วัดหนองบัว ทิศเหนือช่องที่ 5(กัณฑ์ที่ 4 ตอนกลางและตอนท้าย)1.3

Description

Digital Data

TITLE:
น่าน
AUTHOR:
หอภาพถ่ายล้านนา โดย มูลนิธิรองศาสตราจารย์ กันต์ พูนพิพัฒน์
KEYWORDS:
DESCRIPTION:

ภาพเขียนจิตรกรรมบริเวณด้านบนเหนือประตูฝั่งขวา เขียนภาพขบวนแห่สุริยคาธบนหลังช้าง เพื่อไปเข้าเฝ้าพระญาธรรมสุชาต ครั้นนั้นอุกัษฐะเศรษฐีเข้ากราบทูลพระญาธรรมสุชาตถึงบุรุษผู้มีบุญสามารถรักษาพระราชธิดาให้ฟื้นคืนจากความตายได้ ครั้นพระราชาสดับเช่นนั้น ก็โสมนัสยิ่ง จึงตรัสว่า “ถ้าบุตรของท่านเศรษฐีสามารถเยียวยาธิดาของเราได้ เราจักยกราชสมบัติให้ จงไปนำตัวมาเดี๋ยวนี้” เมื่อเศรษฐีรับคำบัญชาของกษัตริย์จึงทูลลากลับไปยังเรือนของตน เเละเมื่อถึงเรือนจึงสั่งให้ข้าบริวารทั้งหลายเเต่งองค์ทรงเครื่องแก่สุริยคาธกุมารให้งดงามปานดังเทพบุตรหนุ่ม แวดล้อมด้วยกุมารกุมารีเเละเข้าไปยังพระนคร 

ในภาพเป็นภาพเขียนขบวนแห่ที่พระญาธรรมสุชาตส่งมาเชิญสุริยคาธ เข้าเมือง เพื่อรักษาพระธิดาที่สิ้นพระชนม์ได้หนึ่งเดือน บริเวณกลางภาพด้านบน ระหว่างร่มขนาดใหญ่และขบวนข้าบริพารชายแถวด้านหลัง มีอักษรล้านนาเขียนกำกับอยู่ อ่านได้ความว่า “พระญา…ทังหลายมา…ฅนคาดเมือ…เจ้าสุริยะคราท…” แปลได้ประมาณว่า “พระญาธรรมสุชาตส่งผู้คนทั้งหลายมาอัญเชิญสุริยคาธเข้าไปเพื่อรักษาพระธิดา”

การแต่งกายของสุริยคาธ คือ ใส่เสื้อคอตั้งแขนยาวสีขาว นุ่งโจงกระเบนสีขาวมีผ้าโพกหัวสีแดง สวมหมวกทรงกลมสีทอง ส่วนควาญช้างและคนถือฉัตร หรือ ร่ม แต่งกายแบบชายชาวไทยวน หรือ ชายชาวไทลื้อในล้านนาในยุคนั้น คือ สวมเสื้อคอตั้งแขนยาวทำจากผ้าพื้นสีเรียบ นุ่งผ้ามีลวดลาย หรือ ผ้าพื้นสีเรียบผืนเดียวเรียกว่านุ่งแบบ “นุ่งผ้าต้อย” หรือ “เค็ดม่าม” โดยจะม้วนผ้าเป็นเกลียวสอดระหว่างขาเป็นการนุ่งแบบเดียวกับการถกเขมร หรือ โจงกระเบน เผยให้เห็นลายสักยันต์ตั้งแต่ท้องน้อยจนถึงหัวเข่าที่มีลวดลายสัตว์หิมพานต์ อันเป็นเอกลักษณ์อย่างหนึ่งของชายชาวไทลื้อและไทยวนในแถบนี้ เเละไว้ทรงผมที่เรียกว่า “ทรงมหาดไทย” ลักษณะคือ ไว้ผมกลางศีรษะและด้านข้างโกนผมบริเวณโดยรอบ คล้ายกับการนำกะลามาครอบหัว แต่ไม่ได้แสกกลางแบบทางภาคกลางของไทย ที่น่าจะได้รับอิทธิพลมาจากทางกรุงเทพ และไม่สวมรองเท้า 

ส่วนเหล่าบริพารด้านหน้าขบวนมีการแต่งกายที่หลากหลาย เช่น กลุ่มเจ้าพนักงานบริเวณด้านหน้าสุด สวมเครื่องเเต่งกายแบบชาวบางกอกในยุคนั้น คือ สวมเสื้อผ้าสีเรียบแขนยาวนุ่งโจงกระเบน ไว้ผมทรงมหาดไทย ถัดมาเป็นกลุ่มทหารชาวต่างชาติ สวมเครื่องแต่งกายด้วยเสื้อแขนยาวสวมกางเกงขายาว ทำด้วยผ้าพื้นสีแดงเข้มทั้งชุด คาดเอวด้วยผ้าแดง สวมหมวกสีขาวแบบทหารชาวตะวันตกที่นิยมในยุคนั้น ในมือแบกปืนยาวที่เรียกว่า “ปืนคาบศิลา” ไว้หนวดและเคราซึ่งยังไม่ได้รับความนิยมในหมู่ชายชาวไทลื้อและไทยวนในยุคนั้นสักเท่าไร และสวมรองเท้าหนังสีดำ ส่วนกลุ่มทหารชาวต่างชาติที่เดินเป็นกลุ่มสุดท้าย สวมเครื่องแบบเป็นเสื้อแขนยาว สวมกางเกงขายาว ทำด้วยผ้าพื้นสีขาวทั้งชุด สวมหมวกสีดำแบบทหารชาวตะวันตกที่นิยมในยุคนั้น ในมือแบกไม้พลอง ส่วนกลุ่มนายทหารด้านท้ายขบวนสวมเครื่องแต่งกายแบบชายชาวไทยวน หรือชายชาวไทลื้อในล้านนาในยุคนั้น คือ สวมเสื้อคอตั้งแขนยาวทำจากผ้าพื้นสีเรียบ นุ่งผ้ามีลวดลายหรือผ้าพื้นสีเรียบผืนเดียวที่เรียกว่านุ่งแบบ “นุ่งผ้าต้อย” หรือ “เค็ดม่าม” โดยจะม้วนผ้าเป็นเกลียวสอดระหว่างขาเป็นการนุ่งแบบเดียวกับการถกเขมร หรือ โจงกระเบน เผยให้เห็นลายสักยันต์ตั้งแต่ท้องน้อยจนถึงหัวเข่าที่มีลวดลายสัตว์หิมพานต์ อันเป็นเอกลักษณ์อย่างหนึ่งของชายชาวไทลื้อและไทยวนในแถบนี้ ไว้ทรงผมที่เรียกว่า “ทรงมหาดไทย” ลักษณะคือ ไว้ผมกลางศีรษะและด้านข้างโกนผมบริเวณโดยรอบ คล้ายกับการนำกะลามาครอบหัว แต่ไม่ได้แสกกลางแบบทางภาคกลางของไทย ซึ่งน่าจะได้รับอิทธิพลมาจากทางกรุงเทพ และไม่สวมรองเท้า 

ส่วนภาพเขียนบริเวณด้านบนขวา เขียนภาพกลุ่มชาวจีน สวมเครื่องเเต่งกายแบบชาวจีนในยุคนั้น คือ สวมเสื้อสีแดงคอตั้งแขนยาวสาปเสื้อป้ายไปด้านข้าง สวมเกงเกงสีแดงขากว้างมีลายดำที่ชายกางเกง ในมือถือพัด อีกคนหนึ่งใส่เสื้อสีขาวคอตั้งแขนยาวสาปเสื้อป้ายไปด้านข้าง สวมเกงสีแดงขากว้างมีลายดำที่ชายกางเกง ทั้งสองสวมรองเท้าปลายมนหุ้มส้นซึ่งน่าจะทำจากผ้า ในบริเวณด้านหน้าชาวจีนมีภาษาล้านนาเขียนกำกับอยู่ พออ่านได้ความว่า “นาย…มะนาฅระ…จันทฅาท” ทั้งนี้เนื่องจากข้อความขาดหายไปจึงไม่สามารถแปลความหมายได้

PUBLISHER:
หอภาพถ่ายล้านนา โดย มูลนิธิรองศาสตราจารย์ กันต์ พูนพิพัฒน์
OTHER CONTRIBUTORS:
หอภาพถ่ายล้านนา โดย มูลนิธิรองศาสตราจารย์ กันต์ พูนพิพัฒน์
DATE:
07/02/2558
RESOURCE TYPE:
จิตรกรรมฝาผนัง
FORMAT:
Image/jpeg
RESOURCE IDENTIFIER:
คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิหอภาพถ่ายล้านนา ในกำกับของกรรมการอำนวยการหอภาพถ่ายล้านนา
SOURCE:
จิตรกรรมฝาผนัง
LANGUAGE:
ไทย/อังกฤษ
RELATION:
COVERAGE:
วัดหนองบัว อ.ท่าวังผา จ.น่าน ภาคเหนือ ประเทศไทย
RIGHT MANAGEMENT:
หอภาพถ่ายล้านนา โดย มูลนิธิรองศาสตราจารย์ กันต์ พูนพิพัฒน์

Physical Data

COLLECTION NAME:
น่าน
IMAGE CODE:
000
SUBJECT AGE:
CATEGORY:
จิตรกรรมฝาผนัง
PROVENANCE:
ศาสตราจารย์กันต์ พูนพิพัฒน์
COVERAGE:
วัดหนองบัว อ.ท่าวังผา จ.น่าน ภาคเหนือ ประเทศไทย view map
ORIGINAL SIZE:
17.29 x 3.4 เมตร(ขนาดรวมทั้งฝาผนัง)
DIGITAL SIZE:
15,200 x 9,400 Pixels