จิตรกรรมมุขทิศเหนือฝั่งตะวันตก 1.2

Category:

Description

Digital Data

TITLE:
น่าน
AUTHOR:
หอภาพถ่ายล้านนา โดย มูลนิธิรองศาสตราจารย์ กันต์ พูนพิพัฒน์
KEYWORDS:
DESCRIPTION:

ภาพเขียนจิตรกรรมฝาผนังเรื่อง “คัทธณะกุมารชาดก” บริเวณเหนือหน้าต่างฝาผนังมุขทิศเหนือ ฝั่งตะวันตก เป็นเรื่องราวที่เกิดขึ้นบริเวณบ้านมารดาของคัทธณะกุมาร ณ เมืองศรีษะเกษ 

ภาพเขียนบริเวณนี้เขียนไว้หลายเหตุการณ์ด้วยกัน ประกอบด้วย ภาพเขียนบริเวณเหนือหน้าต่าง เป็นเรื่องราวของหญิงหม้ายชาวเมืองผู้หนึ่งกำลังสอนหญิงสาวทอผ้า ด้านหลังมีชายชาวเมืองสองคนกำลังยืนชมการทอผ้าของหญิงสาวอยู่

ถัดขึ้นไปบนเรือนของหญิงหม้าย (บริเวณชานเรือนฝั่งขวา) เขียนภาพมารดากำลังให้นมแก่คัทธนกุมาร โดยมีหญิงชาวเมืองสองคนอยู่ด้านข้าง 

ถัดไปบริเวญชานหน้าเรือนฝั่งซ้าย เขียนภาพในตอนที่คัทธณะกุมารตอนเติบใหญ่ ดังชาดกตอนหนึ่งว่า ครั้นหนึ่งคัทธนกุมารผู้มีอิทธิฤทธิ์ได้นำเอาน้ำจากคนโฑทิพย์ มอบให้แก่หญิงหม้ายผู้มีอายุมากผู้หนึ่ง ครั้นนางได้รับน้ำากคนโฑทิพย์ก็กลับกลายเป็นสาวงาม เพื่อจะเข้าพิธีอภิเษกกับเจ้าเมืองศรีษะเกษ โดยมีชายหนุ่มหมอบเรียงเป็นแถวที่ชานเรือน 

เรือนของมารดาคัทธณะกุมารในภาพ มีรูปแบบสถาปัตยกรรมแบบเรือนยกพื้น หลังคาแฝด ทรงป้าน ฝาเรือนเป็นฝาไม้เข้าช่องสี่เหลี่ยม หลังคามุงด้วยแป้นเกล็ดที่ทำมาจากไม้ บนบ้านมีชานด้านบนเรียกว่า “เติ๋น” ในภาษาล้านนา บริเวณด้านหน้าเป็นชานลดระดับ ทั้งนี้ลักษณะการปลูกเรือนอาศัยที่ปรากฏในภาพเขียน น่าจะเรือนอาศัยของคนในเมืองน่านในยุคนั้น นอกจากนี้บริเวณด้านข้างชานเรือนยังเขียนภาพ “ฮ้านน้ำ” ในภาษาล้านนา มีหม้อน้ำไว้สำหรับดื่มกิบไว้ข้างบริเวณชาน ซึ่งถือเป็นเอกลักษณ์อย่างหนึ่งของเรือนอาศัยของชาวไทยยวนและไทลื้อในแถบนี้

ภาพเขียนในบริเวณนี้มีชุดอักษรล้านนาเขียนกำกับอยู่ด้วยกันหลายชุด ประกอบด้วย ชุดอักษรล้านนาบริเวณหน้าขอบชานเรือน ชุดอักษรด้านซ้ายสุดอ่านได้ความว่า “อันนี้เปนบ้านเจ้าคท…ณธแล” แปลได้ประมาณว่า “นี้คือบ้านเจ้าคัทธณะกุมาร”

ถัดมาบริเวณช่องกลางอ่านได้ความว่า “แม่ยิงขางบ้านมาเรียนทอฮูกกับแม่เจ้าคัทธณะแล” แปลได้ความว่า “แม่หญิงข้างบ้านมาเรียนทอผ้ากับแม่ของเจ้าคัทธนกุมาร” 

ถัดมาบริเวณเหนือหญิงหม้ายที่ยืนอยู่ท้ายกี่ หรือ หูกทอผ้าอ่านได้ความว่า “ตาเหลิงนั้นหี้อเติมเสียหน่อยราย” แปลได้ความว่า “ ตรงลวดลายนั้นให้เติมสีเหลืองลงไปอีกหน่อย”  

ถัดมาเหนือชายหนุ่มสองคนที่ยืนอยู่ด้านหลังกี่ หรือ หูกทอผ้าอ่านได้ความว่า “คอยย่านั้นทอฮูกดีใบ้หนอ” แปลได้ความว่า “รอดูว่าผ้าที่ทออกมานั้นว่าจะออกมาดีไหม” 

ถัดไปเป็นชุดอักษรล้านนาบริเวณหน้าบันไดขึ้นเรือน บริเวณฝั่งขวาล่าง ซึ่งเป็นชุดอักษรล้านนาในตอนต่อไป แปลได้ความว่า “…แลแม่หม้าย…หันช้างมากินนาแล..ใจแล..ไห้” แปลได้ความว่า “เมื่อแม่หม้ายมาเห็นช้างเหยียบย่ำมากินข้าวในนาของตน ก็เสียใจร้องไห้ออกมา”  

ส่วนชุดอักษรล้านนาบริเวณฝั่งด้านล่างซ้าย เป็นเหตุการณ์ภายหลังจากคัทธณะกุมารเอาน้ำจากคณโฑทิพย์รดหญิงหม้ายที่มีอายุให้กลับกลายเป็นสาวงาม อ่านได้ความว่า “แม่ญิงชาวบ้านเมอส่งแม่เจ้าคัทธณะแลสาวเหย” แปลได้ความว่า “หญิงชาวเมืองศรีษะเกษมาส่งแม่เจ้าคัทธณะกุมาร เมื่อกลายร่างกลายเป็นสาวงาม” และชุดอักษรล้านนาบริเวณมุมขวาบน เขียนเรื่องราวในตอนต่อไป ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่เจ้าคัทธณะกุมารออกเดินทางตามหาบิดา ในมือถือดาบศรีกัญไชยคอนไว้ที่บ่าซ้าย เบื้องหน้าห้อยคนโฑทิพย์ เบื้องหลังห้อยถุงย่ามไว้ บริเวณนี้มีอักษรล้านนาเขียนกำกับอยู่อ่านได้ความว่า “เจ้าคัทธณะไปตวยหาพ่อแล” แปลว่า “เจ้าคัทธณะกุมารได้เดินทางออกตามหาพระบิดา”

PUBLISHER:
หอภาพถ่ายล้านนา โดย มูลนิธิรองศาสตราจารย์ กันต์ พูนพิพัฒน์
OTHER CONTRIBUTORS:
หอภาพถ่ายล้านนา โดย มูลนิธิรองศาสตราจารย์ กันต์ พูนพิพัฒน์
DATE:
07/02/2558
RESOURCE TYPE:
จิตรกรรมฝาผนัง
FORMAT:
Image/jpeg
RESOURCE IDENTIFIER:
คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิหอภาพถ่ายล้านนา ในกำกับของกรรมการอำนวยการหอภาพถ่ายล้านนา
SOURCE:
จิตรกรรมฝาผนัง
LANGUAGE:
ไทย/อังกฤษ
RELATION:
COVERAGE:
วัดภูมินทร์ อำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน ภาคเหนือ ประเทศไทย
RIGHT MANAGEMENT:
หอภาพถ่ายล้านนา โดย มูลนิธิรองศาสตราจารย์ กันต์ พูนพิพัฒน์

Physical Data

COLLECTION NAME:
น่าน
IMAGE CODE:
000
SUBJECT AGE:
CATEGORY:
จิตรกรรมฝาผนัง
PROVENANCE:
ศาสตราจารย์กันต์ พูนพิพัฒน์
COVERAGE:
วัดภูมินทร์ อำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน ภาคเหนือ ประเทศไทย view map
ORIGINAL SIZE:
11.43×6.82 เมตร(ขนาดรวมทั้งฝาผนัง)
DIGITAL SIZE:
57,451×19,360 Pixels