ภาพเขียนจิตรกรรมบนผืนผ้า (พระบฏ) วัดทุ่งคา – แผ่นที่ 11 กัณฑ์ที่ 5 กัณฑ์ชูชก

Description

Digital Data

TITLE:
ลำปาง
AUTHOR:
หอภาพถ่ายล้านนา โดย มูลนิธิรองศาสตราจารย์ กันต์ พูนพิพัฒน์
KEYWORDS:
DESCRIPTION:
แผ่นที่ 11 กัณฑ์ที่ 5 กัณฑ์ชูชก
ภาพพระบฎนี้เป็นตอนหลังของกัณฑ์ที่ 5 กัณฑ์ชูชก ทั้งที่ชูชกมีรูปร่างอุบาทว์อัปลักษณ์ยิ่งนัก แต่นางอมิตดาก็ขยันปรนนิบัติสามีเป็นอย่างดี นางตักน้ำ ตำข้าว หุงหาอาหาร ดูแลบ้านเรือนไม่มีขาดตกบกพร่อง  ความประพฤติที่ดีเพียบพร้อมของนางอมิตดาทำให้เป็นที่สรรเสริญของบรรดาพราหมณ์ทั้งหลายในหมู่บ้านนั้น ในไม่ช้า บรรดาพราหมณ์เหล่านั้นก็พากันตำหนิติเตียนภรรยาของตน ที่มิได้ประพฤติตนเป็นแม่บ้านแม่เรือนอย่างนางอมิตดา ทำให้พวกภรรยาของพราหมณ์อิจฉาริษยามาคอยด่าทอนางอมิตดาอยู่ทุกวัน นางอมิตดาถูกรุมด่าร้องไห้กลับบ้าน บอกแก่ชูชกว่าจะไม่ไปตักน้ำและไม่ทำงานบ้านอีกแล้ว ขอให้ชูชกไปทูลขอกัณหาชาลี จากพระเวสสันดร มาช่วยงานบ้านก็แล้วกัน ในภาพจิตรกรรมด้านล่างจะเห็นนางอมิตดาถูกเหล่าภรรยาของพราหมณ์ทั้งหลายรุมด่าจากความอิจฉาริษยา ด้านบนฝั่งขวานางอมิตดานั่งอยู่ในเรือนทรงกาแลพร้อมกับชูชกและได้บอกชูชกว่าจะไม่ทำงานบ้านอีกต่อไป ให้ชูชกไปขอกัณหาชาลีจากพระเวสสันดร ฝั่งซ้ายบนของภาพชูชกขณะเดินออกจากบ้านเพื่อไปตามหาพระเวสสันดรเพื่อทูลขอกัณหาและชาลี การแต่งกายของนางอมิตดาและหญิงในภาพเป็นการแต่งกายของหญิงชาวไทยวนคือเปลือยอกมีนำผ้ามาคลุมไหล่ นุ่งผ้า “ซิ่นต๋า”เป็นผ้าซิ่นที่มีลวดลายเส้นในแนวขวางลำตัว มีการทำผมมุ่นมวยต่ำไว้ด้านหลัง ที่ล้วนเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของหญิงชาวไทยวนในแถบนี้ ส่วนที่หญิงคนซ้ายสุดและขวามือน่าจะนุ่งผ้า”ซิ่นตีนจก”เป็นผ้าซิ่นต๋าที่มีลวดลายเส้นในแนวขวางลำตัวต่อด้วยตีนจก ตีนจกคือผ้าที่นำมาต่อล่างสุดของซิ่นมีลวดลายที่เกิดจากกรรมวิธีการจก ที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะของหญิงชาวไทยวนในแถบนี้ และที่หญิงคนซ้ายมือของถือ“น้ำทุ่ง”หมายจะตีนางอมิตดา “น้ำทุ่ง”เป็นเครื่องจักสานทำจากไม่ไผ่เคลือบด้วยชันหรือรักเพื่อกันน้ำรั่ว ส่วนชูชกแต่งกายคล้ายชายชาวไทยวนคือไม่สวมเสื้อใว้ผมสั้นสะพายย่ามขาวแซงดำแดงที่เป็นย่ามของชาวไทยวน นุ่งผ้าผ้าพื้นสีเรียบผืนเดียวที่เรียกว่านุ่งแบบ “นุ่งผ้าต้อย”หรือ“เค็ดม่าม”โดยจะม้วนผ้าเป็นเกลียวสอดระหว่างขาเป็นการนุ่งแบบเดียวกับการถกเขมรหรือโจงกระเบน เห็นลายสักยันต์แต่เป็นลายสักยันต์ที่ไม่เหมือนที่พบได้ทั่วไป ส่วนเรือนอาศัยของชูชกและนางอมิตดา เป็นเรือนของทางล้านนาเรียกว่าเรือน “กาแล” นอกจากนี้ยังได้วาดสภาพแวดล้อมในสมัยนั้นลงไปด้วยตั้งแต่มีการเลี้ยงสุนัขอยูใต้ถุนของเรือนอีกด้วย
PUBLISHER:
หอภาพถ่ายล้านนา โดย มูลนิธิรองศาสตราจารย์ กันต์ พูนพิพัฒน์
OTHER CONTRIBUTORS:
หอภาพถ่ายล้านนา โดย มูลนิธิรองศาสตราจารย์ กันต์ พูนพิพัฒน์
DATE:
07/02/2558
RESOURCE TYPE:
จิตรกรรมภาพพระบฏ
FORMAT:
Image/jpeg
RESOURCE IDENTIFIER:
คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิหอภาพถ่ายล้านนา ในกำกับของกรรมการอำนวยการหอภาพถ่ายล้านนา
SOURCE:
จิตรกรรมฝาผนัง
LANGUAGE:
ไทย/อังกฤษ
RELATION:
COVERAGE:
วัดทุ่งคา อ.เเจ้ห่ม จ.ลำปาง ภาคเหนือ ประเทศไทย
RIGHT MANAGEMENT:
หอภาพถ่ายล้านนา โดย มูลนิธิรองศาสตราจารย์ กันต์ พูนพิพัฒน์

Physical Data

COLLECTION NAME:
ลำปาง
IMAGE CODE:
02_25_20150207_MR25-01_11
SUBJECT AGE:
ประมาณกลางพุทธศตวรรษที่ 25
CATEGORY:
จิตรกรรมภาพพระบฏ
PROVENANCE:
ศาสตราจารย์ กันต์ พูนพิพัฒน์
COVERAGE:
วัดทุ่งคา อ.เเจ้ห่ม จ.ลำปาง ภาคเหนือ ประเทศไทย
View map
ORIGINAL SIZE:
85.5 x 140 cm
DIGITAL SIZE:
2998 x 4642 Pixels