Description
Digital Data
TITLE:
ลำปาง
AUTHOR:
หอภาพถ่ายล้านนา โดย มูลนิธิรองศาสตราจารย์ กันต์ พูนพิพัฒน์
KEYWORDS:
กัณฑ์ที่ 3, กัณหา, การนุ่งโจงกระเบน, จิตรกรรมภาพพระบฏ, ชาลี, ซิ่นต๋า, ตุงค่าว, ตุงค่าวธรรม, ถกเขมร, ทานกัณฑ์, นุ่งผ้าต้อย, ประวัติศาตร์ล้านนา, ประวัติศาสตร์ลำปาง, ประเทศไทย, พระกัณหา, พระชาลี, พระนางมัทรี, พระบฏ, พระศรีอาริย์, พระเวสสันดรชาดก, ภาคเหนือ, ภาพพระบฏ, ภาพเขียนพระบฏ, มูลนิธิรองศาสตราจารย์ กันต์ พูนพิพัฒน์, ล้านนา, ลำปาง, วัดทุ่งคา, หอภาพถ่ายล้านนา, อำเภอเเจ้ห่ม, เค็ดม้าม, เครื่องทรงกษัตริย์, เมืองกลิงคราฐ, เมืองสิพี, เวสสันดร, เวสสันดรชาดก, โจงกระเบน
DESCRIPTION:
แผ่นที่ 6 ภาพกัณฑ์ที่ 3 ทานกัณฑ์
เป็นกัณฑ์ที่พระเวสสันดรทรงแจกมหาสัตสดกทาน คือ การแจกทานครั้งยิ่งใหญ่ ก่อนที่พระเวสสันดรพร้อมด้วยพระนางมัทรี ชาลี และกัณหาออกจากพระนคร จึงทูลขอพระราชทานโอกาสบำเพ็ญมหาสัตสดกทาน คือ การให้ทานครั้งยิ่งใหญ่ อันได้แก่ ช้าง ม้า โคนม นารี ทาสี ทาสาสรรพวัตถาภรณ์ต่างๆ รวมทั้งสุราบานอย่างละ 700 ในปราสาทมีพระเวสสันดรประทับนั่งกลางช่องขวามือมีพระนางมัทรีและชาลีพระโอรส กัณหาพระราชธิดา พร้อมเหล่าข้าราชบริพารและสมนกำนัล ด้านหน้าแของปราสาทมีทั้งทหารและข้าราชบริพารแจกทานให้แก่ชาวเมืองสิพีทั้งชายหญิงที่อยู่ด้านล่างของปราสาท การแต่งกายของพระเวสสันดรทรงเครื่องทรงกษัตริย์ พระนางมัทรีเปลือยอกมีผ้ามาคลุมไหล่ มุ่นมวยทรงสูงไว้ด้านหลัง ส่วนการแต่งกายของสนมกำนัลและหญิงชาวเมืองสิพีเป็นรูปแบบของการแต่งกายของหญิงชาวไทยวนคือ มีทั้งใส่เสื้อแขนยาวและเปลือยอกมีผ้ามาคลุมไหล่มุ่นมวยทรงสูงไว้ด้านหลัง นุ่งผ้า”ซิ่นต๋า”เป็นผ้าซิ่นที่มีลวดลายเส้นในแนวขวางลำตัวที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะของหญิงชาวไทยวนในแถบนี้ ทหารด้านหน้าปราสาทแต่งกายที่น่าจะได้รับอิทธิพลจากทางกรุงเทพคือสวมเสื้อแขนยาวนุ่งโจงกระเบนด้วยผ้าพื้นสีเรียบและมีลวดลาย และด้านหน้าของทหารมีชายนั่งอยู่ 2 คนแต่คลุมด้วยผ้าตั้งแต่ศีรษะ นอกจากนี้หน้าปราสาทด้านขวามือมีชายที่มีลักษณะของชายชาวไทยวนในล้านนาคือ มีลวดลายสักยันต์ตั้งแต่ท้องน้อยจนถึงหัวเข่านอนสูบกล้องยาสูบ ด้านล่างปราสาทเป็นชาวเมืองสิพีขณะมารอทาน มีรูปแบบการแต่งกายของชายหญิงไทยวนในล้านนา การแต่งกายของหญิงคือเปลือยอกสะพายย่ามขาวแซงแดง แต่มีการทำผมมุ่นมวยผมสูงต่างจากหญิงไทยวนที่นิยมทำมวยต่ำไว้ด้านหลัง นุ่งผ้า “ซิ่นต๋า”เป็นผ้าซิ่นที่มีลวดลายเส้นในแนวขวางลำตัว ที่ล้วนเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของหญิงชาวไทยวนในช่วงเวลานั้นของแถบนี้ ส่วนชายมีการแต่งกายคือ ไม่สวมเสื้อไว้ผมสั้นสะพายย่ามขาวแซงแดง นุ่งผ้ามีลวดลายผืนเดียวที่เรียกว่านุ่งแบบ “นุ่งผ้าต้อย”หรือ“เค็ดม่าม”โดยจะม้วนผ้าเป็นเกลียวสอดระหว่างขาเป็นการนุ่งแบบเดียวกับการถกเขมร หรือ โจงกระเบน เผยให้เห็นลายสักยันต์ตั้งแต่ท้องน้อยจนถึงหัวเข่าที่มีสวดลายสัตว์หิมพานต์ อันเป็นเอกลักษณ์อย่างหนึ่งของชายชาวไทยวนในแถบนี้ ด้านบนซ้ายเป็นหอกลองสูงสามชั้นเป็นรูปแบบสถาปัตยกรรมของล้านนา
เป็นกัณฑ์ที่พระเวสสันดรทรงแจกมหาสัตสดกทาน คือ การแจกทานครั้งยิ่งใหญ่ ก่อนที่พระเวสสันดรพร้อมด้วยพระนางมัทรี ชาลี และกัณหาออกจากพระนคร จึงทูลขอพระราชทานโอกาสบำเพ็ญมหาสัตสดกทาน คือ การให้ทานครั้งยิ่งใหญ่ อันได้แก่ ช้าง ม้า โคนม นารี ทาสี ทาสาสรรพวัตถาภรณ์ต่างๆ รวมทั้งสุราบานอย่างละ 700 ในปราสาทมีพระเวสสันดรประทับนั่งกลางช่องขวามือมีพระนางมัทรีและชาลีพระโอรส กัณหาพระราชธิดา พร้อมเหล่าข้าราชบริพารและสมนกำนัล ด้านหน้าแของปราสาทมีทั้งทหารและข้าราชบริพารแจกทานให้แก่ชาวเมืองสิพีทั้งชายหญิงที่อยู่ด้านล่างของปราสาท การแต่งกายของพระเวสสันดรทรงเครื่องทรงกษัตริย์ พระนางมัทรีเปลือยอกมีผ้ามาคลุมไหล่ มุ่นมวยทรงสูงไว้ด้านหลัง ส่วนการแต่งกายของสนมกำนัลและหญิงชาวเมืองสิพีเป็นรูปแบบของการแต่งกายของหญิงชาวไทยวนคือ มีทั้งใส่เสื้อแขนยาวและเปลือยอกมีผ้ามาคลุมไหล่มุ่นมวยทรงสูงไว้ด้านหลัง นุ่งผ้า”ซิ่นต๋า”เป็นผ้าซิ่นที่มีลวดลายเส้นในแนวขวางลำตัวที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะของหญิงชาวไทยวนในแถบนี้ ทหารด้านหน้าปราสาทแต่งกายที่น่าจะได้รับอิทธิพลจากทางกรุงเทพคือสวมเสื้อแขนยาวนุ่งโจงกระเบนด้วยผ้าพื้นสีเรียบและมีลวดลาย และด้านหน้าของทหารมีชายนั่งอยู่ 2 คนแต่คลุมด้วยผ้าตั้งแต่ศีรษะ นอกจากนี้หน้าปราสาทด้านขวามือมีชายที่มีลักษณะของชายชาวไทยวนในล้านนาคือ มีลวดลายสักยันต์ตั้งแต่ท้องน้อยจนถึงหัวเข่านอนสูบกล้องยาสูบ ด้านล่างปราสาทเป็นชาวเมืองสิพีขณะมารอทาน มีรูปแบบการแต่งกายของชายหญิงไทยวนในล้านนา การแต่งกายของหญิงคือเปลือยอกสะพายย่ามขาวแซงแดง แต่มีการทำผมมุ่นมวยผมสูงต่างจากหญิงไทยวนที่นิยมทำมวยต่ำไว้ด้านหลัง นุ่งผ้า “ซิ่นต๋า”เป็นผ้าซิ่นที่มีลวดลายเส้นในแนวขวางลำตัว ที่ล้วนเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของหญิงชาวไทยวนในช่วงเวลานั้นของแถบนี้ ส่วนชายมีการแต่งกายคือ ไม่สวมเสื้อไว้ผมสั้นสะพายย่ามขาวแซงแดง นุ่งผ้ามีลวดลายผืนเดียวที่เรียกว่านุ่งแบบ “นุ่งผ้าต้อย”หรือ“เค็ดม่าม”โดยจะม้วนผ้าเป็นเกลียวสอดระหว่างขาเป็นการนุ่งแบบเดียวกับการถกเขมร หรือ โจงกระเบน เผยให้เห็นลายสักยันต์ตั้งแต่ท้องน้อยจนถึงหัวเข่าที่มีสวดลายสัตว์หิมพานต์ อันเป็นเอกลักษณ์อย่างหนึ่งของชายชาวไทยวนในแถบนี้ ด้านบนซ้ายเป็นหอกลองสูงสามชั้นเป็นรูปแบบสถาปัตยกรรมของล้านนา
PUBLISHER:
หอภาพถ่ายล้านนา โดย มูลนิธิรองศาสตราจารย์ กันต์ พูนพิพัฒน์
OTHER CONTRIBUTORS:
หอภาพถ่ายล้านนา โดย มูลนิธิรองศาสตราจารย์ กันต์ พูนพิพัฒน์
DATE:
07/02/2558
RESOURCE TYPE:
จิตรกรรมภาพพระบฏ
FORMAT:
Image/jpeg
RESOURCE IDENTIFIER:
คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิหอภาพถ่ายล้านนา ในกำกับของกรรมการอำนวยการหอภาพถ่ายล้านนา
SOURCE:
จิตรกรรมฝาผนัง
LANGUAGE:
ไทย/อังกฤษ
RELATION:
ผลงานการเขียนจิตรกรรมทั้งจิตรกรรมฝาผนังและจิตรกรรมบนผ้าพระบฏของ หลวงพ่อคำป้อ อุดหนุน มีด้วยกันหลายวัดตั้งแต่จิตรกรรมฝาผนังวัดบ้านก่อ ต.ทรายคำ อ.วังเหนือ จ.ลำปาง ,จิตรกรรมฝาผนังวัดทุ่งฝูง ต.ร่องเคาะ อ.วังเหนือ จ.ลำปาง และภาพพระบฏวัดวัดศรีดอนมูล(ทุ่งฮ้าง) ต.ทุงผึ้ง อ.แจ้ห่ม จ.ลำปาง นับว่าหลวงพ่อคำป้อเป็นทั้งพระและศิลปินที่น่ายกย่องมากท่านหนึ่ง รูปแบบของภาพพระบฏชุดนี้มีรููปแบบคล้ายกับที่ปรากฎบนจิตรกรรมฝาผนังที่เป็นผลงานของครูบาป้อ มีรูปแบบของจิตรกรรมร่วมสมัยในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 แต่ยังมีความเป็นจิตรกรรมพื้นบ้านปรากฎให้เห็นอย่างชัดเจน อาทิ เช่น การแต่งกายของหญิงในจิตรกรรม มีการใส่ชุดแบบพื้นเมืองอยู่ คือใส่ซิ่นต๋า (เป็นผ้าซิ่นพื้นเมืองที่มีลายเส้นในแนวขวางลำตัว นิยมใช้ทั่วไปในล้านนา) แต่ผมได้เป็นทรงผมที่นิยมในยุคนั้น เป็นต้น
COVERAGE:
วัดทุ่งคา อ.เเจ้ห่ม จ.ลำปาง ภาคเหนือ ประเทศไทย
RIGHT MANAGEMENT:
หอภาพถ่ายล้านนา โดย มูลนิธิรองศาสตราจารย์ กันต์ พูนพิพัฒน์
Physical Data
COLLECTION NAME:
ลำปาง
IMAGE CODE:
02_25_20150207_MR25-01_06
SUBJECT AGE:
ประมาณกลางพุทธศตวรรษที่ 25
CATEGORY:
จิตรกรรมภาพพระบฏ
PROVENANCE:
ศาสตราจารย์ กันต์ พูนพิพัฒน์
COVERAGE:
วัดทุ่งคา อ.เเจ้ห่ม จ.ลำปาง ภาคเหนือ ประเทศไทย
View map
View map
ORIGINAL SIZE:
85.5 x 140 cm
DIGITAL SIZE:
2998 x 4642 Pixels