ภาพถ่ายชุดเมืองเชียงตุง

Category:

Description

Digital Data

TITLE:
เชียงตุง
AUTHOR:
หอภาพถ่ายล้านนา
KEYWORDS:
DESCRIPTION:
ภาพถ่ายเจ้าฟ้าเสือห่มฟ้า เมืองแสนหวี และเจ้านางยุ่นจี่  ซึ่งมีสัญชาติเป็นคนไทย ประทับอยู่บนตั่ง ที่เป็นศิลปะรูปแบบของพม่า  บนตั่งมีหมอนผา(หมอนสามเหลี่ยม) ที่ด้านหน้ามีการปักด้วยลวดลายที่เป็นเฉพาะของชาวไทใหญ่ ด้านหน้าตั่งทอดกระโถนอยู่ 2 ใบ ด้านหลังมีผ้าปักแบบพม่าที่เรียกว่า “กาละกัต” ขนาดใหญ่แขวนอยู่
ฉลององค์ของเจ้าฟ้าเป็นเสื้อครุย มีชื่อเรียกว่า”ตุ๊หยิ่น” มีต้นแบบจากเครื่องทรงของกษัตริย์พม่า สวมกางเกงตัวหลวมเรียกว่า “เตี่ยวเป่าโย่ง” ส่วนเจ้านางยุ่นจี่ ใส่เสี้อไตหรือเสื้อหน้าหว่าย ที่น่าจะตัดเย็บจากผ้าที่นำเข้ามาจากต่างประเทศ นุ่งผ้าซิ่นที่เป็นผ้าไหมหรือแพรพื้นเรียบ เกล้าผมทรงกระบอก
PUBLISHER:
หอภาพถ่ายล้านนา โดย มูลนิธิ รองศาสตราจารย์กันต์ พูนพิพัฒน์
OTHER CONTRIBUTORS:
หอภาพถ่ายล้านนา โดย มูลนิธิ รองศาสตราจารย์กันต์ พูนพิพัฒน์
DATE:
07/11/2562
RESOURCE TYPE:
ภาพถ่ายโบราณ
FORMAT:
Image/jpeg
RESOURCE IDENTIFIER:
คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิหอภาพถ่ายล้านนา ในกำกับของกรรมการอำนวยการหอภาพถ่ายล้านนา
SOURCE:
ภาพถ่ายโบราณ
LANGUAGE:
ไทย/อังกฤษ
RELATION:
การปักผ้าฉากแขวนผนัง ของพม่า ที่เรียกว่า “กาละกัต” ผ้าปักหนึ่งผืนใช้ผู้ปักมากกว่า 1 คน เนื่องจากมีขนาดใหญ่ ใช้วิธีการปักหลากหลาย ทั้งการยึดตรึงวัสดุนานาชนิด เช่น กระจก ลูกแก้ว เลื่อม ลงไปบนผืนผ้า หรือการเดินเส้นเชือก ดิ้นโปร่งและดิ้นข้อศิลปะการปักผ้านี้ นิยมอย่างมากในช่วงยุครัตนพล หรือราชวงศ์คองบองของพม่า แม้ภายหลังสิ้นสุดการปกครองแบบระบบกษัตริย์ไปแล้ว ก็ยังคงนิยมกันต่อมา จนกลายเป็นสินค้าของที่ระลึกที่มีชื่อเสียงของประเทศพม่า
COVERAGE:
บ้านเจ้าเเก้วเมือง (น้อย) ณ เชียงตุง อ.เเม่สาย จังหวัดเชียงราย
RIGHT MANAGEMENT:
หอภาพถ่ายล้านนา โดย มูลนิธิ รองศาสตราจารย์กันต์ พูนพิพัฒน์

Physical Data

COLLECTION NAME:
เชียงตุง
IMAGE CODE:
DC077910102020_14_CT
SUBJECT AGE:
ประมาณกลางพุทธศตวรรษที่ 25
CATEGORY:
ภาพถ่าย
PROVENANCE:
ศาสตราจารย์ กันต์ พูนพิพัฒน์
COVERAGE:
ORIGINAL SIZE:
10 x 14 cm
DIGITAL SIZE:
2998 x 4642 Pixels