Description
Digital Data
ภาพเขียนเรื่องราวที่เกิดขึ้นบนชานหน้าเรือน โดยที่ฝั่งซ้ายมือของชานเรือนเป็นตอนที่สุริยคาธและจันทคาธ มอบไม้ไผ่ที่บรรจุด้วยแก้วแหวนเงินทอง ให้แก่บิดามารดา ส่วนภาพเขียนบริเวณฝั่งขวามือ (บนชานเรือน) เป็นตอนที่มีชาวบ้านนัมพะมาแจ้งแก่บิดามารดาของสองกุมารว่า ในไม้ไผ่บรรจุไปด้วยเงินทอง บิดามารดาของสองกุมารจึงผ่าดู
สุริยคาธและจันทคาธสวมใส่เสื้อแขนยาวปักด้วยดิ้นทอง สวมโจงกระเบนแบบทางกรุงเทพ ตัดผมสั้น ส่วนมารดาสวมใส่เสื้อตัวหลวมแขนยาว สวมผ้าซิ่นที่น่าจะเป็นซิ่นเชียงแสน เป็นรูปแบบของผ้าซิ่นเฉพาะที่พบได้แต่ในเมืองน่านเท่านั้น เกล้าผมไว้กลางศีรษะ ส่วนชายในภาพ สันนิษฐานว่าน่าจะเป็นบิดา และเหล่าชาวบ้านนัมพะบริเวณเรือน แต่งกายแบบชายชาวพื้นเมืองในแถบนี้ คือแต่งกายแบบชายไทในล้านนา คือ เปลือยอกนุ่งผ้ามีลวดลายหรือผ้าพื้นสีเรียบผืนเดียวที่เรียกว่านุ่งแบบ “นุ่งผ้าต้อย” หรือ “เค็ดม่าม” โดยจะม้วนผ้าเป็นเกลียวสอดระหว่างขาเป็นการนุ่งแบบเดียวกับการถกเขมร หรือ โจงกระเบน เผยให้เห็นลายสักยันต์ตั้งแต่ท้องน้อยจนถึงหัวเข่า นิยมสักลายสัตว์หิมพานต์ ถือเป็นเอกลักษณ์อย่างหนึ่งของชายชาวไทลื้อและไทยวนในแถบนี้
ในบริเวณนี้มีภาษาล้านนากำกับอยู่ อ่านได้ความว่า “เจ้าสุริยคราส..เจ้าจันทคราส..หื้อรู้..แล…”
Physical Data