวดึงส์

PUBLISHER:
หอภาพถ่ายล้านนา โดย มูลนิธิรองศาสตราจารย์ กันต์ พูนพิพัฒน์
OTHER CONTRIBUTORS:
หอภาพถ่ายล้านนา โดย มูลนิธิรองศาสตราจารย์ กันต์ พูนพิพัฒน์
DATE:
01/07/2562
RESOURCE TYPE:
จิตรกรรม
FORMAT:
Image/jpeg
RESOURCE IDENTIFIER:
คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิหอภาพถ่ายล้านนา ในกำกับของกรรมการอำนวยการหอภาพถ่ายล้านนา
SOURCE:
ภาพพระบฎ
LANGUAGE:
ไทย/อังกฤษ
RELATION:
COVERAGE:
RIGHT MANAGEMENT:
หอภาพถ่ายล้านนา โดย มูลนิธิรองศาสตราจารย์ กันต์ พูนพิพัฒน์

Physical Data

COLLECTION NAME:
เชียงใหม่
IMAGE CODE:
02_26_20190805_MR26-01_01
SUBJECT AGE:
ประมาณพุทธศตวรรษที่ 20 – 21 (พ.ศ.1900 – 2100)
CATEGORY:
พระบฏ จิตรกรรมบนผืนผ้า
PROVENANCE:
ศาสตราจารย์ กันต์ พูนพิพัฒน์
COVERAGE:
ORIGINAL SIZE:
97 x 158 cm.
DIGITAL SIZE:
5222 x 2500 Pixels.