Description
Digital Data
ภาพจิตรกรรมมุมล่างซ้ายของภาพพระบฏ เป็นภาพเหล่าเทวดาที่มาเข้าเฝ้าตอนในที่พระสัมมาพระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้ ภาพเทวดาได้รับลักษณะรูปแบบการเขียนจิตรกรรม จะเห็นได้ชัดเจนว่ามีรูปแบบที่ได้รับอิทธิพลจากศิลปกรรมจากกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น ที่ยังคงมีรูปแบบของศิลปกรรมของอยุธยาตอนปลาย นำมาผสมผสานกับรูปแบบของพื้นเมืองน่านในยุคนั้น โดยสามารถสังเกตได้ตั้งแต่ใบหน้า รูปทรงและเครื่องหน้า รวมถึงเครื่องแต่งกายและเครื่องประดับ ที่สามารถระบุได้อย่างชัดเจนว่ามีรูปแบบที่ได้รับอิทธิพลจากศิลปกรรมจากกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น ที่ยังคงมีรูปแบบของศิลปกรรมของอยุธยาตอนปลาย นำมาผสมผสานกับรูปแบบของพื้นเมืองน่านในยุคนั้น อย่างเช่นภาพเทวดาที่วัดเขียน อ.วิเศษชัยชาญ จ.อ่างทอง ที่เป็นศิลปกรรมของอยุธยาตอนปลาย ที่จะแสดงให้เห็นว่าภาพพระบฏวัดนาเตา ได้รับอิทธิพลมาได้อย่างเด่นชัด ตั้งแต่ใบหน้า รูปทรงและเครื่องหน้า รวมถึงเครื่องแต่งกายและเครื่องประดับ
เทวดาที่มุมซ้ายและอยู่ด้านหลังในท่าทางคุกเข่าสาธุการ ในการที่พระสัมมาพระพุทธเจ้าได้บรรลุโสดาบัน เครื่องทรงของเทวดาในภาพพระบฏวัดนาเตาคล้ายกับที่พบได้ที่วัดเขียน อ.วิเศษชัยชาญ จ.อ่างทอง คือ เปลือยอกสวมพระชฎา มีกรรเจียกคือเครื่องประดับหูมีรูปเป็นกระหนก สวมกรองศอและอินทรธนู มีทับทรวงและสายสังวาลสะพายแล่ง สวมพาหุรัดที่ต้นแขน นุ่งสนับเพลาคือกางเกงขายาวประมาณครึ่งแข้ง นุ่งโจงกระเบนทับที่เป็นผ้าที่มีลวดลาย รัดด้วยปั้นเหน่งหรือเข็มขัด มีผ้าห้อยหน้าหรือชายไหวระหว่างชายแครง มีแถบผ้าปลายงอนหุ้มปลายขากางเกงทั้ง 2 ข้าง

Physical Data