Description
Digital Data
TITLE:
ลำปาง
AUTHOR:
หอภาพถ่ายล้านนา โดย มูลนิธิรองศาสตราจารย์ กันต์ พูนพิพัฒน์
KEYWORDS:
กัณฑ์ที่ 11, กัณฑ์มหาราช, กัณหา, การนุ่งโจงกระเบน, จิตรกรรมภาพพระบฏ, ชาลี, ชูชก, ซิ่นตีนจก, ตุงค่าว, ตุงค่าวธรรม, ถกเขมร, นุ่งผ้าต้อย, ประวัติศาตร์ล้านนา, ประวัติศาสตร์ลำปาง, ประเทศไทย, พระกัณหา, พระชาลี, พระนางผุสดี, พระบฏ, พระศรีอาริย์, พระเจ้าสัญชัย, พระเวสสันดร, พระเวสสันดรชาดก, ภาคเหนือ, ภาพพระบฏ, ภาพเขียนพระบฏ, มูลนิธิรองศาสตราจารย์ กันต์ พูนพิพัฒน์, ล้านนา, ลำปาง, วัดทุ่งคา, สักขาลาย, สักลาย, สักเตี่ยวก้อม, หอภาพถ่ายล้านนา, อำเภอเเจ้ห่ม, เค็ดม้าม, เครื่องเขิน, เครื่องเขินล้านนา, เวสสันดร, เวสสันดรชาดก, แคว้นกาลิงคะ, โจงกระเบน
DESCRIPTION:
แผ่นที่ 21 กัณฑ์ที่ 11 กัณฑ์มหาราช
ภาพวาดแผ่นนี้เป็นส่วนหลังของกัณฑ์ที่ 11 กัณฑ์มหาราช เป็นตอนที่ชูชกได้รับพระราชทานค่าไถ่จากพระเจ้าสัญชัย เเละได้ไถ่ตัวสองกุมารจากชูชกตามที่พระเวสสันดรกำหนดคือ ชาลีกุมารถ้าจะไถ่ให้พ้นจากทาส ต้องไถ่ด้วยทองหนักหมื่นห้าพันตำลึง ส่วนกัณหานั้นต้องไถ่ด้วยทาสชายหญิง ช้าง ม้า โค รถ อย่างร้อยละร้อย กับทองแท่ง หนัก 5 พันตำลึง ในภาพด้านหน้าปราสาทเป็นเหตุการณ์ที่พระเจ้าสัญชัยได้ไถ่ตัวสองกุมารจากชูชกตามที่พระเวสสันดรกำหนด ด้านหลังพระเจ้าสัญชัยเป็นเหล่าข้าราชบริพารและสนมกำนัลที่มายินดีที่ได้กัณหาและชาลีคืนมา กลางภาพเป็นพระเจ้าสัญชัยและพระนางผุสดีทรงอุ้มกัณหาและชาลีประทับอยู่ในปราสาทพร้อมด้วยเหล่าข้าราชบรพารและสนมกำนัล รูปแบบของปราสาทเป็นแบบสถาปัตยกรรมของล้านนา พระเจ้าสัญชัยทรงเครื่องทรงแบบกษัตริย์ส่วนพระนางมัทรีและเหล่านางสนมกำนัลเป็นรูปแบบของการแต่งกายของหญิงชาวไทยวนคือ มีผ้ามาคลุมไหล่แต่มีการทำผมมุ่นมวยสูงไว้บนศีรษะ นุ่งผ้า”ซิ่นต๋า”เป็นผ้าซิ่นที่มีลวดลายเส้นในแนวขวางลำตัวที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะของหญิงชาวไทยวนในแถบนี้ และมีหญิงชราที่นั่งอยู่หน้าปราสาทนุ่งผ้า
“ซิ่นตีนจก”เป็นผ้าซิ่นต๋าที่มีลวดลายเส้นในแนวขวางลำตัวต่อด้วยตีนจก ตีนจกคือผ้าที่นำมาต่อล่างสุดของซิ่นมีลวดลายที่เกิดจากกรรมวิธีการจก ที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะอีกรูปแบบหนึ่งของหญิงชาวไทยวนในแถบนี้ ส่วนข้าราชบรพารฝ่ายชายมีการแต่งกายหลากหลายรูปแบบด้วยกัน ส่วนมากที่ปรากฎในภาพจะมีการแต่งกายในรูปแบบที่ได้รับอิทธิพลจากทางกรุงเทพคือใส่เสื้อแขนยาวไว้ผมสั้น นุ่งโจงกระเบน และมีข้าราชบริพารชายที่ยืนอยู่หน้าและล่างของปราสาทที่สวมหมวกที่เป็นวัฒนธรรมของตะวันตกที่รับผ่านมาจากกรุงเทพเช่นกัน และยังมีชายที่ยืนอยู่หน้าปราสาทอีกคนที่น่าจะเป็นคนกะเหรี่ยงที่สวมชุดกะเหรี่ยงสีส้มเป็นชุดยาวติดกันทั้งตัวแขนกุดและโพกหัวด้วยผ้า บนโต๊ะด้านหน้าพระเจ้าสัญชัยมีเครื่องเขินรูปแบบของล้านนาตั้งอยู่
ภาพวาดแผ่นนี้เป็นส่วนหลังของกัณฑ์ที่ 11 กัณฑ์มหาราช เป็นตอนที่ชูชกได้รับพระราชทานค่าไถ่จากพระเจ้าสัญชัย เเละได้ไถ่ตัวสองกุมารจากชูชกตามที่พระเวสสันดรกำหนดคือ ชาลีกุมารถ้าจะไถ่ให้พ้นจากทาส ต้องไถ่ด้วยทองหนักหมื่นห้าพันตำลึง ส่วนกัณหานั้นต้องไถ่ด้วยทาสชายหญิง ช้าง ม้า โค รถ อย่างร้อยละร้อย กับทองแท่ง หนัก 5 พันตำลึง ในภาพด้านหน้าปราสาทเป็นเหตุการณ์ที่พระเจ้าสัญชัยได้ไถ่ตัวสองกุมารจากชูชกตามที่พระเวสสันดรกำหนด ด้านหลังพระเจ้าสัญชัยเป็นเหล่าข้าราชบริพารและสนมกำนัลที่มายินดีที่ได้กัณหาและชาลีคืนมา กลางภาพเป็นพระเจ้าสัญชัยและพระนางผุสดีทรงอุ้มกัณหาและชาลีประทับอยู่ในปราสาทพร้อมด้วยเหล่าข้าราชบรพารและสนมกำนัล รูปแบบของปราสาทเป็นแบบสถาปัตยกรรมของล้านนา พระเจ้าสัญชัยทรงเครื่องทรงแบบกษัตริย์ส่วนพระนางมัทรีและเหล่านางสนมกำนัลเป็นรูปแบบของการแต่งกายของหญิงชาวไทยวนคือ มีผ้ามาคลุมไหล่แต่มีการทำผมมุ่นมวยสูงไว้บนศีรษะ นุ่งผ้า”ซิ่นต๋า”เป็นผ้าซิ่นที่มีลวดลายเส้นในแนวขวางลำตัวที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะของหญิงชาวไทยวนในแถบนี้ และมีหญิงชราที่นั่งอยู่หน้าปราสาทนุ่งผ้า
“ซิ่นตีนจก”เป็นผ้าซิ่นต๋าที่มีลวดลายเส้นในแนวขวางลำตัวต่อด้วยตีนจก ตีนจกคือผ้าที่นำมาต่อล่างสุดของซิ่นมีลวดลายที่เกิดจากกรรมวิธีการจก ที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะอีกรูปแบบหนึ่งของหญิงชาวไทยวนในแถบนี้ ส่วนข้าราชบรพารฝ่ายชายมีการแต่งกายหลากหลายรูปแบบด้วยกัน ส่วนมากที่ปรากฎในภาพจะมีการแต่งกายในรูปแบบที่ได้รับอิทธิพลจากทางกรุงเทพคือใส่เสื้อแขนยาวไว้ผมสั้น นุ่งโจงกระเบน และมีข้าราชบริพารชายที่ยืนอยู่หน้าและล่างของปราสาทที่สวมหมวกที่เป็นวัฒนธรรมของตะวันตกที่รับผ่านมาจากกรุงเทพเช่นกัน และยังมีชายที่ยืนอยู่หน้าปราสาทอีกคนที่น่าจะเป็นคนกะเหรี่ยงที่สวมชุดกะเหรี่ยงสีส้มเป็นชุดยาวติดกันทั้งตัวแขนกุดและโพกหัวด้วยผ้า บนโต๊ะด้านหน้าพระเจ้าสัญชัยมีเครื่องเขินรูปแบบของล้านนาตั้งอยู่
PUBLISHER:
หอภาพถ่ายล้านนา โดย มูลนิธิรองศาสตราจารย์ กันต์ พูนพิพัฒน์
OTHER CONTRIBUTORS:
หอภาพถ่ายล้านนา โดย มูลนิธิรองศาสตราจารย์ กันต์ พูนพิพัฒน์
DATE:
07/02/2558
RESOURCE TYPE:
จิตรกรรมภาพพระบฏ
FORMAT:
Image/jpeg
RESOURCE IDENTIFIER:
คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิหอภาพถ่ายล้านนา ในกำกับของกรรมการอำนวยการหอภาพถ่ายล้านนา
SOURCE:
จิตรกรรมฝาผนัง
LANGUAGE:
ไทย/อังกฤษ
RELATION:
ผลงานการเขียนจิตรกรรมทั้งจิตรกรรมฝาผนังและจิตรกรรมบนผ้าพระบฏของ หลวงพ่อคำป้อ อุดหนุน มีด้วยกันหลายวัดตั้งแต่จิตรกรรมฝาผนังวัดบ้านก่อ ต.ทรายคำ อ.วังเหนือ จ.ลำปาง ,จิตรกรรมฝาผนังวัดทุ่งฝูง ต.ร่องเคาะ อ.วังเหนือ จ.ลำปาง และภาพพระบฏวัดวัดศรีดอนมูล(ทุ่งฮ้าง) ต.ทุงผึ้ง อ.แจ้ห่ม จ.ลำปาง นับว่าหลวงพ่อคำป้อเป็นทั้งพระและศิลปินที่น่ายกย่องมากท่านหนึ่ง รูปแบบของภาพพระบฏชุดนี้มีรููปแบบคล้ายกับที่ปรากฎบนจิตรกรรมฝาผนังที่เป็นผลงานของครูบาป้อ มีรูปแบบของจิตรกรรมร่วมสมัยในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 แต่ยังมีความเป็นจิตรกรรมพื้นบ้านปรากฎให้เห็นอย่างชัดเจน อาทิ เช่น การแต่งกายของหญิงในจิตรกรรม มีการใส่ชุดแบบพื้นเมืองอยู่ คือใส่ซิ่นต๋า (เป็นผ้าซิ่นพื้นเมืองที่มีลายเส้นในแนวขวางลำตัว นิยมใช้ทั่วไปในล้านนา) แต่ผมได้เป็นทรงผมที่นิยมในยุคนั้น เป็นต้น
COVERAGE:
วัดทุ่งคา อ.เเจ้ห่ม จ.ลำปาง ภาคเหนือ ประเทศไทย
RIGHT MANAGEMENT:
หอภาพถ่ายล้านนา โดย มูลนิธิรองศาสตราจารย์ กันต์ พูนพิพัฒน์
Physical Data
COLLECTION NAME:
ลำปาง
IMAGE CODE:
02_25_20150207_MR25-01_21
SUBJECT AGE:
ประมาณกลางพุทธศตวรรษที่ 25
CATEGORY:
จิตรกรรมภาพพระบฏ
PROVENANCE:
ศาสตราจารย์ กันต์ พูนพิพัฒน์
COVERAGE:
วัดทุ่งคา อ.เเจ้ห่ม จ.ลำปาง ภาคเหนือ ประเทศไทย
View map
View map
ORIGINAL SIZE:
85.5 x 140 cm
DIGITAL SIZE:
2998 x 4642 Pixels