Description
Digital Data
ภาพเขียนหญิงสาวผู้หนึ่ง ซึ่งน่าจะเป็นหญิงสาวชาวไทยวนในล้านนา ลักษณะกำลังเกล้ามวย นำช่อดอกไม้ที่น่าจะทำจากเงินและหินสีมาทัดที่มวยผม บริเวณนี้มีอักษรล้านนาเขียนกำกับอยู่ อ่านได้ความว่า “อีนายสีเวย” แปลได้ว่า “เเม่นางสีเวย”
ทั้งนี้ภาพเขียนเเม่นางสีเวยภาพนี้ เขียนขึ้นมาด้วยองค์ประกอบของเครื่องแต่งกายคล้ายคลึงกับภาพเขียนของคล้ายคลึงกับภาพ “นางสีไว” ในจิตรกรรมฝาผนังฝั่งทิศตะวันออก (ด้านล่าง) ของวัดภูมินทร์ จังหวัดน่าน คือ การเเต่งกายแบบหญิงชาวไทยวนที่พบได้ทั่วไปในล้านนา คือ เปลือยอกนำผ้าที่มีลวดลายมาคล้องคอห้อยชายทั้งสองไปด้านหลัง นุ่งซิ่นต๋าต่อตีนแดง เกล้ามวยผมในแบบที่เรียกว่าทรง “ตั้งเกล้า” ไว้กลางศีรษะเจาะหูใส่ “ลานหู” มีลักษณะเป็นแผ่นใบลาน แผ่นเงิน หรือ ทองคำ นำมาม้วนแล้วใส่เข้าไป สวมกำไลทองคำและไม่สวมรองเท้า
นอกจากนี้ยังมีชุดอักษรล้านนาที่เขียนขึ้นภายหลังจำนวน 2 ชุด ประกอบด้วย ชุดอักษรชุดแรก อ่านได้ความว่า “ดอกสลิด” แปลได้ว่า “ดอกขจร” และชุดที่สอง อ่านได้ความว่า “อย่าหยุบแต๊เน้อ” แปลได้ว่า “อย่าจับนะ”
Physical Data