Description
Digital Data
ภาพเขียนนางแมนเหลา นั่งบนหลังช้าง ตามขบวนเสด็จเจ้ารัตนะเเสงเมือง เพื่อไปยังเมืองผาเงา ในบริเวณนี้มีชุดอักษรล้านนาเขียนกำกับอยู่ (ด้านบนนางแมนเหลา) อ่านได้ความว่า “นางแมนเหลา” ส่วนอักษรด้านหลังช้าง อ่านได้ความว่า “ข้าคระจ่า” แปลว่า “นางรับใช้”
นางแมนเหลาแต่งกายแบบสาวชาวไทยวนในล้านนา คือ นำผ้าแถบสีเรียบมาห่มเฉียงแบบสไบ หรือคล้องทิ้งชายไปด้านหลังเรียกว่า “สะหว้ายแหล้ง” หรือ “เบี่ยงบ้าย” นุ่งซิ่นตีนจกคือซิ่นต๋าที่ต่อด้วยตีนจก ที่นิยมใช้ในหญิงไทยวนของล้านนา มุ่นมวยเรียกว่าเกล้าแบบ “วิดว้อง”ไว้กลางศีรษะมัดมวยด้วยสร้อยคำหรือสร้อยทอง เจาะหูใส่ “ลานหู” มีลักษณะเป็นแผ่นใบลาน แผ่นเงิน หรือทองคำ นำมาม้วนแล้วใส่เข้าไป สวมกำไลทองคำ ส่วนควาญช้างแต่งกายแบบชายไทยวนในล้านนา คือ สวมเสื้อผ้าสีเรียบคอตั้งแขนยาว นุ่งผ้าผืนเดียวเรียกว่านุ่งแบบ“นุ่งผ้าต้อย” หรือ “เค็ดม่าม”โดยจะม้วนผ้าเป็นเกลียวสอดระหว่างขาเป็นการนุ่งแบบเดียวกับการถกเขมร หรือโจงกระเบน และสวมหมวกแบบของชาวตะวันตก ส่วนนางสนมกำนัลน้อยใหญ่ตามขบวนแต่งกายแบบหญิงชาวไทยวนในล้านนา คือ เปลือยอกมีการนำผ้าแถบสีเรียบและมีลวดลาย นำมาห่มคล้องคอห้อยชายไปด้านหลัง และห่มแบบที่เรียกว่า “สะหว้ายแหล้ง” หรือ “เบี่ยงบ้าย” นุ่งซิ่นต๋าที่เป็นที่นิยมของหญิงชาวไทยวนในล้านนา ไว้ผมมุ่นมวยเรียกว่าเกล้าแบบ “วิดว้อง” ไว้กลางศีรษะ และไม่สวมรองเท้า ส่วนเหล่าทหารด้านหลังสวมเสื้อสีแดงคอตั้ง แขนยาว ไว้ผมทรงมหาดไทย มือถือปืน
Physical Data