Description
Digital Data
TITLE:
เชียงใหม่
AUTHOR:
หอภาพถ่ายล้านนา โดย มูลนิธิ รองศาสตราจารย์กันต์ พูนพิพัฒน์
KEYWORDS:
กระต่าย, กรุวัดเจดีย์สูง, กลุ่มดวงดาว, จิตรกรรมไทย, จิตรกรรมไทยประเพณี, ฉัตร, ฉัตรเกิ้ง, ดอกกาสะลอง, ดอกจำปา, ดอกจำปี, ดอกบัวขาบ, ดอกบัวผูกช่อ, ดอกบัวสาย, ดอกบัวหลวง, ดอกบุนนาค, ดอกปีบ, ดอกไม้กลีบหยักมน, ดอกไม้สวรรค์, ตำบลฮอด, ตุงค่าว, ตุงพระบฏ, นกยูง, ประวัติศาสตร์ล้านนา, ประวัติศาสตร์เชียงใหม่, ประเทศไทย, พระจันทร์, พระบฏ, พระปางเปิดโลก, พระพุทธเจ้า, พระสัมมาสัมพุทธเจ้า, พระสารีบุตร, พระสิทธัตถะ, พระอัครสาวก, พระอัครสาวกเบื้องขวา, พระอัครสาวกเบื้องซ้าย, พระอาทิตย์, พระโคตมพุทธเจ้า, พระโมคคัลลานะ, พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เชียงใหม่, ภาคเหนือ, ภาพถ่ายจิตรกรรม, ภาพถ่ายจิตรกรรมบนผืนผ้า, ภาพเขียนพระพุทธเจ้า, มูลนิธิ รองศาสตราจารย์กันต์ พูนพิพัฒน์, ลวดลายประดับศิลปะจีน, ล้านนา, วัดเจดีย์สูง, ศิลปะสมัยสุโขทัย, สวรรค์ชั้นดาวดึงส์, สัปทน, หอภาพถ่ายล้านนา, อำเภอฮอด, เครื่องทรงของพระสงฆ์เเบบไทย, เชียงใหม่, เมฆ
DESCRIPTION:
พระบฏผืนนี้ขุดพบจากเเหล่งโบราณสถานเมืองฮอด อำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่ จากกรุพระเจดีย์ วัดเจดีย์สูง ตำบลฮอด โดยทีมคณะสำรวจเเหล่งโบราณคดีเหนือเขื่อนภูมิพล จังหวัดตาก เมื่อปีพ.ศ.2503 มีขนาดความกว้าง 158 เซนติเมตร ยาว 280 เซนติเมตร ใช้เทคนิคการเขียนภาพด้วยสีฝุ่นบนผ้าใบ รองพื้นด้วยกาวเม็ดมะขามผสมกับดินสอพอง รูปแบบศิลปะเเบบสุโขทัย อายุราวพุทธศตวรรษที่ 20 – 21 ซึ่งเป็นพระบฏหนึ่งใน 3 ผืน ที่ขุดพบจากเเหล่งโบราณสถานเมืองฮอด เเละมีความเก่าเเก่ที่สุดนับเเต่การขุดค้นในประเทศไทย มีลักษณะชำรุกเสียหายหลายส่วนเกือบทั้งภาพ เขียนภาพพระพุทธเจ้า ในตอนเสด็จจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ในอิริยาบถประทับยืน มีดอกบัวรองพระบาท หันพระบาทไปยังทิศซ้ายเเละขวา มีพระเกศาสีดำขมวดบมคล้ายก้นหอย พระเนตรเหลือต่ำ พระหัตถ์ทั้งสองห้อยลงข้างพระวรกาย แบฝ่าพระหัตถ์ทั้งสองออกไปข้างหน้า เป็นกิริยาทรงเปิดโลก หรือที่เรียกว่า “ปางเปิดโลก” กล่าวคือ หลังจากที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงยมกปาฏิหาริย์ในวันอาสาฬหบูชา ณ นครสาวัตถี แล้วได้เสด็จจำพรรษาที่สวรรค์ชั้นดาวดึงส์ของท้าวสักกะเทวราช เพื่อแสดงธรรมโปรดพระมารดาที่ประทับอยู่บนสวรรค์ชั้นดุสิต พระพุทธองค์ทรงแสดงพระธรรมเทศนา (พระอภิธรรม) แก่พระมารดา ในที่สุดแห่งเทศนา พระมารดาทรงบรรลุโสดาปัตติผล เป็นพระโสดาบัน ครั้นอยู่จำพรรษาปวารณาครบ 3 เดือน จึงได้ตรัสกับท้าวสักกะเทวราชว่ามีพระประสงค์จะเสด็จกลับยังโลกมนุษย์ ท้าวสักกะเทวราชจึงได้นิรมิตบันไดทั้ง 3 คือ บันไดทอง บันไดแก้ว บันไดเงิน ตีนบันไดทั้ง 3 ตั้งอยู่ที่ประตูเมืองสังกัสสะนคร ส่วนหัวบันไดพาดอยู่ที่เขาสิเมรุ พระพุทธองค์เสด็จลงทางบันไดแก้วตรงกลาง เทวดาลงทางบันไดทองทางด้านขวา มหาพรหมลงทางบันไดเงินทางด้านซ้าย ในขณะที่เสด็จลงจากเทวโลกนั้น พระพุทธองค์ทรงทำ “ยมกปาฏิหาริย์” อีกครั้งหนึ่ง คือ ทรงเปิดโลกทั้ง 3 ได้แก่เทวโลก มนุษย์โลก และยมโลก พร้อมทั้งทรงเปล่งพระฉัพพรรณรังสี ทำให้สัตว์โลกทั้ง 3 มองเห็นกันและกัน เป็นที่น่าอัศจรรย์ยิ่ง นอกจากนี้พระบฏผืนนี้ยังปรากฏภาพเขียนพระอัครสาวกซ้ายเเละขวา ขนาบข้างพระพุทธเจ้า คือ พระอัครสาวกเบื้องซ้ายคือ พระมหาโมคคัลลานเถระ หรือพระโมคคัลลานะ ยืนประคองอัญลี มีกายสีเหลืองทอง เเละพระอัครสาวกเบื้องขวา คือ พระสารีบุตร ยืนประคองอัญลี มีพระวรกายสีเขียว ซึ่งการเขียนพระวรกายด้วยสีเขียวเช่นนี้ พบมากในศิลปะของอินเดีย ส่วนบริเวณเหนือพระเกศาเขียนภาพสัปทน หรือฉัตร (ฉัตรเกิ้งในภาษาล้านนา) สันนิษฐานว่าช่างเขียนรับอิทธิพลมาจากศิลปะจีน เเละเป็นเครื่องใช้ที่ใช้ในราชสำนักในสมัยนั้น ส่วนภาพเขียนส่วนอื่นๆ เช่น ทิศเบื้องซ้ายเหนือพระเกศาพระพุทธเจ้า เขียนภาพกระต่ายในดวงจันทร์ (สัญลักษณ์เเทนพระจันทร์) ล้อมรอบด้วยดวงดาวเเละหมู่เมฆ ซึ่งรับอิทธิพลมาจากศิลปะจีน ทิศเบื้องขวาเขียนภาพนกยูง (สัญลักษณ์เเทนพระอาทิตย์) เเต่มีความชำรุดเสียหายเป็นอย่างมาก จึงไม่ปรากฏรายละเอียด ส่วนฉากหลังพระพุทธเจ้าลงพื้นด้วยสีโทนร้อน เช่น สีเเดง สีเหลือง นำมาผสมเเละไล่สี ทำให้ภาพดูเด่นชัด นอกจากนี้ยังเขียนภาพดอกไม้ต่างๆที่มีอยู่ตามธรรมชาติ ซึ่งล้วนเป็นดอกไม้มงคล เเละนำมาใช้ในพระพุทธศาสนาเกือบทั้งสิ้น ซึ่งในพระบฏผืนนี้ปรากฏภาพดอกไม้ในลักษณะขณะกำลังร่วงลงมา เรียกว่าดอกไม้ร่วง หรือ ดอกไม้สวรรค์ เช่น ดอกบัวหลวง,ดอกบัวสาย,ดอกบัวมัดผูกเป็นช่อ,ดอกบุนนาค,ดอกบีป (กาสะลอง),ดอกจำปี,ดอกจำปา,ดอกโบตั๋น เเละดอกไม้ประดิษฐ์หลากหลายชนิด ส่วนด้านบนสุดของภาพเขียนลวดลายหยักโค้ง สันนิษฐานว่ารับอิทธิพลมาจากศิลปะจีน ซึ่งพบการใช้ลวดลายดังกล่าวประดับหน้าพระราชวังในประเทศจีน เเละเกาหลี เป็นต้น
PUBLISHER:
หอภาพถ่ายล้านนา โดย มูลนิธิ รองศาสตราจารย์กันต์ พูนพิพัฒน์
OTHER CONTRIBUTORS:
หอภาพถ่ายล้านนา โดย มูลนิธิ รองศาสตราจารย์กันต์ พูนพิพัฒน์
DATE:
18/06/2562
RESOURCE TYPE:
ภาพถ่าย
FORMAT:
Image/jpeg
RESOURCE IDENTIFIER:
คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิหอภาพถ่ายล้านนา ในกำกับของกรรมการอำนวยการหอภาพถ่ายล้านนา
SOURCE:
พระบฏ จิตรกรรมบนผืนผ้า
LANGUAGE:
ไทย/อังกฤษ
RELATION:
พระบฏ คือ ผืนผ้าที่มีรูปพระพุทธเจ้าเป็นต้น และแขวนไว้เพื่อบูชา คำว่า บฏ มาจากคำในภาษาบาลีว่า ปฏ (อ่านว่า ปะ-ตะ) แปลว่า ผ้าทอ หรือ ผืนผ้า ส่วนมากเป็นผ้าแถบยาว มีวาดภาพพระพุทธเจ้า นิยมแขวนไว้ในสถานที่จัดพิธีกรรมในพุทธศาสนา ใช้แทนที่พระพุทธรูป เพื่อเป็นที่เคารพบูชา ในล้านนาเรียกกันว่า “ตุงค่าว” หรือ ตุงค่าวธรรม ในประกอบพิธีกรรมทางศาสนา เช่น เทศน์มหาชาติ เเละตั้งธรรมหลวง เป็นต้น
COVERAGE:
–
RIGHT MANAGEMENT:
หอภาพถ่ายล้านนา โดย มูลนิธิ รองศาสตราจารย์กันต์ พูนพิพัฒน์
Physical Data
COLLECTION NAME:
เชียงใหม่
IMAGE CODE:
02_26_20190805_MR26-01_17
SUBJECT AGE:
ประมาณพุทธศตวรรษที่ 20 – 21 (พ.ศ.1900 – 2100)
CATEGORY:
พระบฏ จิตรกรรมบนผืนผ้า
PROVENANCE:
ศาสตราจารย์ กันต์ พูนพิพัฒน์
COVERAGE:
ORIGINAL SIZE:
158×280 cm.
DIGITAL SIZE:
5222 x 2500 Pixels.