วัดหนองบัว ทิศเหนือช่องที่ 4 (กัณฑ์ที่ 3(1.7))

Description

Digital Data

TITLE:
น่าน
AUTHOR:
หอภาพถ่ายล้านนา โดย มูลนิธิรองศาสตราจารย์ กันต์ พูนพิพัฒน์
KEYWORDS:
DESCRIPTION:

ภาพเขียนจิตรกรรมซึ่งเขียนข้ามมาเล่าเรื่องบริเวณระหว่างหน้าต่างช่องที่ 3 กับประตู ฝั่งด้านข้างประตู

เขียนภาพภายหลังจากยักษ์นำสองกุมารกลับมายังเรือนของตน 

เรือนที่ในภาพเป็นเรือนโถงโล่งเเละมีม่านกั้น ด้านในเรือนมีศพนางยักษ์นอนตายอยู่  ครั้นเมื่อสุริยคาธเห็นนางยักษ์นอนตายอยู่ จึงอาสาเข้าช่วยด้วยการเคี้ยวเปลือกไม้วิเศษใส่ปากนางยักษ์ ด้วยฤทธิ์วิเศษของเปลือกไม้อันเป็นยาวิเศษนางยักษ์จึงกลับฟื้นคืน เมื่อนางฟื้นจากความตายแลเห็นกุมารทั้งสองจึงเข้าประคองกอด และไต่ถามว่า “ลูกเอ๋ย เจ้าพากันมาแต่ที่ไหน” กุมารจึงตอบแก่นางว่า “ข้าแต่แม่ ข้าพเจ้าทั้งสองหลงทางมา” นางยักษ์เกิดความรักใคร่เอ็นดูสองกุมารดังลูก นางจึงอุ้มสองกุมารไปอาบน้ำ ขัดสีด้วยเครื่องลูบไล้ แล้วนั่งกอดไว้กับตัก 

ฝ่ายยักษ์ผู้เป็นสามีเมื่อเห็นภรรยาของตนนั่งอยู่ จึงรู้ได้ทันทีว่าสองกุมารเป็นผู้ช่วยให้ภรรยาของตนฟื้นจากความตาย ตนเกิดความดีใจอย่างยิ่ง จึงได้เข้าไปกอดจูบกุมารทั้งสองด้วยความรักใคร่ 

ยักษ์ทั้งสองจึงปรึกษากันว่า พวกเราต้องพากุมารทั้งสองนี้ไปส่งให้ถึงที่อยู่ของหมู่มนุษย์ในคืนวันนี้ให้จงได้ ถ้าช้าไปจนอรุณขึ้น พวกยักษ์มาเห็นจักทำอันตรายได้ พวกเราต้องรีบไปในบัดนี้ 

ยักษ์ในภาพแต่งกายด้วยเครื่องเเต่งกายที่รับอิทธิพลจากทางภาคกลางได้ชัดเจน คือ สวมกระบังหน้ามีกรรเจียก คือ เครื่องประดับหูมีรูปเป็นกระหนกสวมเสื้อแขนยาว นุ่งสนับเพลา คือกางเกงขายาวประมาณครึ่งแข้งมีผ้าห้อยหน้า หรือ ชายไหวระหว่างชายแครงนุ่งโจงทับ ส่วนนางยักษ์ภาพเขียนเลือนลางจนไม่สามารถอธิบายได้

PUBLISHER:
หอภาพถ่ายล้านนา โดย มูลนิธิรองศาสตราจารย์ กันต์ พูนพิพัฒน์
OTHER CONTRIBUTORS:
หอภาพถ่ายล้านนา โดย มูลนิธิรองศาสตราจารย์ กันต์ พูนพิพัฒน์
DATE:
07/02/2558
RESOURCE TYPE:
จิตรกรรมฝาผนัง
FORMAT:
Image/jpeg
RESOURCE IDENTIFIER:
คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิหอภาพถ่ายล้านนา ในกำกับของกรรมการอำนวยการหอภาพถ่ายล้านนา
SOURCE:
จิตรกรรมฝาผนัง
LANGUAGE:
ไทย/อังกฤษ
RELATION:
ภาพจิตรกรรมที่เรียกได้ว่าเป็นของ สกุลช่างน่าน มีเอกลักษณ์เฉพาะตน ที่นำเอารูปแบบต่างๆทั้งศิลปะของไทลื้อ ศิลปะของทางรัตนโกสินทร์และศิลปะของพม่าแบบไทใหญ่ นำมาผสมผสานก่อให้เกิดรูปลักษณ์ที่เป็นของเฉพาะตนได้อย่างงดงาม มีรูปแบบคล้ายพบได้ที่วัดภูมินทร์ อำเภอมืองน่าน โดยมีการใช้สีจากธรรมชาติเป็นส่วนมากในการเขียน อาทิเช่น สีน้ำเงินจากคราม ที่เป็นสีหลักในการเขียนจิตรกรรม แต่เป็นที่น่าเสียดายที่จิตรกรรมเสียหายค่อนข้างมาก เนื่องจากน้ำฝนรั่ว ความชื้นจากดินด้านล่าง รวมถึงโดนน้ำท่วมมาด้วยกันหลายครั้ง
COVERAGE:
วัดหนองบัว อ.ท่าวังผา จ.น่าน ภาคเหนือ ประเทศไทย
RIGHT MANAGEMENT:
หอภาพถ่ายล้านนา โดย มูลนิธิรองศาสตราจารย์ กันต์ พูนพิพัฒน์

Physical Data

COLLECTION NAME:
น่าน
IMAGE CODE:
02_29_20150207_MR_วัดหนองบัว_18
SUBJECT AGE:
ประมาณกลางพุทธศตวรรษที่ 25
CATEGORY:
จิตรกรรมฝาผนัง
PROVENANCE:
ศาสตราจารย์กันต์ พูนพิพัฒน์
COVERAGE:
วัดหนองบัว อ.ท่าวังผา จ.น่าน ภาคเหนือ ประเทศไทย view map
ORIGINAL SIZE:
78×76 cm
DIGITAL SIZE:
25254×3760 Pixels

Loading