Description
Digital Data
TITLE:
เชียงตุง
AUTHOR:
หอภาพถ่ายล้านนา
KEYWORDS:
ประวัติศาสตร์เชียงตุง, ประเทศไทย, ภาคเหนือ, ภาพถ่ายโบราณ, มูลนิธิรองศาสตราจารย์ กันต์ พูนพิพัฒน์, สมเด็จอาชญาธรรมพระเจ้าเชียงตุง, หอภาพถ่ายล้านนา, อำเภอเเม่สาย, เจ้าเชียงตุง, เจ้าเเก้วเมือง (น้อย) ณ เชียงตุง, เชียงตุง, เชียงราย, เมืองเชียงตุง
DESCRIPTION:
ภาพถ่ายปราสาทพระศพที่น่าจะเป็นของสมเด็จอาชญาธรรมพระเจ้า ซึ่งมีศักดิ์เทียบเท่าตําแหน่งสมเด็จพระสังฆราชของไทย ประดิษฐานอยู่บนนกการเวก หรือนกกรวิค หรือ ปักษาวายุภักษ์ ล้อมด้วยฉัตรหรือร่มขาวทั้งสี่ทิศ เพื่อแห่ไปทำพิธีฝังยังสุสาน แวดล้อมด้วยประชาชนชาวเชียงตุงที่นุ่งขาวเพื่อเป็นการไว้ทุกข์สูงสุด
PUBLISHER:
หอภาพถ่ายล้านนา โดย มูลนิธิ รองศาสตราจารย์กันต์ พูนพิพัฒน์
OTHER CONTRIBUTORS:
หอภาพถ่ายล้านนา โดย มูลนิธิ รองศาสตราจารย์กันต์ พูนพิพัฒน์
DATE:
07/11/2562
RESOURCE TYPE:
ภาพถ่ายโบราณ
FORMAT:
Image/jpeg
RESOURCE IDENTIFIER:
คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิหอภาพถ่ายล้านนา ในกำกับของกรรมการอำนวยการหอภาพถ่ายล้านนา
SOURCE:
ภาพถ่ายโบราณ
LANGUAGE:
ไทย/อังกฤษ
RELATION:
นกการเวก หรือ ปักษาวายุภักษ์ เป็นนกในเทพปกรณัมของตะวันออก ปรากฏในป่าหิมพานต์ เรียกกันอีกชื่อหนึ่งในวรรณคดีเรื่อง ไตรภูมิพระร่วงว่า นกกรวิค อธิบายว่า บินได้สูงเหนือเมฆ มีเสียงไพเราะยิ่งนัก สัตว์ทุกชนิดเมื่อได้ยินแล้วจะต้องหยุดฟัง นอกจากนี้ยังปรากฏมีมาในพระบาลีว่าเสียงของพระพุทธเจ้านั้นเหมือนเสียงพรหม แจ่มใสชัดเจน อ่อนหวาน สำเนียงเสนาะ ไม่แตก ลึกซึ้ง มีกังวาลไพเราะและเหมือนเสียงนกการเวก ส่วนอาหารของนกการเวกนั้น มีกล่าวไว้ในคัมภีร์ปัญจสุทนีว่า นกการเวก กินน้ำมะม่วงสุกเป็นอาหาร แต่โดยที่นกชนิดนี้หายากหลงเข้าใจกันแต่ว่าอยู่บนท้องฟ้ากินลมเป็นอาหาร ตามวรรณคดีไตรภูมิพระร่วงนั้น กล่าวว่าขนนกการเวกนั้นเป็นที่ต้องการเพราะกลายเป็นทองคำได้
COVERAGE:
บ้านเจ้าเเก้วเมือง (น้อย) ณ เชียงตุง อ.เเม่สาย จังหวัดเชียงราย
RIGHT MANAGEMENT:
หอภาพถ่ายล้านนา โดย มูลนิธิ รองศาสตราจารย์กันต์ พูนพิพัฒน์
Physical Data
COLLECTION NAME:
เชียงตุง
IMAGE CODE:
DC077910102020_336_CT
SUBJECT AGE:
ประมาณต้นคริสต์วรรษที่ 20
CATEGORY:
ภาพถ่าย
PROVENANCE:
ศาสตราจารย์ กันต์ พูนพิพัฒน์
COVERAGE:
ORIGINAL SIZE:
6 x 6 cm
DIGITAL SIZE:
2998 x 4642 Pixels