ภาพพระบฏวัดป่าหัด ผืนที่ 3

Category:

Description

Digital Data

TITLE:
น่าน
AUTHOR:
หอภาพถ่ายล้านนา โดย มูลนิธิรองศาสตราจารย์ กันต์ พูนพิพัฒน์
KEYWORDS:
DESCRIPTION:

 จิตรกรรมภาพพระบฏบนกระดาษสาของวัดป่าหัดภาพนี้ ด้านหน้าเป็นภาพมหาเวสสันดรชาดก กัณฑ์ที่ 5 กัณฑ์ชูชก มีความว่านางอมิตตดาเสียใจที่โดนว่ากล่าว สาปแช่งต่างๆนานนา จะเอาแบบชาวบ้านนั้นก็ไม่ชอบเพราะไม่เคยอบรมมาคับอกคับใจ ในที่สุดเทวดาดลใจให้บอกชูชกไปขอชาลีกัณหาสองกุมาร พระโอรสของพระเวสสันดรมาเป็นทาสช่วงใช้ แม้ชูชกจะแก่กว่าที่จะเดินทางไปเขาวงกตเพื่อขอสองกุมาร แต่เมื่อถูกเมียสาวขู่บังคับเช่นนั้น ก็ต้องฝืนใจไป ในที่สุดชูชกก็หอบร่างแก่ไปถึงพระนครสีพี เมืองของพระเวสสันดร เพราะความลุกลี้ลุกลนใคร่จะเดินทางไปให้ถึงพระเวสสันดรโดยเร็ว ทำให้ชูชกขาดความรอบคอบไม่เหมือนคราวก่อนๆ ที่เดินทางมาขอทาน เห็นกลุ่มชนที่ใดเป็นถามถึงที่อยู่ของพระเวสสันดรพร้อมทั้งแนวทางที่จะเดินไปให้ถึงที่หมายด้วย

ในภาพเรื่องราวจะแบ่งเป็นสองส่วนคือ ส่วนล่างเป็นเหตุการณ์ที่นางอมิตดาให้ชูชกไปขอกัณหาชาลีจากพระเวสสันดร ในบริเวณด้านบนมีอักษรล้านนาเช่นกัน อ่านได้ความว่า “ปู่พราม” แปลได้ว่า “พราหมณ์เฒ่าหรือหมายถึงชูชก” ทั้งชูชกและนางอมิตดาอยู่บนเรือนที่คล้ายเรือนกาแลยกพื้น มีชานเรือนด้านหน้า การแต่งกายของนางอมิตดาและเหล่าหญิงเมียพราหมณ์ เป็นแบบสาวชาวเมืองปัวในยุคนั้นคือ เปลือยอกนุ่งซิ่นที่เรียกว่า “ซิ่นป้อง”  เป็นซิ่นที่มีลักษณะเฉพาะที่สามารถพบได้ในแถบเมืองน่านเท่านั้น เป็นซิ่นที่มีแนวขวางลำตัวแบบ “ซิ่นต๋า” ของหญิงชาวไทยวน และ “ซิ่นเคื่อง” ของหญิงชาวไทลื้อ แต่“ซิ่นป้อง” มีการออกแบบโครงสร้างใหม่และตกแต่งด้วยกรรมวิธีการทอหลากหลายวิธี ทำให้เป็นซิ่นที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตน ในภาพน่าจะตกแต่งลวดลายด้วยกรรมวิธีหลากหลายกรรมวิธีตั้งแต่ กรรมวิธีการทอแบบ “ล้วง” ที่ทำให้เกิดลวดลายคล้ายคลื่นในช่วงกลางซิ่นสลับเป็นช่วงๆ ส่วนด้านล่างน่าจะเกิดจากกรรมวิธีการทอแบบขิด หรือที่ในเมืองน่านเรียกว่า “เก็บมุก ยกมุก หรือเก็บดอก” ทำผมมุ่นมวยเรียกว่าเกล้าแบบ “วิดว้อง”ไว้กลางศีรษะ มัดมวยด้วยสร้อยคำหรือสร้อยทอง และไม่สวมรองเท้า นางอมิตดาหาบกระปุงน้ำ ที่ในลานนาเรียกว่า “น้ำถุ้ง”เป็นภาชนะสานด้วยไม้ไผ่ก้นแหลม ยาแนวกันรั่วด้วยชันและน้ำมันยาง มีงวงที่ทำจากไม้จริงขัดกันสำหรับผูกเชือกหย่อนลงไปตักน้ำขึ้นมาจากบ่อหรือแม่น้ำ ลำธาร การแต่งกายของชูชกนุ่งผ้าที่มีลวดลายผืนเดียวที่เรียกว่านุ่งแบบ“นุ่งผ้าต้อย”หรือ“เค็ดม่าม”โดยจะม้วนผ้าเป็นเกลียวสอดระหว่างขาเป็นการนุ่งแบบเดียวกับการถกเขมร 

ส่วนภาพด้านบนเป็นเหตุการณ์ที่ชูชก เดินทางไปหาเขาวงกตที่พระเวสสันดรประทับอยู่ การแต่งกายของชูชกนุ่งผ้าที่มีลวดลายผืนเดียวที่เรียกว่านุ่งแบบ“นุ่งผ้าต้อย”หรือ“เค็ดม่าม”โดยจะม้วนผ้าเป็นเกลียวสอดระหว่างขาเป็นการนุ่งแบบเดียวกับการถกเขมร สะพายถุงย่าม ที่คนในล้านนาเรียกว่า “ถุงย่ามขาวแซงดำ” ที่เป็นที่นิยมใช้ของชายชาวไทยวนในล้านนา

PUBLISHER:
หอภาพถ่ายล้านนา โดย มูลนิธิรองศาสตราจารย์ กันต์ พูนพิพัฒน์
OTHER CONTRIBUTORS:
หอภาพถ่ายล้านนา โดย มูลนิธิรองศาสตราจารย์ กันต์ พูนพิพัฒน์
DATE:
04/07/2565
RESOURCE TYPE:
ภาพเขียนจิตรกรรมบนกระดาษสา (พระบฏ)
FORMAT:
Image/jpeg
RESOURCE IDENTIFIER:
คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิหอภาพถ่ายล้านนา ในกำกับของกรรมการอำนวยการหอภาพถ่ายล้านนา
SOURCE:
ภาพเขียนจิตรกรรมบนกระดาษสา (พระบฏ)
LANGUAGE:
ไทย/อังกฤษ
RELATION:
COVERAGE:
วัดป่าหัด อำเภอปัว จังหวัดน่าน ภาคเหนือ ประเทศไทย
RIGHT MANAGEMENT:
หอภาพถ่ายล้านนา โดย มูลนิธิรองศาสตราจารย์ กันต์ พูนพิพัฒน์

Physical Data

COLLECTION NAME:
น่าน
IMAGE CODE:
000
SUBJECT AGE:
ปีพุทธศักราช 2406
CATEGORY:
ภาพเขียนจิตรกรรมบนกระดาษสา (พระบฏ)
PROVENANCE:
ศาสตราจารย์กันต์ พูนพิพัฒน์
COVERAGE:
วัดป่าหัด อำเภอปัว จังหวัดน่าน ภาคเหนือ ประเทศไทย view map
ORIGINAL SIZE:
พระบฏทั้งผืน ขนาด 35.5 x 58 cm
DIGITAL SIZE:
12,500×15,000 Pixel