ภาพเขียนบนกระดาษ (ปั๊บสา) วัดหนองบัว – คู่ที่ 4 (ด้านหน้า)

SKU: DC_MR_02_29_20191008_MR29-02.1_05 Category:

Description

Digital Data

TITLE:
น่าน
AUTHOR:
หอภาพถ่ายล้านนา โดย มูลนิธิรองศาสตราจารย์ กันต์ พูนพิพัฒน์
KEYWORDS:
DESCRIPTION:

ภาพปั๊บสาวัดหนองบัวคู่ที่สี่ด้านหน้า

ภาพลายเส้นในปั๊บสาคู่ที่สี่ด้านหน้านี้จะวาดลงบนปั๊บสาด้วยกันสองคู่ มีภาพลายเส้นอยู่ด้วยกันทั้งหมด 3 ภาพคือภาพชุดฝั่งขวามือเป็นภาพเวสสันดรชาดกในตอนของกัณฐ์ที่ 8 กัณฑ์กุมาร ที่ชูชกเข้าเฝ้าพระเวสสันดรเพื่อทูลขอกัณหาและชาลี ภาพลายเส้นบนซ้ายเป็นภาพของลิงในท่าเสพสังวาส และภาพล่างซ้ายเป็นภาพถุงย่ามที่มีการแสดงให้เห็นถึงของบรรจุอยู่ภายใน 

ภาพชุดฝั่งขวามือเป็นภาพในตอนของกัณฐ์ที่ 8 กัณฑ์กุมารของเรื่องเวสสันดรชาดก เป็นตอนที่ชูชกเข้าเฝ้าพระเวสสันดรเพื่อทูลขอกัณหาและชาลี และพระเวสสันดรได้หลั่งทักษิโณทกยกกัณหาและชาลีให้แก่ชูชก ภาพของพระเวสสันดรที่ “หนานบัวผัน”หรือ “ทิดบัวผัน” ได้เป็นผู้วาดนั้นเราจะสามารถพบได้แตในปั๊บสาเล่มนี้เท่านั้น เพราะไม่เคยปรากฎเรื่องพระเวสสันดรที่”หนานบัวผัน”หรือ”ทิดบัวผัน” ได้วาดลงบนจิตรกรรมฝาผนังของวัดใดเลย เครื่องทรงของพระเวสสันดรเป็นเครื่องทรงของพระฤาษีหรือนักบวชมีลักษณะเป็นเสื้อตัวยาวแขนเดี่ยวลายเสือโคร่ง สวมครอบศีรษะทรงสูง กัณหาและชาลีก็ใส่เสื้อของพระฤาษีหรือนักบวชเช่นกัน ส่วนการแต่งกายของชูชกเป็นรูปแบบการแต่งกายของชายในล้านนาในอดีตคือไม่สวมเสื้อใว้ผมสั้น นุ่งผ้าพื้นสีเรียบผืนเดียวที่เรียกว่านุ่งแบบ “นุ่งผ้าต้อย”หรือ“เค็ดม่าม”โดยจะม้วนผ้าเป็นเกลียวสอดระหว่างขาเป็นการนุ่งแบบเดียวกับการถกเขมรหรือโจงกระเบน

ภาพลายเส้นบนซ้ายเป็นภาพของลิงในท่าเสพสังวาส ภาพลายเส้นภาพนี้น่าจะเป็นภาพเดียวกันที่ปรากฎบนจิตรกรรมฝาผนังวัดภูมินทร์ อ.เมือง จ.น่าน ฝั่งทิศตะวันตกอยู่ในบริเวณฝั่งซ้ายของผนังถ้าเรามองออกจากวิหาร เหนือภาพ”ปู่ม่านย่าม่าน”หรือภาพ”กระซิบรัก”อันโด่งดังของวัดภูมินทร์ 

ส่วนภาพลายเส้นล่างซ้ายเป็นภาพถุงย่ามที่มีการแสดงให้เห็นถึงของบรรจุอยู่ภายใน “ถุงย่าม”ในอดีตถือเป็นสิ่งสำคัญอย่างหนึ่งของคนทั่วไปในแถบนี้ ทำจากผ้าทอนำมาเย็บต่อกันให้มีสายยาวเพื่อจะสะพายได้เอาไว้ใส่ของจำเป็นต่างๆคล้ายกับปัจจุบันที่นิยมถือกระเป๋านั้นเอง ถุงย่ามนี้จะมีสีและลวดลายต่างกันไปในแต่ละกลุ่มชนชาติ อย่างเช่นกลุ่มคนไทยวนจะใช้ย่ามพื้นมีสีขาวมีลายเส้นสีดำเรียกว่า”ย่ามขาวแซงดำ” ส่วนคนไทลื้อจะใช้ย่ามพื้นสีแดงมีลวดลายการตกแต่งเฉพาะกลุ่มที่แตกต่างกันไป อย่างเช่นกลุ่มไทลื้อเมืองเงินนิยมที่จะตกแต่งที่ปากถุงย่ามด้วยกรรมวธีการจกหรือการล้วง หรืออย่างเช่นไทลื้อในเขตหลวงพระบางของลาวจะนิยมตกแต่งด้วยกรรมวิธีการทอด้วยการจกอย่างเดียว

PUBLISHER:
หอภาพถ่ายล้านนา โดย มูลนิธิรองศาสตราจารย์ กันต์ พูนพิพัฒน์
OTHER CONTRIBUTORS:
หอภาพถ่ายล้านนา โดย มูลนิธิรองศาสตราจารย์ กันต์ พูนพิพัฒน์
DATE:
07/02/2558
RESOURCE TYPE:
ปั๊บสา (คัมภีร์ธรรมล้านนา)
FORMAT:
Image/jpeg
RESOURCE IDENTIFIER:
คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิหอภาพถ่ายล้านนา ในกำกับของกรรมการอำนวยการหอภาพถ่ายล้านนา
SOURCE:
ปั๊บสา (คัมภีร์ธรรมล้านนา)
LANGUAGE:
ไทย/อังกฤษ
RELATION:
COVERAGE:
วัดหนองบัว อ.ท่าวังผา จ.น่าน ภาคเหนือ ประเทศไทย
RIGHT MANAGEMENT:
หอภาพถ่ายล้านนา โดย มูลนิธิรองศาสตราจารย์ กันต์ พูนพิพัฒน์

Physical Data

COLLECTION NAME:
น่าน
IMAGE CODE:
DC_MR_02_29_20191008_MR29-02.1_05
SUBJECT AGE:
CATEGORY:
จิตรกรรมบนปั๊บสา (คัมภีธรรมล้านนา)
PROVENANCE:
ศาสตราจารย์ กันต์ พูนพิพัฒน์
COVERAGE:
ORIGINAL SIZE:
85.5 x 140 cm
DIGITAL SIZE:
2998 x 4642 Pixels