ภาพเขียนจิตรกรรมบนผืนผ้า (พระบฏ) วัดพระยืน – กัณฑ์ที่ 13 นครกัณฑ์

Description

Digital Data

TITLE:
ลำพูน
AUTHOR:
หอภาพถ่ายล้านนา โดย มูลนิธิรองศาสตราจารย์ กันต์ พูนพิพัฒน์
KEYWORDS:
, , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , ,
DESCRIPTION:
ภาพพระบฏชุดที่ แผ่นที่ อักษรล้านนาประกอบในภาพดังต่อไปนี้ 
อักษรด้านขอบล่างของผ้า
ใบธี่ 24 นคร
ภาพวาดแผ่นนี้เป็น กัณฑ์ที่ 13 นครกัณฑ์ เป็นกัณฑ์ที่หกกษัตริย์นำพยุหโยธาเสด็จนิวัติพระนครพระเวสสันดรขึ้นครองราชย์แทนพระราชบิดา พระเจ้ากรุงสัญชัยตรัสสารภาพผิด พระเวสสันดรจึงทรงลาผนวชพร้อมทั้งพระนางมัทรีและเสด็จกลับสู่สีพีนคร เมื่อเสด็จถึงจึงรับสั่งให้ชาวเมืองปล่อยสัตว์ที่กักขัง ครั้นยามราตรีพระเวสสันดรทรงปริวิตกว่า รุ่งเช้าประชาชนจะแตกตื่นมารับบริจาคทานจึงบันดาลให้มีฝนแก้ว 7 ประการ  ตกลงมาในนครสีพีสูงถึงหน้าแข้ง พระเวสสันดรจึงทรงประกาศให้ประชาชนขนเอาตามปรารถนา ที่เหลือให้ขนเข้าคลังหลวง ในการต่อมาพระเวสสันดรเถลิงราชสมบัติปกครองนครสีพีโดยทศพิธราชธรรมบ้านเมืองร่มเย็นเป็นสุขตลอดพระชนมายุ  ในภาพน่าจะเป็นการเฉลิมฉลองที่พระเวสสันดรกลับสู่นครสิพี ที่ในขบวนเฉลิมฉลองมีเครื่องดนตรีและการละเล่นแบบต่างๆ โดยมีตั้งแต่กลองสะบัดชัย ตะโล้ดโป๊ด (กลองสองหน้า) ฉาบ ปี่แนและปี่จุม พร้อมคนฟ้อนรำในขบวน แถวบนฝั่งขวาน่าจะเป็นการฟ้อนดาบ และในฝั่งซ้ายบนของภาพจะเป็นภาพการชักโคมที่มีชื่อผู้ที่ทำบุญขึ้นเสาตามที่ศรัทธาท่านนั้นเป็นผู้ถวายในกัณฑ์นั้นๆ ที่เป็นประเพณีอย่างหนึ่งในการทำบุญกัณฑ์เทศของชาวล้านนาในอดีต ส่วนการแต่งกายในภาพนี้มีความหลากหลายที่น่าสนใจในการศึกษาเป็นอย่างมาก ตั้งแต่การแต่งกายของนักดนตรีเป็นรูปแบบที่ได้รับอิทธิพลจากทางกรุงเทพคือมีการสวมเสื้อที่มีตั้งแต่เสื้อสีพื้นเรียบหรือเสื้อลายดอก ไว้ผมสั้นสวมหมวกทรงสูงที่เป็นแบบของทางชาติตะวันตก สวมโจงกระเบน แต่ก็ยังมีการนักดนตรีบางคนและคนที่ชักโคมที่ยังแต่งกายแบบล้านนาดั้งเดิมคือไม่สวมเสื้อใว้ผมสั้น นุ่งผ้ามีลวดลายหรือผ้าพื้นสีเรียบผืนเดียวที่เรียกว่านุ่งแบบ “นุ่งผ้าต้อย”หรือ“เค็ดม่าม”โดยจะม้วนผ้าเป็นเกลียวสอดระหว่างขาเป็นการนุ่งแบบเดียวกับการถกเขมรหรือโจงกระเบน เผยให้เห็นลายสักยันต์ตั้งแต่ท้องน้อยจนถึงหัวเข่าที่มีลวดลายสัตว์หิมพานต์ อันเป็นเอกลักษณ์อย่างหนึ่งของชายชาวไทยวนในแถบนี้ ส่วนกลุ่มชายที่ยืนถือธงต่างๆอยู่หน้าที่แขวนโคมเป็นกลุ่มที่มีการแต่งกายน่าสนใจเป็นอย่างมากเพราะมีทั้งชายสองคนแรกซ้ายสุดที่มีหน้าที่ชักโคมมีการแต่งกายแบบชายชาวไทยวน ส่วนชายคนต่อมาน่าจะเป็นการแต่งกายของชาวกะเหรี่ยง และชายสี่คนที่ถือธงมีการแต่งกายแบบที่มาจากทางกรุงเทพคือ ใส่เสื้อแขนยาวไว้ผมสั้น สวมโจงกระเบน
PUBLISHER:
หอภาพถ่ายล้านนา โดย มูลนิธิรองศาสตราจารย์ กันต์ พูนพิพัฒน์
OTHER CONTRIBUTORS:
หอภาพถ่ายล้านนา โดย มูลนิธิรองศาสตราจารย์ กันต์ พูนพิพัฒน์
DATE:
08/04/2562
RESOURCE TYPE:
จิตรกรรมฝาผนัง
FORMAT:
Image/jpeg
RESOURCE IDENTIFIER:
คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิหอภาพถ่ายล้านนา ในกำกับของกรรมการอำนวยการหอภาพถ่ายล้านนา
SOURCE:
จิตรกรรมฝาผนัง
LANGUAGE:
ไทย/อังกฤษ
RELATION:
พระบฏ คือ ผืนผ้าที่มีรูปพระพุทธเจ้าเป็นต้นและแขวนไว้เพื่อบูชา คำว่า บฏ มาจากคำในภาษาบาลีว่า ปฏ (อ่านว่า ปะ-ตะ) แปลว่า ผ้าทอ หรือ ผืนผ้า ส่วนมากเป็นผ้าแถบยาว มีวาดภาพพระพุทธเจ้า นิยมแขวนไว้ในสถานที่จัดพิธีกรรมในพุทธศาสนา ใช้แทนที่พระพุทธรูป เพื่อเป็นที่เคารพบูชา ในล้านนาเรียกกันว่า “ตุงค่าว” หรือ ตุงค่าวธรรม ใช้ประกอบพิธีกรรมทางศาสนา เช่น เทศน์มหาชาติ เเละตั้งธรรมหลวง เป็นต้น
COVERAGE:
RIGHT MANAGEMENT:
หอภาพถ่ายล้านนา โดย มูลนิธิรองศาสตราจารย์ กันต์ พูนพิพัฒน์

Physical Data

COLLECTION NAME:
ลำพูน
IMAGE CODE:
02_28_20190617_MR28-01_25
SUBJECT AGE:
ประมาณกลางพุทธศตวรรษที่ 25
CATEGORY:
ภาพจิตรกรรมบนผืนผ้า (พระบฏ)
PROVENANCE:
ศาสตราจารย์ กันต์ พูนพิพัฒน์และ แปลภาษาล้านนา โดย ดร. อภิรดี เตชะศิริวรรณ
COVERAGE:
ORIGINAL SIZE:
147 x 86 cm.
DIGITAL SIZE:
2525 x 4000 Pixels