Description
Digital Data
ภาพจิตรกรรมด้านล่างของผนังระหว่างเสาที่ 5 และเสาที่ 6 จากด้านในสุด จิตรกรรมในช่องนี้มีสภาพเช่นเดียวกับจิตรกรรมทุกผนังคือ เสียหายค่อนข้างมากจิตรกรรมเหลือเพียงครึ่งบนของผนังเท่านั้น จึงเป็นการลำบากที่จะสามารถอ่านเรื่องราวและเหตุการณ์ในจิตรกรรมได้ทั้งหมด ซึ่งในบริเวณนี้น่าจะเป็นเหตุการณ์ หลังจากที่พระเวสสันดรได้กลับขึ้นครองราชสมบัติดังเดิมแล้ว ทรงโปรดให้จตุรงคเสนาเล่นมหรสพเป็นการสมโภช 3 วัน ในภาพจิตรกรรมบริเวณนี้ตือบริเวณกลางล่างที่เป็นการฟ้อนรำในงานเฉลิมฉลอง
ในภาพจะเหลือเห็นชาย 3 คนที่ฟ้อนร่ายรำในการเฉลิมฉลอง คนหน้าเป็นชายชาวจีนอยู่ในท่าทางฟ้อนรำ มีการแต่งกายแบบชาวจีนยุคนั้นคือราวรัชกาลที่ 3 ที่นิยมนำรูปแบบศิลปกรรมจีนมาใช้เป็นอย่างมาก การแต่งกายของชาวจีนนั้นคือ ใส่เสื้อตัวหลวมแขนกว้างยาวมีผ้าคาดเอว นุ่งกางเกงสี่ส่วนตัวหลวมสวมหมวกปีกกว้างแบบที่ชาวจีนนิยมใช้ ส่วนชายคนด้านหลังเป็นชายชาวไทยในท่วงท่านั่งชันเข่าฟ้อนนกยูง มีการแต่งกายแบบชายไทยภาคกลางคือ เปลือยอกนุ่งโจงกระเบนไว้ทรงผมที่เรียกว่า “ทรงมหาดไทย” ลักษณะคือ ไว้ผมกลางศีรษะและด้านข้างโกนผมบริเวณโดยรอบ คล้ายกับการนำกะลามาครอบหัว และไม่สวมรองเท้า ส่วนชายคนขวาภาพจิตรกรรมเหลือแต่ลายเส้นน่าจะเป็นการฟ้อนดาบ ที่เป็นการฟ้อนอย่างหนึ่งที่นิยมในหมู่ชาวไทยวนของล้านนา
Physical Data