วัดหนองบัว ทิศตะวันตก(1.1)

Description

Digital Data

TITLE:
น่าน
AUTHOR:
หอภาพถ่ายล้านนา โดย มูลนิธิรองศาสตราจารย์ กันต์ พูนพิพัฒน์
KEYWORDS:
DESCRIPTION:

ภาพเขียนจิตรกรรมในช่องกลางบริเวณด้านหลังพระประธาน เขียนเป็นภาพขนาดใหญ่ โดยแบ่งออกเป็นสองส่วน คือ ภาพเขียนบริเวณด้านบนเขียนภาพพระพุทธเจ้าสี่พระองค์ โดยเขียนไว้ข้างละสองพระองค์ เเละนับรวมพระประธานเป็นองค์ที่ห้า จึงหมายถึงพระเจ้าห้าพระองค์ในภัทรกัปป์ หรือ กัปป์ปัจจุบัน โดยแบ่งเป็น อดีตพระพุทธเจ้าสามพระองค์ คือ พระกุกกุสันธะ พระโกนาคม และพระกัสสปะ เเละพระพุทธเจ้าในปัจจุบันหนึ่งพระองค์ คือ พระโคตมะ และพระพุทธเจ้าในอนาคตอีกหนึ่งพระองค์ คือ พระศรีอาริยเมตไตรย บริเวณด้านหลังของพระเจ้าห้าพระองค์เขียนภาพทิวทัศน์ของดอยสิงคุตตระ (สิงหกุตตระ) อันประเสริฐ มีต้นไม้นิโครธ เเละสัตว์นานาชนิดอยู่อาศัย 

ส่วนภาพเขียนบริเวณด้านล่างเขียนภาพขนาดใหญ่ (เกือบเท่าตัวคน) เขียนภาพพระดาบส หรือพระฤๅษี ซึ่งสันนิษฐานว่าน่าจะรวมพระประธานเป็นองค์ที่ห้า ซึ่งก่อนจะเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเคยเป็นพระฤๅษีมาก่อน เเละระหว่างพระดาบส หรือพระฤๅษีในบริเวณด้านซ้ายเเละขวานั้น เขียนคั่นด้วยบาตรและตาลปัตร คือ เครื่องอัฐบริขารอันเกิดในดอกบัวทั้งห้าที่ถวายเป็นทานแก่พระพุทธเจ้าทั้งห้าพระองค์ในมหาภัทรกัป

พระดาบส หรือพระฤๅษีนี้สันนิษฐานว่าน่าจะเกิดมาเเต่ไข่ทั้งห้าฟองของแม่กาเผือก ซึ่งเป็นตำนานที่นำเอาความเชื่อเรื่องพระพุทธเจ้า 5 พระองค์ในภัทรกัลป์มาร้อยเรียงเป็นธัมม์ แฝงคำสอนเรื่องความกตัญญู และการบำเพ็ญบารมีตามคติทางพุทธศาสนา ซึ่งไข่ใบแรกแม่ไก่นำไปเลี้ยง ไข่ใบที่สองแม่นาค (หรืองู) นำไปเลี้ยง ไข่ใบที่สามแม่เต่านำไปเลี้ยง ไข่ใบที่สี่แม่โคนำไปเลี้ยง (บางตำนานก็กล่าวว่าเป็นหญิงซักผ้า) เเละไข่ใบที่ห้าแม่ราชสีห์นำไปเลี้ยง ครั้นพระโพธิสัตว์ทั้งห้าประสูติออกจากไข่ปรากฏเป็นมนุษย์ มีพระลักษณ์ประดุจดังเทวดา ครั้นเมื่อเจริญวัยก็คอยปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ กตัญญู รู้ทำหน้าที่ เเละทดแทนบุญคุณแม่เลี้ยงเป็นกิจ ครั้นเมื่ออายุได้ 12 ชวบปี ก็มีจิตคิดที่จะออกบวชเนกขัมบารมีเป็นพระฤาษีอยู่ในป่า จึงได้อำลาแม่เลี้ยงของตนออกบวชเป็นพระฤาษี ด้วยปณิธานอันแน่วแน่ของพระโพธิสัตว์ทั้งห้าพระองค์ ที่มุ่งมั่นจะบำเพ็ญบารมีพระโพธิญาณ เพื่อเป็นพระพุทธเจ้าโปรดสัตว์โลก ให้พ้นจากกองทุกข์ภัยในวัฏฏะสงสาร

PUBLISHER:
หอภาพถ่ายล้านนา โดย มูลนิธิรองศาสตราจารย์ กันต์ พูนพิพัฒน์
OTHER CONTRIBUTORS:
หอภาพถ่ายล้านนา โดย มูลนิธิรองศาสตราจารย์ กันต์ พูนพิพัฒน์
DATE:
07/02/2558
RESOURCE TYPE:
จิตรกรรมฝาผนัง
FORMAT:
Image/jpeg
RESOURCE IDENTIFIER:
คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิหอภาพถ่ายล้านนา ในกำกับของกรรมการอำนวยการหอภาพถ่ายล้านนา
SOURCE:
จิตรกรรมฝาผนัง
LANGUAGE:
ไทย/อังกฤษ
RELATION:
ภาพจิตรกรรมที่เรียกได้ว่าเป็นของ “สกุลช่างน่าน” มีเอกลักษณ์เฉพาะตน ที่นำเอารูปแบบต่างๆทั้งศิลปะของไทลื้อ ศิลปะของทางรัตนโกสินทร์และศิลปะของพม่าแบบไทใหญ่ นำมาผสมผสานก่อให้เกิดรูปลักษณ์ที่เป็นของเฉพาะตนได้อย่างงดงาม มีรูปแบบคล้ายกับวัดภูมินทร์ อำเภอมืองน่าน โดยมีการใช้สีจากธรรมชาติเป็นส่วนมากในการเขียน อาทิเช่น สีน้ำเงินจากคราม ที่เป็นสีหลักในการเขียนจิตรกรรม แต่เป็นที่น่าเสียดายที่จิตรกรรมเสียหายค่อนข้างมาก เนื่องจากน้ำฝนรั่ว ความชื้นจากดินด้านล่าง รวมถึงโดนน้ำท่วมมาด้วยกันหลายครั้ง
COVERAGE:
วัดหนองบัว อ.ท่าวังผา จ.น่าน ภาคเหนือ ประเทศไทย
RIGHT MANAGEMENT:
หอภาพถ่ายล้านนา โดย มูลนิธิรองศาสตราจารย์ กันต์ พูนพิพัฒน์

Physical Data

COLLECTION NAME:
น่าน
IMAGE CODE:
02_29_20150207_MR_วัดหนองบัว_199
SUBJECT AGE:
ประมาณกลางพุทธศตวรรษที่ 25
CATEGORY:
จิตรกรรมฝาผนัง
PROVENANCE:
ศาสตราจารย์กันต์ พูนพิพัฒน์
COVERAGE:
วัดหนองบัว อ.ท่าวังผา จ.น่าน ภาคเหนือ ประเทศไทย view map
ORIGINAL SIZE:
640×600 cm
DIGITAL SIZE:
25565×3908 Pixels

Loading