จิตรกรรมทิศใต้ฝั่งตะวันตก 1.14

Category:

Description

Digital Data

TITLE:
น่าน
AUTHOR:
หอภาพถ่ายล้านนา โดย มูลนิธิรองศาสตราจารย์ กันต์ พูนพิพัฒน์
KEYWORDS:
DESCRIPTION:

ภาพเขียนจิตรกรรมบริเวณฝั่งขวาของหน้าต่าง ภาพเขียนบริเวณนี้ลบเลือนไปมาก แต่ก็ยังพอเห็นรายละเอียดของภาพในส่วนสำคัยอยู่บ้าง ซึ่งเป็นเรื่องราวภายหลังจากนางยักษ์กลับมายังปราสาทของตน เเล้วมาเห็นเครื่องใช้ต่างๆถูกทำลายเสียสิ้น ทั้งยังเห็นคู่หนุ่มสาวพลอดรักกันในปราสาท จึงเกิดโทสะ วิ่งเข้าไปจับนางสีดา หมายจะจับมากินเป็นอาหาร เมื่อเจ้าคัทธนกุมารเห็นดังนั้นจึงใช้ดาบศรีกัญไชยเข้าต่อสู้ เเละปราบนางยักษ์ลงได้ จากนั้นจึงเทศนาสั่งสอน จนนางยักษ์เกิดความละอายใจสำนึกในบาปที่ตนได้ทำมา จึงใช้ศรีษะของตนโขกลงพื้นเเละสิ้นใจตายในเวลาต่อมา

ในภาพเจ้าคัทธณะกุมารทรงเครื่องแบบกษัตริย์ของไทย หรือ แต่งกายแบบในละครนาฏศิลป์ของทางภาคกลาง (กรุงเทพ) คือ ทรงสวมสวมกรองศอและอินทรธนูทับบนเสื้อแขนยาว มีทับทรวงและสายสังวาลสะพายแล่ง นุ่งผ้าที่มีลวดลายผืนเดียวที่เรียกว่านุ่งแบบ“นุ่งผ้าต้อย” หรือ “เค็ดม่าม”โดยจะม้วนผ้าเป็นเกลียวสอดระหว่างขาเป็นการนุ่งแบบเดียวกับการถกเขมรหรือโจงกระเบน มัดเอวด้วยผ้าพื้นสีแดง เผยให้เห็นลายสักยันต์ตั้งแต่ท้องน้อยจนถึงหัวเข่า อันเป็นเอกลักษณ์อย่างหนึ่งของชายชาวไทยวนและไทลื้อในแถบนี้ ไว้ผมทรงมหาดไทย ลักษณะคือ ไว้ผมกลางศีรษะและด้านข้างโกนผมบริเวณโดยรอบ คล้ายกับการนำกะลามาครอบหัว แต่ไม่ได้แสกกลางแบบทางภาคกลางของไทย ซึ่งน่าจะได้รับอิทธิพลมาจากทางกรุงเทพ ในมือถือดาบศรีกัญไชย

ส่วนการนางยักษ์แต่งกายคล้ายกับการเเต่งกายในละครนาฏศิลป์ของทางภาคกลาง (กรุงเทพ) คือ สวมกระบังหน้ามีกรรเจียก คือ เครื่องประดับหูมีรูปเป็นกระหนก เปลือยอกและสวมกรองศอ มีทับทรวงและสายสังวาลสะพายแล่ง สวมพาหุรัดที่ต้นแขนและกำไล นุ่งซิ่นที่ในเมืองน่านเรียกว่า “ซิ่นม่าน” คำว่า “ม่าน” ในภาษาล้านนาแปลว่าพม่า ผ้าซิ่นม่านอาจจะได้รับอิทธิพลโครงสร้างมาจากซิ่นของหญิงชาวพม่า เลยนำชื่อมาตั้งเป็นชื่อของซิ่นชนิดนี้ เป็นซิ่นที่มีลักษณะเส้นในแนวขวางลำตัวเช่นกัน แต่เส้นขวางลำตัวมีการแบ่งช่องไม่เท่ากัน มีการตกแต่งด้วยกรรมวิธีการทอที่ในเมืองน่านเรียกว่า “มัดก่าน” หรือที่ทั่วไปเรียกว่ามัดหมี่ ซิ่นม่านถือเป็นผ้าซิ่นอีกชนิดหนึ่ง ที่มีโครงสร้างชนิดพิเศษและมีเอกลักษณ์เฉพาะ สามารถพบได้เฉพาะในเมืองน่านเท่านั้น

PUBLISHER:
หอภาพถ่ายล้านนา โดย มูลนิธิรองศาสตราจารย์ กันต์ พูนพิพัฒน์
OTHER CONTRIBUTORS:
หอภาพถ่ายล้านนา โดย มูลนิธิรองศาสตราจารย์ กันต์ พูนพิพัฒน์
DATE:
07/02/2558
RESOURCE TYPE:
จิตรกรรมฝาผนัง
FORMAT:
Image/jpeg
RESOURCE IDENTIFIER:
คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิหอภาพถ่ายล้านนา ในกำกับของกรรมการอำนวยการหอภาพถ่ายล้านนา
SOURCE:
จิตรกรรมฝาผนัง
LANGUAGE:
ไทย/อังกฤษ
RELATION:
COVERAGE:
วัดภูมินทร์ อำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน ภาคเหนือ ประเทศไทย
RIGHT MANAGEMENT:
หอภาพถ่ายล้านนา โดย มูลนิธิรองศาสตราจารย์ กันต์ พูนพิพัฒน์

Physical Data

COLLECTION NAME:
น่าน
IMAGE CODE:
000
SUBJECT AGE:
CATEGORY:
จิตรกรรมฝาผนัง
PROVENANCE:
ศาสตราจารย์กันต์ พูนพิพัฒน์
COVERAGE:
วัดภูมินทร์ อำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน ภาคเหนือ ประเทศไทย view map
ORIGINAL SIZE:
11.43×6.82 เมตร(ขนาดรวมทั้งฝาผนัง)
DIGITAL SIZE:
62,342×20,703 Pixels